ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลื่อน พงษ์โสภณ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ประวัติเพิ่มเติมที่ถูกลืม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ใช้เลขอารบิก
บรรทัด 28:
นาวาอากาศเอก เลื่อน เกิดเมื่อวันที่ [[8 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2439]] ตรงกับแรม 4 ค่ำ เดือน 6 [[ปีจอ]] ที่[[กรุงเทพมหานคร]] เป็นบุตรของขุนเชี่ยวหัสดิน (เถา) และแฉ่ง (มารดา) ซึ่งประกอบกิจการโรงเลื่อย และค้าขาย[[เฟอร์นิเจอร์|เครื่องเรือน]] โดยใช้ชื่อว่า ''ร้านจำหน่ายของสยาม'' น.อ.เลื่อน เริ่มเข้าศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนอรพินท์ เมื่ออายุได้ 6 ปี จากนั้นมารดาฝากไว้กับพระสงฆ์ เพื่อให้ศึกษาต่อทางศีลธรรมที่วัดรังษี ต่อมานางแฉ่งตั้งใจให้ศึกษาทาง[[กฎหมาย]] แต่ฝ่าย น.อ.เลื่อนอยากเป็นทหาร จึงสมัครเข้าศึกษาต่อที่[[โรงเรียนนายร้อยทหารบก]]
 
เมื่อใกล้สำเร็จการศึกษา เป็นระยะที่เกิด[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] น.อ.เลื่อนตัดสินใจลาออกจากเส้นทางการเป็นนายร้อย เข้าสมัครเป็นทหารอาสาไปทำการรบที่[[ประเทศฝรั่งเศส]] ตามที่ทางราชการประกาศรับ ด้วยความกระตือรือร้น สมความปรารถนา ที่ต้องการไปแสวงหาความรู้ในต่างประเทศ โดยจึงได้รับยศเป็นสิบโท ระหว่างนั้นทางราชการประกาศโอกาสจากรัฐบาลให้ทุนการศึกษาต่อ ในสาขาเรียนวิชาเครื่องยนต์ช่างยนต์และช่างเครื่องบินที่[[กรุงปารีส]] แก่ผู้สนใจประเทศฝรั่งเศสต่อไป น.อ.เลื่อน จึงเข้าสมัครและสอบได้อันดับที่ 1 ได้ใช้เวลาเรียนเพียง จึงศึกษาจน3 ปีก็เรียนจบหลักสูตร และแล้วเดินทางกลับเข้ามารับราชการในตำแหน่งสิบโทแห่งกองทัพอากาศเป็นบุคคลแรก ที่เปิดครูสอนวิชาเครื่องยนต์ในประเทศไทยจักรยนต์แก่นายทหาร
 
=== ก่อตั้งโรงเรียนช่างกล ===
น.อ.เลื่อนรับราชการจนครบ 2 ปีตามสัญญาที่ผูกมัดอยู่กับรัฐบาลแล้ว ก็ลาออกมาตั้งโรงงานรับซ่อมเครื่องยนต์อยู่ที่แพร่งสรรพศาสตร์ ขณะที่ตั้งโรงงานซ่อมรถอยู่นี่เองความคิดอันหนึ่งก็วูบขึ้นมาในสมอง คือความคิดที่จะฝึกคนไทยให้มีความรู้ในเรื่องเครื่องจักรตามความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองในยุควิทยาศาสตร์ น.อ.เลื่อนจึงได้เปิด ''โรงเรียนช่างกลพงษ์โสภณ'' ที่บ้านตำบลบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร นับว่าเป็นโรงเรียนช่างกลแห่งแรกที่มีในเมืองไทย เมื่อเปิดโรงเรียนช่างกลใหม่ ๆ ปรากฏว่า ไม่มีคนเรียนเพราะขณะนั้น คนไทยส่วนมากยังเชื่อถือกันอยู่ว่า อาชีพช่างกลเป็นอาชีพชั้นต่ำ ไม่ควรแก่การเรียน ความนิยมในการเป็นเสมียนยังฝังอยู่ในจิตใจของคนไทย โรงเรียนช่างกลพงษ์โสภณจึงประสบอุปสรรคสำคัญคือไม่มีนักเรียนสมัครเข้าเรียนเลย แต่ น.อ.เลื่อนก็ไม่ละความพยายาม เขาได้ดำเนินกิจการของโรงเรียนไปโดยไม่ยอมท้อถอย คือการขอแรงคนให้เข้ามาเรียน และสอนให้ฟรี จนในภายหลังความนิยมในอาชีพช่างกลมีมากขึ้น นักเรียนช่างกลของเขาก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้มาคิดเก็บเงินค่าเล่าเรียน จากนั้นโรงเรียนช่างกลพงษ์โสภณก็ดำเนินกิจการก้าวหน้าต่อมา กลายเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงดีมาเป็นเวลาถึง 30 ปีเศษ แม้ในบัดนี้ โรงเรียนช่างกลพงษ์โสภณจะได้เลิกกิจการไปแล้วก็ตามแต่ชื่อเสียงของโรงเรียนช่างกลพงษ์โสภณก็ยังคงอยู่ในความทรงจำของประชาชนคนไทยอยู่
 
 
=== ศึกษาต่อต่างประเทศและการบิน ===