ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Poompong1986 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 126:
ในชั้นแรกพรรคเสรีธรรมประสบความสำเร็จ ในการหนุน ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ส.ส.พรรคสามัคคีธรรม ขึ้นเป็น [[รายนามประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย|ประธานสภาผู้แทนราษฎร]] ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญเพราะมีสถานะเป็น [[รายนามประธานรัฐสภาไทย|ประธานรัฐสภา]]โดยตำแหน่ง ซึ่งก็คือเป็นผู้นำรายชื่อนายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ และเป็นผู้ลงนาม รับสนองพระบรมราชโองการฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี นั่นเอง
 
ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ มีสื่อมวลชนไปสัมภาษณ์ [[สุจินดา คราประยูร|พล.อ.สุจินดา คราประยูร]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารสูงสุด|ผู้บัญชาการสูงสุดทหารสูงสุด]] และ[[ผู้บัญชาการทหารบก]] ผู้นำคณะ รสช. หลายครั้งว่าจะเป็น นายกรัฐมนตรีหรือไม่ ซึ่ง พล.อ.สุจินดา ได้ตอบปฏิเสธอย่างชัดเจนว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี<ref>[http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Book/jumlonglife/jumlong_002.html]จากหนังสือร่วมกันสู้ โดย พล.ต.[[จำลอง ศรีเมือง]] หน้าที่ 31 (ISBN 974-88799-9-2)</ref> ซึ่งทำให้[[ณรงค์ วงศ์วรรณ|นายณรงค์ วงศ์วรรณ]] หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมที่ได้คะแนนเสียงสูงสุด มีโอกาสที่จะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏข่าวว่า[[สหรัฐอเมริกา]]เคยปฏิเสธที่จะออกวีซ่า ให้กับนายณรงค์ เนื่องจากสงสัยมีการพัวพันกับขบวนการค้ายาเสพติด<ref name="รวม">[http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Book/jumlonglife/jumlong_003.html]จากหนังสือร่วมกันสู้ โดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หน้าที่ 3 (ISBN 974-88799-9-2)</ref> ซึ่งกรณีดังกล่าว นายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้ปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง และว่าข่าวนี้เป็นการจงใจสร้างเรื่องขึ้นเพื่อกีดกันไม่ให้ตนขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี<ref>[http://www.pamook.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&Category=pamookcom&thispage=29&No=176382 ชนะคดีหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ขอปรึกษาฟ้องแพ่งค่ะ]</ref>
 
พรรคสามัคคีธรรมได้ที่นั่งมากที่สุด คือ 79 ที่นั่ง จากจำนวนที่นั่งทั้งหมด 360 ที่นั่ง ทำให้ต้องจัดตั้งรัฐบาลผสม โดยได้รับการสนับสนุนจากอีก 4 พรรค รวมเป็น 5 พรรคร่วมรัฐบาล คือ พรรคสามัคคีธรรม (ส.ส. 79 คน) พรรคชาติไทย (ส.ส. 74 คน) พรรคกิจสังคม (ส.ส. 31 คน) พรรคประชากรไทย (ส.ส. 7 คน) และพรรคราษฎร (ส.ส. 4 คน) รวมเป็น ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 195 คน
บรรทัด 132:
ขณะที่พรรคฝ่ายค้านประกอบด้วย 6 พรรค คือ พรรคความหวังใหม่ (ส.ส. 72 คน) พรรคประชาธิปัตย์ (ส.ส. 44 คน) พรรคพลังธรรม (ส.ส. 41 คน) พรรคเอกภาพ (ส.ส. 6 คน) พรรคปวงชนชาวไทย (ส.ส. 1 คน) และพรรคมวลชน (ส.ส. 1 คน) รวม 165 คน
 
ต่อมามีการยืนยันจากนางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าเป็นผู้หนึ่งที่ “ต้องห้าม” ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐอเมริกา เพราะมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด<ref>[http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Book/jumlonglife/jumlong_003.html]จากหนังสือร่วมกันสู้ โดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หน้าที่ 3 (ISBN 974-88799-9-2)<name="รวม"/ref> ทำให้แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลได้เลือกเสนอชื่อ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ขึ้นทูลเกล้าฯ และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 ท่ามกลางกระแสเรียกร้อง "นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง" ที่เป็นกระแสหลักของสังคมในขณะนั้น ต่อเนื่องมาจากยุคของ [[เปรม ติณสูลานนท์|พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์]] และทำให้พรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 5 ถูกขนานนามจากสื่อมวลชนยุคนั้นว่า '''[[พรรคเทพ พรรคมาร|พรรคมาร]]'''
 
เมื่อขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว พล.อ.สุจินดา ก็ลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยมี [[อิสระพงศ์ หนุนภักดี|พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี]] ได้เข้าดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก และ [[เกษตร โรจนนิล|พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล]] เข้าดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด