ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระที่นั่งสุทธาสวรรย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Jungide (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการก่อเกรียนหมู่
บรรทัด 1:
'''พระที่นั่งสุทธาสวรรย์''' อาจหมายถึง
[[ไฟล์:พระราชฐานชั้นใน_2014-02-20_15-17.jpg|thumbnail|พระราชฐานชั้นใน]]
* '''พระที่นั่งสุทธาสวรรย์''' เป็นพระที่นั่งภายใน[[พระนารายณ์ราชนิเวศน์]]
* '''[[พระที่นั่งพุทไธสวรรย์]]''' เดิมชื่อ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นพระที่นั่งภายใน[[พระราชวังบวรสถานมงคล]]
 
{{แก้ความกำกวม}}
==ประวัติ==
ั  พระที่นั่งสุทธาสวรรค์" เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของ[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน บันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวไว้ว่า พระที่นั่งองค์นี้ตั้งอยู่ในพระราชอุทยานที่ร่มรื่น ทรงปลูกพรรณไม้ต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง หลังคาพระที่นั่งมุงด้วย กระเบื้องเคลือบสีเหลือง ที่มุมทั้งสี่มีสระน้ำขนาดใหญ่สี่สระ เป็ฯที่สรงสนานของพระเจ้าแผ่นดิน[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้เมื่อวันที่ [[11 กรกฎาคม ]] [[พ.ศ. 2231]]
 
==สถาปัตยกรรม==
พระที่นั่งสุทธาสวรรย์
ลักษณะสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นอาคารททรงตึกแบบยุโรป ฐานด้านหน้าพระที่นั่งมีท่อน้ำดินเผาขนาดเล็กฝังอยู่ สำหรับระบายน้ำที่ขังอยู่ออกจากพื้นที่พระที่นั่ง ด้านทิศเหนือของพระที่นั่งมีภูเขาทำเป็นน้ำตกจำลองก่อด้วยอิฐฉาบปูน ลักษณะเป็นฐานกว้าง ยอดแหลมสูงลดหลั่นกันลงมาใต้ฐานยังคงมีท่อประปาดินเผาฝังอยู่ สันนิษฐานว่าคงเป็นท่อส่งน้ำเพื่อทำเป็นน้ำตกไหลจากยอดลงมาสู้แอ่งน้ำด้านล่างให้ความร่มรื่นสวยงาม เย็นสบาย แก่พระที่นั่งองค์นี้ บริเวณพระที่นั่งองค์นี้ บันทึกของนิโกลาส แชร์แวส ชาวฝรั่งเศส  บรรยายไว้ว่า "หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองคล้ายทองคำเมื่อยาวต้องแสงตะวัน องค์พระที่นั่งมีกำแพงแก้วล้อมรอบ ตรงมุมมีสระน้ำใหญ่ 4 สระ บรรจุน้ำบริสุทธิ์เป็นที่สรงสนานของ[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]ภายใต้กระโจมซึ่งคลุมกั้น สระน้ำทางขวามือตั้งอยู่ใกล้กับภูเขาจำลองซึ่งปกคลุมด้วยต้นไม้เขียวชอุ่มและดอกไม้ซึ่งส่งกลิ่นหอมตลอดเวลา มีน้ำพุใสจ่ายแจกให้แก่ธารน้ำทั้งสี่ในบริเวณพระที่นั่ง [[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]ทรงปลูกพันธุ์ไม้ดอกด้วยพระหัตถ์เอง ตรงหน้าพระที่นั่งปลูกต้นส้ม มะนาว และพันธุ์ไม้ในประเทศอย่างอื่นมีใบดกหนาทึบ แม้ยามแดดร้อนตะวันเที่ยงก็ร่มรื่นอยู่เสมอตามสองข้างทางเดินเป็นกำแพงอิฐเตี้ยๆ มีโคมทองเหลืองติดตั้งไว้เป็นระยะๆ และตามไฟขึ้นในระยะที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชประทับ ระหว่างหลักโคมสองหลัก มีสิ่งก่อสร้างคล้ายเตาหรือแท่นสำหรับใช้เผาไม้หอมส่งกลิ่นไปไกล.." จากบันทึกของชาวฝรั่งเศสทำให้มองเห็นภาพพระที่นั่งองค์นี้ชัดเจนขึ้นแสดงให้เห็นถึงความสนพระทัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชต่อการทำนุบำรุงพระที่นั่งและบริเวณรอบๆให้สวยงาม เหมาะที่จะใช้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ตลอดรัชกาลเป็นเวลายาวนานถึง 32 ปี
 
สภาพพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ในปัจจุบัน คงเหลือให้เห็นน้อยกว่าพระที่นั่งองค์อื่นๆที่ได้สร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน คือเหลือแต่ฐานและผนังทางด้านใต้อยู่เพียงเล็กน้อย ซึ่งมีลักษณะเป็นช่องโค้งแหลมของประตูอยู่เรียงชิดติดกัน จากฐานพระที่นั่งที่เหลือให้เห็นนี้แสดงว่าเดิมคงเป็นอาคารใหญ่โตพอสมควร ตรงมุมหน้าพระที่นั่งยื่นออกมาตรงกับประตูด้านทิศเหนือซึ่งเป็นทางเสด็จพระราชดำเนินขึ้นสู่พระที่นั่งดุสิตสวรรคธัญญมหาปราสาทตรงมุมพระที่นั่งด้านทิศเหนือนั้นมีเกยสำหรับสมเด็จพระนารายณ์มหาราชประทับทรงเสลี่ยง หรือทรงช้างพระที่นั่ง สาเหตุที่รพะที่นั่งองค์นี้ชำรุดสลักหักพังมากกว่าพระที่นั่งองค์อื่นๆนั้น ได้มีการระบุไว้ในประกาศครั้งรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] (รัชกาลที่ 4) ว่า พระที่นั่งสุทธาสวรรย์นั้นเดิมมีผนังก่อด้วยศิลาแลง แต่เมื่อครั้งแผ่นดิน[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]](รัชกาลที่ 3) มีพระราชประสงค์ศิลาแลงมาก่อเจดีย์วัดสระเกษ จึงมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการไปเที่ยวหาศิลาแลงในเมืองร้างเก่าๆ มีพวกหนึ่งมารื้อพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ขนเอาศิลาแลงไปเสียด้วย
 
เหตุการณ์ที่สำคัญที่สมควรบันทึกไว้สำหรับพระที่นั่งองค์นี้ คือเป็นพระที่นั่งส่วนพระองค์ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชประทับอยู่ตลอดรัชกาล จนกระทั่งทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2231
 
ภายหลังสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเสด็จสวรรคต และ[[สมเด็จพระเพทราชา]]ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่ง[[กรุงศรีอยุธยา]]ต่อมา พระองค์เสด็จกลับไปประทับที่กรุงศรีอยุธยาอย่างถาวรตามเดิมตลอดรัชกาลดังนั้นพระราชวังเมืองลพบุรี ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดให้สร้างขึ้นอย่างใหญ่โตสวยงามจึงถูกทิ้งร้างไปนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และเมืองลพบุรีก็กลายเป็นเพียงแค่หัวเมืองที่พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทรงเสด็จประพาสเป็นครั้งคราว มิได้รับการส่งเสริมทะนุบำรุงเป็นพิเศษเหมือนดังในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นั้นอีกเลย
 
จุดเด่นทางภูมิปัญญา คือ  เป็นพระที่นั่งประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นอาคารททรงตึกแบบยุโรป
 
หนังสือพระนารายณ์ราชนิเวศน์, นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น อธิบดีกรมศิลปากร, สำนักพิมพ์ บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์(1977) จำกัด, 2545, หน้า 34-37
 
 
 
 
 
ลักษณะรากฐานของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ก่อนการขุดแต่ง อ้างอิง โดย อ.พิทยะ ศรีวัฒนสาร 
 
