ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมหลวงพิพิธมนตรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Love Krittaya (คุย | ส่วนร่วม)
ย่อหน้า
บรรทัด 37:
* เจ้าฟ้าดอกเดื่อ (กรมขุนพรพินิต)
 
โดยเฉพาะเจ้าฟ้าดอกเดื่อหรือกรมขุนพรพินิตนั้น ปรากฏว่าเข้มแข็งในการสงครามเป็นอย่างยิ่ง เมื่อ[[เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ กรมขุนเสนาพิทักษ์]] หรือ[[กรมพระราชวังบวรสถานมงคล]]ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ต้องรับพระอาญาจากการโบยถึง 180 ที สูญสิ้นพระชนม์นั้น ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลก็ควรจะตกอยู่กับกรมขุนอนุรักษ์มนตรี ผู้เป็นพระเชษฐา ตามคำกราบทูลของกรมขุนพรพินิต แต่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศกลับตรัสว่ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีนั้นโฉดเขลา หาสติปัญญาและความเพียรมิได้ กลับทรงแต่งตั้งให้กรมขุนพรพินิต เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และให้กรมขุนอนุรักษ์มนตรี (เจ้าฟ้าเอกทัศน์) ไปบวชเสียที่วัดลมุตปากจั่น เพื่อมิให้ขัดขวางกรมขุนพรพินิตนั้น ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศประชวรหนักอยู่ ก็ให้ไปเชิญกรมหลวงพิพิธมนตรี พระราชมารดาและพระบรมวงศานุวงศ์มาอยู่พร้อมกันสิ้น รวมทั้งเจ้าฟ้าเอกทัศน์ก็ทูลลาผนวช เสด็จลงมาอยู่ด้วยเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศประชวรสิ้นพระชนม์ ราชสมบัติจึงตกอยู่แก่กรมขุนพรพินิต (เจ้าฟ้าดอกเดื่อ-อุทุมพร) แต่กรมขุนพรพินิตครองราชย์ได้เพียง 10 วัน ก็ต้องมอบราชสมบัติให้แก่พระเชษฐา คือ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี)<ref>สุเนตร ชุตินธรานนท์. ดร. '''พม่ารบไทย'''. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ:มติชน, 2554. หน้า 88</ref> กรมขุนอนุรักษ์มนตรี หรือสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ได้ราชสมบัติ จึงโปรดให้ตั้งกรมหลวงพิพิธมนตรี พระราชมารดาเป็น '''สมเด็จพระพันปีหลวง กรมพระเพทเทพามาตย์'''
 
เมื่อสมเด็จพระพันปีหลวง กรมพระเพทาเทพามาตย์ทรงพระประชวรหนัก สมเด็จทิวงคต สมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์จึงให้แต่งพระศพใส่พระโกศ แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์นอาสน์ เคียงกันเป็นสองพระโกศ้โกศ<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน. (2547). '''การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐'''. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 185</ref>
 
== อ้างอิง ==