ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บุญต๋วน บุญอิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 40:
==พันธกิจ==
ศาสนาจารย์บุญต๋วนเริ่มงานประกาศพระกิตติคุณที่[[จังหวัดพิษณุโลก]] ในเวลานั้นไม่มีรถไฟไปถึงพิษณุโลกได้ จึงต้องเดินทางด้วยเรือซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน แล้วแต่ฤดูกาล สมัยนั้นพิษณุโลกยังอยู่ในสภาพบ้านนอกคอกนา ท่านเป็นผู้บุกเบิกสำหรับพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์
ด้านการศึกษามีการตั้งโรงเรียนผดุงราษฎร์สำหรับเด็กชาย และโรงเรียนผดุงนารีสำหรับเด็กหญิง ต่อมาได้มีการรวมโรงเรียนทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นโรงเรียนผดุงราษฎร์ สังกัดกองการศึกษา[[มูลนิธิสภาคริสตจักรฯคริสตจักรแห่งประเทศไทย]] และคริสตจักรคริสตคุณานุกูล
 
ศาสนาจารย์บุญต๋วน บุญอิต พานักเรียนไปเดินทางไกลและสอนวิชาให้อย่างดี ปี 1902 Dr.Author J. Brown เลขาธิการใหญ่ของมิชชันนารีบอร์ดจากนิวยอร์ก ต้องการให้มีโบสถ์ใกล้ๆ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน จึงเรียกศาสนาจารย์บุญต๋วน บุญอิต ให้กลับมาที่บางกอก ท่านอาจารย์บุญต๋วนจึงมอบหมายงานให้อาจารย์เทียนเป้า รับผิดชอบโรงเรียนผดุงราษฎร์ต่อไป ส่วนท่านกลับลงมาทำงานที่กรุงเทพและท่านได้ขนไม้จากแม่น้ำ เพื่อนำมาสร้างพระวิหาร ท่านเริ่มงานที่บางกอก โดยเช่าบ้านอยู่ใกล้กับ[[โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย]] บ้านของท่านกลายเป็นศูนย์กลางของนักเรียนนักศึกษาและปัญญาชน มีห้องประชุมเล็กๆ ห้องสมุด และห้องนั่งเล่น ที่เปิดต้อนรับทุกคน ท่านได้เริ่มและเผยแพร่งานของ YMCA ที่จะให้เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ที่[[ถนนวรจักร]] เพื่อเป็นศูนย์กลางของเยาวชน การกีฬา และงานสังคมสงเคราะห์ต่างๆขึ้น ซึ่งความคิดนี้ใหม่มาก{{ใครกล่าว}} และเหมาะสมกับบางกอกที่กำลังเจริญเติบโต{{ใครกล่าว}} โดยได้รับการสนับสนุนจากสมาคม [[YMCA]] ของสหรัฐอเมริกาที่ท่านเป็นสมาชิกอยู่
==กำเนิดคริสตจักรสืบสัมพันธวงศ์==
 
พระยาสารสินซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของ ศจ. บุญต๋วน บุญอิต ได้ถวายที่ดินแปลงหนึ่ง มีเนื้อที่ประมาณ 350 ตารางวา เลขที่ 5 ถนนศรีเวียง ตำบลบางรัก กรุงเทพมหานคร เหลืออยู่ จึงได้ยกให้แก่คณะทรัสตีหรือมูลนิธี แต่ขอให้นามพระวิหารนี้ว่า “พระวิหาร สืบสัมพันธวงศ์” เพื่อเป็นที่ระลึกถึงคุณ “สืบ” บุตรชายหัวปีของท่านเจ้าคุณ เพื่อสร้างพระวิหารของพระผู้เป็นเจ้าและได้บริจาคเงินครึ่งหนึ่งเพื่อการก่อสร้างพระวิหารนี้ ต้องใช้เวลาในการสร้างประมาณส่วนที่เหลืออีกครึ่ง 1 ปีเศษ กว่าจะสร้าง[[คริสเตียนไทย]]ทั้งหลายได้ช่วยกันบริจาคจนการก่อสร้างได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1904 นับลุล่วงและปรากฏมาจนทุกวันนี้ว่าเป็นคริสตจักรแห่งแรกที่สำเร็จพระวิหารของคนไทย เพราะสร้างขึ้นด้วยกำลังและศรัทธางบประมาณของคริสต์ศาสนิกชนชาวคนไทย{{อ้างอิง}}เองและผู้ควบคุมการก่อสร้างก็เป็นหลานเขยของท่านพระยาสารสินที่ชื่อนายกี้ เมื่อการก่อสร้างคริสตจักรสืบสัมพันธวงศ์เสร็จ ความหวังอันแรกเริ่มนั้นก็คือ จะเชิญให้อาจารย์บุญต๋วน บุญอิต มาเป็น
ศิษยาภิบาล เพราะท่านผู้นี้ได้เคยเป็นศิษยาภิบาลในสหรัฐมาแล้ว แต่เนื่องจากท่านได้เสียชีวิตลงในขณะที่ทำการสร้างพระวิหารแห่งนี้อยู่ จึงเป็นอันหมดหวัง เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้เรียนเชิญท่านอาจารย์ ญ่วน เตียงหยก มาเป็นศิษยาภิบาลคนแรกของคริสตจักรแห่งนี้ โบสถ์สืบสัมพันธวงศ์ เคยเป็นคริสตจักรนานาชาติแห่งกรุงเทพ ต่อมาภายหลังคริสตจักรนานาชาติ ได้ย้ายไปใช้คริสตจักรวัฒนา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986
==การตาย==
ศจ. บุญต๋วน บุญอิต ล้มป่วยด้วยโรคอหิวาตกโรค เนื่องจากท่านลงมือดำน้ำในคลองน้ำสาทร เพื่อคัดเลือกไม้สำหรับใช้ในการก่อสร้างด้วยตนเอง จนเสียชีวิตด้วยโรคอหิวาต์ท่ามกลางงานก่อสร้างที่ยังไม่สำเร็จ ศจ.บุญต๋วน บุญอิต เสียชีวิตภายใน 10 วัน เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 1903 รวมสิริอายุได้ 39 ปี ดร.เจ เอ เอกิ้น บันทึกเหตุการณ์ในวันนั้นไว้ว่า “เรายังจดจำได้ว่า เป็นคืนที่น่าหวาดกลัวยิ่ง เมื่อวิญญาณจะต้องจากไปในท่ามกลางความวิปริตของธรรมชาติ แต่ภรรยาและมารดารที่ดี นางกิมฮ๊อกได้ตั้งอยู่ในความสงบ และชุมนุมบรรดามิตรสหายในห้องรับแขกเล็กๆ ร้องเพลงแสดงความเชื่อของคริสเตียน ความหวัง และความประเล้าประโลมใจตลอดเวลาที่พายุแรงจัดกำลังพัดกระพืออย่างหนักทุกคนได้ร้องเพลงหลายบท”{{อ้างอิง}}
 
การเสียชีวิตของศาสนาจารย์บุญต๋วน บุญอิต ทำให้ความหวังของมิชชันนารีที่จะปลูกสร้างคริสตจักรที่เป็นของชนชาวไทยได้ลดลงในปี 1902 ศาสนาจารย์บุญต๋วน บุญอิตได้กล่าวสุนทรพจน์ต้อนรับ อาร์เธอร์ เจ บราวน์ มีใจความบางตอนดังต่อไปนี้คือ “ควรที่จะได้ตระหนักอย่างแท้จริงว่า ประชาชนของเราสมควรที่จะมีการจัดการในกิจกรรมของตนเอง ทั้งในด้านศาสนาและกิจกรรมอื่นๆ โดยปราศจากการครอบงำของต่างชาติ แต่...มิใช่ว่าเราจะวางแผนที่จะยึดกุมอำนาจการควบคุมปกครองเอาไว้”{{อ้างอิง}} แม้ว่าจะเป็นคำเรียกร้องที่ยังไม่ได้มีการตอบสนองปรากฏออกมาอย่างเด่นชัด แต่ก็แสดงให้เห็นว่า[[คริสเตียนไทย]]บางคนเริ่มมีจิตสำนึกที่จะรับผิดชอบงานพันธกิจด้วยตัวเอง
 
นเวลาต่อมามิชชันนารีเพรสไบทีเรียน ได้มอบความรับผิดชอบทั้งสิ้นในงานพันธกิจและทรัพย์สินทั้งปวงไว้กับคนไทย องค์การเพรสไบทีเรียนในประเทศไทยยอมสลายตัว และผนวกงานพันธกิจเข้ากับคณะอื่น เช่น คณะอเมริกันแบ๊บติสต์ โดยได้มีการตั้งสภาคริสตจักรในประเทศไทยในปี 1947 และ[[สภาคริสตจักรในประเทศไทย]]ยังสนใจในการประกาศพระกิตติคุณของพระเยซูต่อไปอย่างสัตย์ซื่อ โดยได้ตั้งกองการเผยแพร่พระกิตติคุณขึ้นในปี 1956