สภาพแวดล้อม
พระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นรากฐานโบราณสถานซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ ภายในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ ลักษณะของรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ถูกวางตาแหน่งอยู่ตรงกึ่งกลางของเขตพระราชฐานส่วนนี้ โดยรากฐานพระที่นั่งทางเหนืออยู่ห่างจากกำแพงทางด้านใต้ของพระที่นั่งดุสิตสวรรยธัญญมหาปราสาท ประมาณ 30เมตร รากฐานทางด้านตะวันออกอยู่ห่างจากแนวกำแพงพระราชฐานชั้นที่สอง ประมาณ 60 เมตร รากฐานทางด้านใต้อยู่ห่างจากแนวกำแพงทางใต้ประมาณ 25 เมตร ส่วนรากฐานพระที่นั่งทางด้านตะวันตกนั้นปรากฏแนวกำแพงก่ออิฐฉาบปูน สูง 15 เมตรตัดเนื้อที่บางส่วนของระเบียงด้านตะวันตกของพระที่นั่งออกไป ดังปรากฏหลักฐานในแผนผังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรี จากการสำรวจของพระยาโบราณราชธานินทร์
 
แนวกำแพงซึ่งตัดเนื้อที่บางส่วนของระเบียงด้านตะวันตกของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ออกไปนั้น อาจถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายหลังการขุดแต่งโบราณสถานแห่งนี้เสร็จสิ้นลงไป ได้ปรากฏร่องรอยบางอย่างที่บ่งชี้ว่ากำแพงด้งกล่าวอาจวางรากฐานอยู่แนวกำแพงแก้วเดิมด้านตะวันตกของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ก็ได้ ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไปข้างหน้า และเข้าใจว่าแนวกำแพงแก้วเดิมของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์อาจจะอยู่ห่างจากกำแพงพระราชฐานด้านตะวันตกประมาณ 60เมตร เช่นเดียวกับระยะห่างจากแนวกำแพงด้านตะวันออก
 
พื้นผิวดินภายในพระราชฐานอันเป็นที่ตั้งของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์นั้น ถูกปรับให้อยู่ต่ำกว่าพื้นที่ส่วนอื่นของพระราชวังประมาณ 2 เมตร ทั้งนี้วิศวกรคงจะคำนึงถึงประโยชน์เกี่ยวกับแรงดังในการทดน้ำจ่ายน้ำเพื่อใช้อุปโภคสำหรับพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นสำคัญ
 
 
 
 
 
 
 
สภาพปัจจุบัน
สภาพปัจจุบันของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ถูกจัดแต่งเป็นสวนขนาดใหญ่มีสภาพร่มรื่น มีต้นไม้ใหญ่ไม่กี่ชนิด ได้แก่ ต้นก้ามปู ต้นปีบ และพิกุล นอกนั้นเป็นต้นผลไม้ อาทิ มะม่วงขนาดเล็ก ต้นส้มโอและไม้ดอกของไทย อาทิ ราชาวดี เป็นต้น
 
 ภายในสวนด้านหลังแนวกำแพงด้านตะวันตกประกอบด้วยต้นมะพร้าวจำนวนหนึ่ง ต้นพุทรา ต้นมะม่วงขนาดย่อม กอไผ่ และพื้นสนามหญ้า ซึ่งได้รับการดูแลรักษาอย่างค่อนข้างดี
 
รากฐานของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ก่อนการขุดแต่งในปีงบประมาณ 2540 นั้น ถูกดินปกคลุมทับถมค่อยข้างเบาบางเนื่องจากเคยได้รับการขุดแต่งมาแล้วเมื่อประมาณ 20 ปีเศษที่ผ่านมา การขุดแต่งครั้งน้นดำเนินการแต่เพียงขุดลอกดินที่ทับถมรากฐานทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศใต้บางส่วนออกไปเท่านั้น ระดับการขุดลอกดินออกไปยังไม่ถึงพื้นลาน โดยรอบของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ แต่กระนั้นก็ตามการดำเนินการดังกล่าวช่วยทำให้รากฐานบางส่วนของพระที่นั่งองค์นี้ปรากฏให้เห็นเด่นชัดพอสมควร
 
จากการสำรวจพบว่าแผนผังโครงสร้างรากฐานของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ถูกออกแบบให้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมทุกส่วนทุกด้านมีความลงตัวกันอย่างเหมาะสม เรียกว่า “Symmetrical designation system” กล่าวคือ หากออกแบบให้มีประตูและหน้าต่างทางด้านหน้าอย่างไร ทางด้านหลังก็จะทำประตูและหน้าต่างล้อตามไปด้วย ทางด้านข้างชักปีกอาคารและบันไดออกไปอย่างไร ด้านตรงกันข้ามก็จะถูกออกแบบให้มีองค์ประกอบแบบเดียวกันตามไปด้วยโดยไม่มีข้อยกเว้น เป็นต้น แนวความคิดที่มีในองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์อย่างลงตัวเช่นนี้ จะช่วยให้การวิเคราะห์รูปแบบโครงสร้างและแผนผังของพระที่นั่งองค์นี้มีเหตุผลน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
 
จากสภาพเท่าที่ปรากฏได้ชัดเจนว่า รากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบนชุดรากฐาน 2 ชุด กล่าวคือ ชุดฐานชั้นนอกประกอบด้วยแผนผังของกำแพงแก้ว กำแพงปีกท้องพระโรง ระเบียง ฐานน้ำพุ ปีกพระที่นั่งซ้าย-ขวา มุขบันได และเกย ส่วนชุดฐานชั้นในเป็นส่วนรองรับโครงสร้างผนังและเครื่องบนหลังคา อันน่าจะเป็นท้องพระโรงที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์ขณะแปรพระราชฐาน ณ เมืองลพบุรี
 
ชุดฐานชั้นนอกและชุดฐานชั้นในของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ต่างก็เป็นฐานปัทม์หน้ากระดานอกไก่มีบัวคว่ำบัวหงายเป็นองค์ประกอบโดยเริ่มต้นจากฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าลดชั้นขึ้นไปรองรับลวดบัวแล้วจึงเป็นบัวคว่ำ ก่อนจะขึ้นไปเป็นหน้ากระดานอกไก่และชั้นบัวหงายตามลำดับ เหนือชั้นหงายขึ้นไปจึงเป็นพื้นระเบียงและพื้นท้องพระโรงที่ประทับของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นที่น่าสังเกตว่าที่ชั้นบัวคว่ำของฐานแต่ละด้านจะปรากฏท่อน้ำดินเผาสำหรับระบายน้ำออกจากระเบียงพระที่นั่งเป็นระยะๆ
 
ชุดฐานปัทม์หน้ากระดานอกไก่นี้เป็นองค์ประกอบเด่นทางสถาปัตกรรมแบบไทยประเพณีในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่สำหรับพระที่นั่งสุทธาสวรรย์นั้นชุดฐานปัทม์หน้ากระดานอกไก่จะเพิ่มเส้นลวดที่โคนกลับบัวคว่ำบัวหงายเข้าไปอย่างละเส้น ทำให้หน้ากระดานอกไก่มีความคมชัดมากยิ่งขึ้น
  
องค์ประกอบของกำแพงแก้วล้อมรอบระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ จะก่อตัวขึ้นจากฐานเขียงแล้วจึงเป็นบัวหงายก่อนจะเป็นผนังกำแพงแก้ว สูงประมาณ 100-120 เซนติเมตร และทับหลังกำแพงแก้วรูปบัวหงาย หน้ากระดานบัวคว่ำ สูงประมาณ 20 เซนติเมตร
          
สำหรับกำแพงปีกท้องพระโรง ซึ่งเป็นกำแพงสูงประมาณ 2.50 เมตร ชักปีกออกมาจากมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือและมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ คั่นระเบียงด้านตะวันตกของพระที่นั่งให้พ้นจากสายตาของบุคคลภายนอก มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับกำแพงแก้วของพระที่นั่งองค์นี้
          
เสาอาคารของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ถูกออกแบบให้ฝากอยู่กับโครงสร้างของผนัง โดยมีลักษณะเป็นโครงอิฐฉาบปูนยื่นออกมาจากผนังอาคารเพียงเล็กน้อย ร่องรอยของช่องอิฐที่ผนังตามแนวเสาบ่งชี้ให้ทราบว่ามีการทำด้นทวยรองรับเครื่องบนหรือชั้นหลังคาด้วย องค์ประกอบดังกล่าวสังเกตได้จากปีกทางด้านใต้ ซึ่งก่อเป็นอาคารยื่นออกมา มีประตูและหน้าต่างเป็นช่องโค้งยอดแหลม ตามแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเปอร์เซีย-โมกุล หรือที่เรียกว่า “Sarasenic Achitectural”
 
 
 
 
 
 
 
มิติทางสถาปัตยกรรม
รากฐานระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ลักษณะเป็นรากฐานชั้นนอกส่วนนอกของพระที่นั่ง มีด้านแปยาวประมาณ 35 เมตร ด้านสกัดยาวประมาณ 27 เมตร ซึ่งอันที่จริงแล้วหากคำนวณจากแผนผังพระที่นั่งสุทธาวรรย์ของฝรั่งเศส(Plan du Palais de Louvo) และผังที่นั่งพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรีแล้ว ด้านแปของพระที่นั่งสุทธาวรรย์อาจมีความยาวประมาณ 38 เมตรเลยทีเดียว
          
มุขบันได
ทางด้านตะวันออกของพระที่นั่งสุทธาวรรย์มีมุขกว้าง 1เมตร ยาว 11.20 เมตร ยื่นออกมาลักษณะคล้ายจะเป็นบันไดทางขึ้นสู่ระเบียงด้านตะวันออกของพระที่นั่ง โดยทำเป็นบันไดเบื้องซ้ายและเบื้องขวาที่มุมบางทิศเหนือและทิศใต้ของมุข และถ้าหากเชื่อมันในทฤษฎีเรื่องความลงตัวทางสถาปัตยกรรมดังกล่าวไปแล้วข้างต้น ก็อาจเป็นไปได้ว่าระเบียงทางด้านตะวันตกของพระที่นั่งสุทธาวรรย์จะมีมุขยื่นออกไปและมีบันไดขึ้น-ลงทางเบื้องซ้ายและขวา เช่นเดียวกัน
            
ปีกอาคาร (พระปรัศว์)
ปีกอาคารซึ่งถูกชักออกไปทางด้านเหนือและด้านใต้ของมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้อของฐานพระที่นั่งสุทธาวรรย์มีลักษณะเป็นอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านแปยาว 9 เมตรด้านสกัดกว้าง 7 เมตร ผนังของแต่ละด้านกว้างประมาณ 1 เมตร ภายหลังการขุดแต่งปรากฏอหลักฐานของถึงน้ำกรุหินอ่อนอยู่ภายใน ทั้งปีกด้านทิศเหนือและปีกด้านทิศใต้
สำหรับปีกด้านเหนือนั้น โครงสร้างผนังและเครื่องบนถูกรื้อทำลายลงไปจนหมดสิ้นเหลือเพียงร่องรอยของโคนเสาก่ออิฐถือปูน ฐานเสาบัวคว่ำและผนังเตี้ยๆแต่กระนั้นก็ยังพอจะเห็นร่องรอยขององค์ประกอบและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมจากการวิเคราะห์และเปรียบเที่ยบกับปีกอาคารทางด้านใต้ของฐานพระที่นั่งสุทธาวรรย์ กล่าวคือ ปีกอาคารด้านเหนือจะมีช่องหน้าต่างรูปวงโค้งยอดแหลมแบบซาราเซนนิค จำนวน 3 ช่อง เหตุที่เชื่อว่าด้านเหนือมีแต่ช่องหน้าต่างก็เนื่องจากไม่มีร่องรอยของบันไดยื่นจากตัวอาคารมารับช่องประตูทางด้านนี้แต่อย่างใด ส่วนทางด้านใต้ปีของอาคารทศเหนือนั้นปรากฏหลักฐานของช่องประตูจำนวน 2ช่อง ขนาบข่องหน้าต่างตรงกลางจำนวน 1 ช่อง ช่องประตูและช่องหน้าต่างทั้งหมดจะมีรูปแบบเป็นช่องโค้ง เช่นเดียวกับช่องประตูและช่องหน้าต่างทางทิศเหนือของปีกอาคารด้านใต้ของพระที่นั่งสุทธาวรรย์ ด้านสกัดของปีกอาคารทางเหนือนั้นปรากฏร่องรอยของช่องประตู ทั้งด้านตะวันออกและด้านตะวันตก โดยเฉพาะประตูด้านตะวันออกนั้นจะมีร่องรอยของฐานบันไดปรากฏให้เห็นด้วยและช่องประตูทั้งสองด้านก็น่าจะมีรูปเป็นช่องโค้งยอดแหยมเช่นเดียวกับประตูด้านตะวันออกและตะวันตกของปีกอาคารด้านใต้ ทางมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือของปีกอาคารส่วนนี้ปรากฏบันไดยื่นออกไป มีแผ่นหินแอนดีไซต์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 1.00 X 50 เซนติเมตรรองรับ
ปีกอาคารด้านใต้นั้นมีโครงสร้างและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมก่อนข้างสมบูรณ์ ง่ายต่อการอธิบายทำความเข้าใจและสามารถนำมาใช้เป็นหลักในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับองค์ประกอบส่วนอื่นๆของอาคารได้เป็นอย่างดี ผนังด้านเหนือยังปรากฏช่องประตูรูปโค้งมุมแหลมจำนวน 2 ช่อง สูงประมาณ 3 เมตร ขนาบช่องหน้าต่างรูปแบบเดียวกันไว้ตรงกลาง ความสูงประมาณ 2.5 เมตร ช่องประตูและช่องหน้าต่างมีความกว้างประมาณ 1.80 เมตรเท่ากัน ผนังด้านใต้ของปีกอาคารถูกรื้อทำลายไปจนหมดสิ้น ขณะที่ผนังด้านตะวันตกยังอยู่ครบ ส่วนผนังด้านตะวันออกนั้นยังคงเหลือเฉพาะซีกประตูด้านเหนือเท่านั้น ด้านตะวันออกของปีกอาคารส่วนนี้มีบันไดกว้างประมาณ 2 เมตร ยื่นออกไป ส่วนทางมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ก็มีบันไดยื่นออกไปเช่นกัน
