ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระที่นั่งสุทธาสวรรย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jungide (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการก่อเกรียนหมู่
Chanon jirawat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
==ประวัติ==
'''พระที่นั่งสุทธาสวรรย์''' อาจหมายถึง
พระที่นั่งองค์นี้สร้างขึ้นเมื่อรัชกาล[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] พระมหากษัตริย์ลำดับที่27 แห่ง[[กรุงศรีอยุธยา]]เมื่อ[[ปีพ.ศ.2206]]
* '''พระที่นั่งสุทธาสวรรย์''' เป็นพระที่นั่งภายใน[[พระนารายณ์ราชนิเวศน์]]
ที่[[พระนารายณ์ราชนิเวศน์]] พระองค์ใช้เป็นที่ประทับจนสวรรรคต เมื่อวันที่[[11กรกฎาคม]] [[พ.ศ.2231
* '''[[พระที่นั่งพุทไธสวรรย์]]''' เดิมชื่อ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นพระที่นั่งภายใน[[พระราชวังบวรสถานมงคล]]
==สถาปัตยกรรม==
ในบันทึก เรอ ลาลูแปร์มีดังนี้
'''พระที่นั่งสุทธาสวรรย์''' อาจหมายถึง
ลักษณะสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นอาคารททรงตึกแบบยุโรป ฐานด้านหน้าพระที่นั่งมีท่อน้ำดินเผาขนาดเล็กฝังอยู่ สำหรับระบายน้ำที่ขังอยู่ออกจากพื้นที่พระที่นั่ง ด้านทิศเหนือของพระที่นั่งมีภูเขาทำเป็นน้ำตกจำลองก่อด้วยอิฐฉาบปูน ลักษณะเป็นฐานกว้าง ยอดแหลมสูงลดหลั่นกันลงมาใต้ฐานยังคงมีท่อประปาดินเผาฝังอยู่ สันนิษฐานว่าคงเป็นท่อส่งน้ำเพื่อทำเป็นน้ำตกไหลจากยอดลงมาสู้แอ่งน้ำด้านล่างให้ความร่มรื่นสวยงาม เย็นสบาย แก่พระที่นั่งองค์นี้ บริเวณพระที่นั่งองค์นี้ บันทึกของนิโกลาส แชร์แวส ชาวฝรั่งเศส  บรรยายไว้ว่า "หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองคล้ายทองคำเมื่อยาวต้องแสงตะวัน องค์พระที่นั่งมีกำแพงแก้วล้อมรอบ ตรงมุมมีสระน้ำใหญ่ 4 สระ บรรจุน้ำบริสุทธิ์เป็นที่สรงสนานของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชภายใต้กระโจมซึ่งคลุมกั้น สระน้ำทางขวามือตั้งอยู่ใกล้กับภูเขาจำลองซึ่งปกคลุมด้วยต้นไม้เขียวชอุ่มและดอกไม้ซึ่งส่งกลิ่นหอมตลอดเวลา มีน้ำพุใสจ่ายแจกให้แก่ธารน้ำทั้งสี่ในบริเวณพระที่นั่ง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงปลูกพันธุ์ไม้ดอกด้วยพระหัตถ์เอง ตรงหน้าพระที่นั่งปลูกต้นส้ม มะนาว และพันธุ์ไม้ในประเทศอย่างอื่นมีใบดกหนาทึบ แม้ยามแดดร้อนตะวันเที่ยงก็ร่มรื่นอยู่เสมอตามสองข้างทางเดินเป็นกำแพงอิฐเตี้ยๆ มีโคมทองเหลืองติดตั้งไว้เป็นระยะๆ และตามไฟขึ้นในระยะที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชประทับ ระหว่างหลักโคมสองหลัก มีสิ่งก่อสร้างคล้ายเตาหรือแท่นสำหรับใช้เผาไม้หอมส่งกลิ่นไปไกล.." จากบันทึกของชาวฝรั่งเศสทำให้มองเห็นภาพพระที่นั่งองค์นี้ชัดเจนขึ้นแสดงให้เห็นถึงความสนพระทัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชต่อการทำนุบำรุงพระที่นั่งและบริเวณรอบๆให้สวยงาม เหมาะที่จะใช้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ตลอดรัชกาลเป็นเวลายาวนานถึง 32 ปี
สภาพพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ในปัจจุบัน คงเหลือให้เห็นน้อยกว่าพระที่นั่งองค์อื่นๆที่ได้สร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน คือเหลือแต่ฐานและผนังทางด้านใต้อยู่เพียงเล็กน้อย ซึ่งมีลักษณะเป็นช่องโค้งแหลมของประตูอยู่เรียงชิดติดกัน จากฐานพระที่นั่งที่เหลือให้เห็นนี้แสดงว่าเดิมคงเป็นอาคารใหญ่โตพอสมควร ตรงมุมหน้าพระที่นั่งยื่นออกมาตรงกับประตูด้านทิศเหนือซึ่งเป็นทางเสด็จพระราชดำเนินขึ้นสู่พระที่นั่งดุสิตสวรรคธัญญมหาปราสาทตรงมุมพระที่นั่งด้านทิศเหนือนั้นมีเกยสำหรับสมเด็จพระนารายณ์มหาราชประทับทรงเสลี่ยง หรือทรงช้างพระที่นั่ง สาเหตุที่รพะที่นั่งองค์นี้ชำรุดสลักหักพังมากกว่าพระที่นั่งองค์อื่นๆนั้น ได้มีการระบุไว้ในประกาศครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ว่า พระที่นั่งสุทธาสวรรย์นั้นเดิมมีผนังก่อด้วยศิลาแลง แต่เมื่อครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล่าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) มีพระราชประสงค์ศิลาแลงมาก่อเจดีย์วัดสระเกษ จึงมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการไปเที่ยวหาศิลาแลงในเมืองร้างเก่าๆ มีพวกหนึ่งมารื้อพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ขนเอาศิลาแลงไปเสียด้วย
 
เหตุการณ์ที่สำคัญที่สมควรบันทึกไว้สำหรับพระที่นั่งองค์นี้ คือเป็นพระที่นั่งส่วนพระองค์ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชประทับอยู่ตลอดรัชกาล จนกระทั่งทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2231
{{แก้ความกำกวม}}
 
ภายหลังสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเสด็จสวรรคต และสมเด็จพระเพทราชาได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาต่อมา พระองค์เสด็จกลับไปประทับที่กรุงศรีอยุธยาอย่างถาวรตามเดิมตลอดรัชกาลดังนั้นพระราชวังเมืองลพบุรี ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดให้สร้างขึ้นอย่างใหญ่โตสวยงามจึงถูกทิ้งร้างไปนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และเมืองลพบุรีก็กลายเป็นเพียงแค่หัวเมืองที่พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทรงเสด็จประพาสเป็นครั้งคราว มิได้รับการส่งเสริมทะนุบำรุงเป็นพิเศษเหมือนดังในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นั้นอีกเลย
 
จุดเด่นทางภูมิปัญญา คือ  เป็นพระที่นั่งประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นอาคารททรงตึกแบบยุโรป
 
หนังสือพระนารายณ์ราชนิเวศน์, นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น อธิบดีกรมศิลปากร, สำนักพิมพ์ บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์(1977) จำกัด, 2545, หน้า 34-37
 
 
 
 
 
ลักษณะรากฐานของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ก่อนการขุดแต่ง อ้างอิง โดย อ.พิทยะ ศรีวัฒนสาร 
 
สภาพแวดล้อม
พระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นรากฐานโบราณสถานซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ ภายในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ ลักษณะของรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ถูกวางตาแหน่งอยู่ตรงกึ่งกลางของเขตพระราชฐานส่วนนี้ โดยรากฐานพระที่นั่งทางเหนืออยู่ห่างจากกำแพงทางด้านใต้ของพระที่นั่งดุสิตสวรรยธัญญมหาปราสาท ประมาณ 30เมตร รากฐานทางด้านตะวันออกอยู่ห่างจากแนวกำแพงพระราชฐานชั้นที่สอง ประมาณ 60 เมตร รากฐานทางด้านใต้อยู่ห่างจากแนวกำแพงทางใต้ประมาณ 25 เมตร ส่วนรากฐานพระที่นั่งทางด้านตะวันตกนั้นปรากฏแนวกำแพงก่ออิฐฉาบปูน สูง 15 เมตรตัดเนื้อที่บางส่วนของระเบียงด้านตะวันตกของพระที่นั่งออกไป ดังปรากฏหลักฐานในแผนผังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรี จากการสำรวจของพระยาโบราณราชธานินทร์
 
แนวกำแพงซึ่งตัดเนื้อที่บางส่วนของระเบียงด้านตะวันตกของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ออกไปนั้น อาจถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายหลังการขุดแต่งโบราณสถานแห่งนี้เสร็จสิ้นลงไป ได้ปรากฏร่องรอยบางอย่างที่บ่งชี้ว่ากำแพงด้งกล่าวอาจวางรากฐานอยู่แนวกำแพงแก้วเดิมด้านตะวันตกของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ก็ได้ ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไปข้างหน้า และเข้าใจว่าแนวกำแพงแก้วเดิมของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์อาจจะอยู่ห่างจากกำแพงพระราชฐานด้านตะวันตกประมาณ 60เมตร เช่นเดียวกับระยะห่างจากแนวกำแพงด้านตะวันออก
 
พื้นผิวดินภายในพระราชฐานอันเป็นที่ตั้งของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์นั้น ถูกปรับให้อยู่ต่ำกว่าพื้นที่ส่วนอื่นของพระราชวังประมาณ 2 เมตร ทั้งนี้วิศวกรคงจะคำนึงถึงประโยชน์เกี่ยวกับแรงดังในการทดน้ำจ่ายน้ำเพื่อใช้อุปโภคสำหรับพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นสำคัญ
==อ้างอิง==
* http://jeanverinter.blogspot.com/2011/02/blog-post.ht
==แหล่งข้อมูลอื่น==
*เว็บไซต์เทศบาลเมืองลพบุรี
==ดูเพิ่ม
*[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]
*[[พระนารายณราชนิเวศน์]]