ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จิตวิทยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 82:
หลายคนเชื่อว่าจิตวิทยาเกิดขึ้นในโลกเมื่อ 2,500 กว่าปีมาแล้ว นั่นคือ จิตวิทยาทางพระพุทธศาสนา นั่นเอง สำหรับในประเทศไทยนั้น เพิ่งมีหลักฐานปรากฏว่ามีการสอนวิชาจิตวิทยาในโรงเรียนฝึกหัดครูปฐม ในช่วงเวลาก่อนปี พ.ศ. 2473 เล็กน้อย และในปี พ.ศ. 2473 ก็มีการสอดแทรกเนื้อหาจิตวิทยาเป็นวิชาหนึ่งในวิชาการสอนวิชาครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
พ.ศ. 2507 ประเทศไทยมี '''ภาควิชาจิตวิทยา''' (Psychology Department) ที่เปิดทำการเรียนการสอนในประเทศไทยอย่างเต็มระบบ ระดับปริญญาตรีแห่งครั้งแรก ในระดับอุดมศึกษาของ [[คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] โดยเปิดเป็นหลักสูตร 4 ปี เมื่อศึกษาสำเร็จแล้วบัณฑิตจะได้วุฒิ "ศิลปศาสตรบัณฑิต(จิตวิทยา)" ซึ่งนับได้ว่าเป็นการบุกเบิกการผลิตบุคลากรทางสายรุ่นแรกของวิชาชีพจิตวิทยาคลินิกครั้งสำคัญของประเทศไทย ภาควิชาจิตวิทยาได้สถาปนาเป็นส่วนราชการไทยระดับภาควิชา (department) สังกัดคณะศิลปศาสตร์ (Faculty of Liberal Arts) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ โดยเปิดดำเนินการสอนขึ้นเป็นลำดับที่ 6 ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นสถาบันการเรียนการสอนทางด้านจิตวิทยาที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นอันดับแรกของประเทศไทย เมื่อปี พุทธศักราช 2507 โดยแต่เดิม ก่อนปี 2507 ที่มีโครงสร้างหลักสูตรจิตวิทยานั้น พบว่ายังไม่ได้มีการก่อตั้งภาควิชาจิตวิทยาขึ้นอย่างเป็นทางการ และยังไม่ได้รับสังกัดในคณะใดๆ หากแต่มีการเรียนการสอนวิชาจิตวิทยาอยู่ก่อนแล้ว โดยที่เป็นลักษณะของการไปบรรยายส่งเสริมเข้าในเนื้อหาของคณะต่างๆ ตามที่จำเป็นต้องใช้ประกอบในเนื้อหาวิชานั้นๆ เช่น นิติศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี วิชาผู้บริโภค การตลาด เป็นต้น จนกระทั่งคณาจารย์ได้ร่วมกันวางแผนหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาจิตวิทยาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาตรี) 4 ปี ขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรด้านจิตวิทยา เพื่อนำความรู้ที่ได้รับนี้ไปใช้สนับสนุนในเนื้องานและการประกอบวิชาชีพที่ต้องใช้ความรู้ทางจิตวิทยา
 
[[กระทรวงศึกษาธิการ]]พ.ศ. 2543 ด้วยความช่วยเหลือของ[[องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ]] (UNESCO) ได้จัดตั้ง สถาบันระหว่างชาติสำหรับการค้นคว้าเรื่องเด็กขึ้นในวิทยาลัยวิชาการศึกษา (ปัจจุบันคือ[[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]]) ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่วิชาเกี่ยวกับจิตวิทยาเด็ก ต่อมามีการศึกษาที่กว้างขวางมากขึ้น ใน สถาบันอื่นก็ได้เปิดหลักสูตรวิชาจิตวิทยาในหลายสาขา ในปัจจุบันและในอนาคต มีการคาดหวังไว้ว่าจิตวิทยาในประเทศไทย จะเจริญก้าวหน้า ช่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติต่อไป