ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขั้นตอนวิธีแบบยุคลิด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
เพิ่มข้อมูล
บรรทัด 8:
รูปอย่างง่ายที่สุดของขั้นตอนวิธีแบบยุคลิดเริ่มด้วยจำนวนเต็มบวกคู่หนึ่ง และสร้างจำนวนคู่หนึ่งที่ประกอบด้วยจำนวนที่น้อยกว่าและผลต่างระหว่างจำนวนทั้งสอง กระบวนการทำซ้ำจนจำนวนทั้งสองเท่ากัน จำนวนสุดท้ายเป็นตัวหารร่วมมากของจำนวนเต็มบวกที่ขั้นตอนเริ่ม
 
หลักการสำคัญคือ หรม. ไม่เปลี่ยนค่าถ้านำจำนวนที่น้อยกว่าลบจำนวนที่มากกว่า เช่น หรม. ของ 252 และ 105 is เท่ากับ หรม. ของ 147 (= 252 − 105) และ 105 เพราะว่าจำนวนที่มากกว่าถูกลด การทำวิธีนี้ซ้ำทำให้ได้จำนวนเล็กลง การซ้ำนี้จึงจบอย่างแน่นอนเมื่อทั้งสองจำนวนมีค่าเท่ากัน (ถ้าทำอีกหนึ่งครั้ง จำนวนใดจำนวนหนึ่งจะเป็น 0)
 
หลักฐานเกี่ยวกับขั้นตอนวิธีแบบยุคลิดพบในหนังสือ ''Elements'' ของยุคลิด (ในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล) ทำให้เป็น[[ขั้นตอนวิธี]]เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับจำนวนที่ยังใช้โดยทั่วไป ขั้นตอนวิธีฉบับดังเดิมใช้สำหรับจำนวนธรรมชาติและความยาวเชิงเรขาคณิต (จำนวนจริง) แต่นักคณิตศาสตร์ได้ขยายการใช้งานไปยังจำนวนชนิดอื่น เช่น [[จำนวนเต็มเกาส์เซียน]]และ[[พหุนาม]]หนึ่งตัวแปร อันนำไปสู่แนวคิดเชิง[[พีชคณิตนามธรรม]]สมัยใหม่ เช่น[[โดเมนแบบยุคลิด]] ขั้นตอนวิธีของยุคลิดได้นำไปใช้กับโครงสร้างทางคณิตศาสตร์อื่นๆ เช่น [[เงื่อน (คณิตศาสตร์)|เงื่อน]] และ[[พหุนามหลายตัวแปร]]
 
ขั้นตอนวิธีนี้มีการประยุกต์ใช้ในทางทฤษฎีและปฏิบัติ อาจใช้ก่อกำเนิด[[:en:Euclidean Rhythm|จังหวะดนตรี]]ที่สำคัญหลายรูปแบบที่พบในวัฒนธรรมต่างๆ ทั่วโลก<ref>{{Citation |last=Toussaint |first=Godfried |author-link=Godfried Toussaint |url=http://cgm.cs.mcgill.ca/~godfried/publications/banff.pdf |title=The Euclidean algorithm generates traditional musical rhythms |journal=Proceedings of BRIDGES: Mathematical Connections in Art, Music, and Science |location=Banff, Alberta, Canada |date=July 31 to August 3, 2005 |pages=47-56 |doi= }}</ref> ขั้นตอนวิธีนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญของการเข้ารหัส[[อาร์เอสเอ]] ([[การเข้ารหัสลับแบบกุญแจอสมมาตร]]ที่ใช้ทั่วไปใน[[การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์]]) ขั้นตอนวิธีนี้ใช้แก้[[สมการไดโอแฟนไทน์]] เช่นการหาจำนวนที่สอดคล้องกับสมภาคหลายชุด([[ทฤษฎีบทเศษเหลือของจีน]]) หรือ [[ตัวผกผันการคูณ]]ของ[[เซตจำกัด]] และยังสามารถใช้สร้าง[[เศษส่วนต่อเนื่อง]]ด้วยวิธี[[โซ่ของสเติร์ม]]สำหรับหารากจำนวนจริงของพหุนาม และในขั้นตอนวิธี[[การแยกตัวประกอบของจำนวนเต็ม]]สมัยใหม่ ที่สำคัญ เป็นเครื่องมือสำหรับพิสูจน์ทฤษฎีบทใน[[ทฤษฎีจำนวน]]สมัยใหม่ เช่น[[:en:Lagrange's four-square theorem|ทฤษฎีบทผลรวมกำลังสองของลากรองจ์]]และ[[ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต]]
 
ถ้าปรับปรุงขั้นตอนวิธีให้ใช้[[เศษหาร]]จาก[[วิธีหารแบบยุคลิด]]แทนที่จะเป็นการลบ ขั้นตอนวิธีของยุคลิดคำนวณค่าตัวหารร่วมมากของจำนวนขนาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพ: ขั้นตอนวิธีนี้ไม่ใช้ขั้นตอนการหารจำนวนมากกว่าห้าเท่าของจำนวนหลัก(สำหรับเลขฐานสิบ)ของจำนวนขนาดเล็กกว่า โดย[[:en:Gabriel Lamé|Gabriel Lamé]]พิสูจน์เมื่อปี ค.ศ. 1844 และริเริ่มการศึกษา [[ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ]] วิธีเพิ่มประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธีได้พัฒนาในคริสต์ศตวรรษที่ 20
 
เมื่อ[[ส่วนขยายของขั้นตอนวิธีแบบยุคลิด|ย้อนขั้นตอนวิธีแบบยุคลิด]] ตัวหารร่วมมากสามารถเขียนในรูป[[ผลรวมเชิงเส้น]]ของสองจำนวนที่นำมาดำเนินการ แต่ละจำนวนคูณกับ[[จำนวนเต็ม]] เช่น ตัวหารร่วมมากของ 252 และ 105 คือ 21 และ{{nowrap|21 {{=}} [5 × 105] + [(−2) × 252]}} สมบัตินี้เรียกว่า[[เอกลักษณ์ของเบซู]]
 
 
==หมายเหตุ==