ฐานน้ำพุหรือฐานอ่างน้ำสรงสนาน ฐานน้ำพุหรือฐานอ่างน้ำสรงสนานเป็นรากฐานขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมขนาด 7X3 เมตร ซึ่งถูกก่อยื่นเป็นมุขออกไปทางเหนือและใต้ ที่บริเวณจุดกึ่งกลางของรากฐานเดิม (ก่อนจะถูกกำแพงเขื่อนเพชรก่อคล่อมตัดบางส่วนของระเบียงด้านตะวันตกของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ออกไปเล็กน้อย) ของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ สภาพก่อนการขุดแต่งมีต้นหญ้า มูลดินและกากปูนปกคลุมประมาณ 10 เซนติเมตร ฐานน้ำพุหรืออ่างน้ำสรงสนานทางทิศเหนือของเชิงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จะมีเขามอหรอภูเขาจำลองก่ออิฐถือปูนหนา มีแผนผังคล้ายรูปครึ่งวงกลมจำนวน 6 รูป เรียงล้อมกันเป็นวงคล้ายกลีบดอกจันทร์ ลดชั้นจากฐานขึ้นไปสู่ยอด นับได้ 3 ชั้น (2ยอด) 7 ชั้น (2 ยอด)9ชั้น (1 ยอด) และ 11 ชั้น (1 ยอด) รวม 6 ยอด ฐานแต่ละด้านของยอดเขามอจะคว้านร่องทรงกระบอก ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจใช้สำหรับประดับพรรณไม้เป็นระยะๆ ฐานของเขามอทำเป็นช่องโค้งมุมแหลมเจาะทะลุจากเหนือไปใต้กว้างประมาณ 1 เมตร มีดินทับถมอยู่จนเกือบเต็มช่องโค้ง ดินดังกล่าวเป็นดินใหม่ ซึ่งถูกนำมาตกแต่งเขามอเนื่องในงานฉลองแผ่นดินสมเด็จ พระนารายณ์ของแต่ละปีที่ผ่านมา
ตรงกึ่งกลางของเขามอทั้งด้านตะวันออกและด้านตะวันตก มีแนวกำแพงแก้วชักปีกออกไปทั้งสองด้านเพียงเล็กน้อยก่อนที่กำแพงแก้วจะหักเลี้ยวไปทางทิศใต้ของทั้งสองด้าน มุมของกำแพงแก้วทั้งสองด้านถูกก่อเป็นเสารูปสี่เหลี่ยมย่อมุม ยอดเสามีลักษณะย่อมุมและทำเป็นหัวเม็ดทรงสี่เหลี่ยมย่อมุม คล้ายกับหัวเม็ดของเสากำแพงแก้วทุกต้นภายในพระราชฐานแห่งนี้สิ่งที่น่าสนใจคือ ลักษณะของกำแพงแก้วทางด้านตะวันออกของฐานน้ำพุหรืออ่างน้ำสนานเชิงเขามอนี้ ไม่มีร่องรอยของคูหาขนาดเล็กรูปโค้งยอดแหลมดังเช่นกำแพงแก้วของพระที่นั่งดุสิตสวรรย์ธัญญมหาปราสาท หรือตึกเลี้ยงรับรองราชทูต และอื่นๆแต่อย่างใด ส่วนฐานน้ำพุหรืออ่างน้ำสรงสนานทางทิศใต้นั้นเหลือเพียงฐานอิฐเหนือชั้นบัวหงายเท่านั้น
ในระยะแรกก่อนการขุดแต่ง สภาพของฐานน้ำพุหรืออ่างน้ำสรงสนานทั้งทางด้านเหนือ(เชิงเขามอ)และทางใต้ ต่างก็มีวัชพืช ดินและกากปูนทรายทับถมค่อนข้างหนา ทำให้ยังไม่สามารถนำมาเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางสถาปัตยกรรมกันได้อย่างลงตัว จนกรทั่งการขุดแต่งดำเนินผ่านไปจึงได้แลเห็นความเชื่อมโยงที่มีต่อกันได้ชัดเจน (ก่อนการขุดแต่งนั้นเชิงเขามอด้านตะวันตกเฉียงใต้พบร่องรอยบันไดกว้างประมาณ 1 เมตร ส่วนเชิงด้านตะวันออกและตะวันตกของฐานน้ำพุด้านใต้พบร่องรอยบันไดขนาบฐานน้ำพุทั้งสองด้าน หลังการขุดแต่งได้พบบันไดด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขามอเพิ่มอีกหนึ่งแห่ง บันไดทั้งสี่แท่งที่กล่าวถึงนั้น เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ลงตัวกันอย่างเหมาะสม)
รากฐานเกยคชาธารและเกยราชยาน ทางมุมทิศด้านตะวันออกเฉียงเหนือของรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์มีชั้นอิฐรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 2.40X2.00 เมตร ก่อยื่นออกมาเป็นเกยช้างพระที่นั่ง สูงประมาณ 2 เมตร ลักษณะคล้ายเกยช้างพระที่นั่งไกรสรสีหราช ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ มีร่องรอยของแนวอิฐสูงประมาณ 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 100 เซนติเมตร สภาพทรุดพัง เข้าใจว่าน่าจะเป็นร่องรอยของเกยราชยานคานหาม
 
 
 
 
พื้นระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์
พื้นระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ทั้งสี่ด้านก่อนการขุดแต่ง มีต้นหญ้า มูลดิน กากปูน ทราย ปกคลุม แนวระเบียงบางส่วนหลงเหลือพื้นปูนหนาเกือบ 20 เซนติเมตร ส่วนระเบียงของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ กว้างประมาณ 5-6 เมตร ที่บริเวณแนวตรงกันระหว่างฐานน้ำพุหรืออ่างน้ำสรงสนาน มีร่องรอยขนาบด้วยแผ่นปูนขาวกว้างประมาณ 40 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เมตร ทั้งสองด้านแลดูคล้ายร่องน้ำไหลใช้ส่งไปยังฐานน้ำพุหรืออ่างน้ำสรงสนานทั้งสอง
 
กำแพงแก้ว
กำแพงแก้วของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์นั้นถูกรื้อทำลายไปจนแทบหมดสิ้น เหลือแนวให้เห็นเพียงเล็กน้อยที่เชิงเขามอด้านเหนือ ซึ่งได้กล่าวไปแล้วข้างต้น แนวกำแพงแด้วกับช่องประตูและบันไดขึ้นลงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จะมีความสัมพันธ์กันค่อนข้างมาก ทางด้านเหนือจะมีแนวช่องประตู รวม 5 ช่องทางด้านตะวันออกจะมีแนวช่องประตู 2 ช่อง ด้านใต้จะมีแนวช่องประตู 5 ช่อง และด้านตะวันตกจะมีแนวช่องประตูผ่านกำแพงแก้ว 2 ช่อง ฐานโดยรอบรูปครึ่งวงกลมทางด้านเหนือเชิงเขามอมีร่องรอยของการฝังท่อน้ำดินเผา ปิดทับด้วยแผ่นดินอิฐปูนอน ท่อดินเผาดังกล่าวอาจเป็นเพียงท่อระบายน้ำออกจากจุดใดจุดหนึ่งของระเบียงหรือสระน้ำด้านใต้ของเขามอ ขณะที่ฝั่งทางใต้ของเชิงเขามอ ซึ่งอยู่บนระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ได้ขุดพบลานอิฐขนาด 1.60X2.90 เมตร มีลำรางขนาดประมาณ 30 เซนติเมตร ล้อมทั้งสี่ด้าน ที่มุมลำรางมีหลุมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40-50 เซนติเมตร รวม 4หลุม หลักฐานที่พบนี้เป็นร่องรอยของสระน้ำหรืออ่างน้ำที่มีลักษณะคล้ายถ้ำเล็กๆ ในบันทึกของนิโคลาส แชร์แวส นั่นเอง หลุมทั้งสี่มุมของสระแห่งนี้น่าจะเป็นร่องรอยของหลุมเสากระโจมตามระบุในเอกสารเช่นกัน ใต้ช่องโค้งมุมแหลมด้านเหนือของสระน้ำหรืออ่างน้ำนี้ มีบ่อรูปรีหรือรูปกระเพาะหรือกระเปาะ มุมทางใต้ของบ่อทำเป็นรูปเหลี่ยมหรือมุขยื่นออกมา บ่อนี้ลึกประมาณ 70-80 เซนติเมตร ความกว้างใกล้เคียงกัน ด้านบนซ้ายและขวาเป็นท่อน้ำให้เกิดการใหลเวียนขนาดต่างกัน บ่อและท่อดินเผานี้ยาปูนแน่นหนา
 
 
 
หลักฐานในปีกอาคารเหนือ-ใต้
เมื่อการขุดแต่งปีกอาคารด้านเหนือ (พระปรัศว์ขวา) และปีกอาคารด้านใต้ (พระปรัศว์ซ้าย) แล้วเสร็จ ได้ค้นพบอ่างน้ำขนาดประมาณ 1.00X1.50 เมตร กรุด้วยหินอ่อนหนาประมาณ 4-5 เซนติเมตร (ควรตรวจสอบขนาดอีกครั้งเพื่อความแม่นยำ) ทั้งสองด้าน อ่างหินอ่อนนี้มีลำรางส่งน้ำจ่ายน้ำ ซึ่งอาจโยงใยมาจากอ่างน้ำเชิงเขามอด้านเหนือก็ได้เนื่องจากได้พบทั้งแนวท่อน้ำดินเผาและแนวลำรางเลาะมาตามกำแพงแก้วโดยตลอด (จะได้กล่าวถึงข้างหน้า) หลักฐานหลายชิ้น อาทิ พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติชมิวเซียม ระบุถึงเทคนิคการเก็บกักน้ำในอ่างว่าต้อง “กรุศิลายาปูนเป็นอันดี” (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 82, พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติชมิวเซียม,25357 หน้า 247) หรือ “ตรุศิลายาปูนเป็นอันดี” (พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับพระพนรัตน์,2535,หน้า 214) การกรุศิลายาปูนนั้นอาจเป็นเทคนิคที่รู้จักกันดีของช่างไทย แต่การใช้หินอ่อนมาทำอ่างน้ำ ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก
          
เอกสารสำคัญร่วมสมัย คือ จดหมายเหตุการณ์เดินทางครั้งที่ 2 ของบางหลวงกีย์ ตาชารต์ ระบุว่า โรงสวด Notre – Dame de Laurette ในบ้านของคอนสแตนติน ฟอลคอน มีการนำหินอ่อน “มาใช้อย่างไม่อั้น” แต่หินอ่อนนั้นเป็นวัสดุก่อสร้างทีมีค่าและมีราคาแพงมาในชมพูทวีป จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันการสร้างอ่างน้ำกรุหินอ่อนยาปูนกันซึมอย่างดีในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ จึงไม่น่าจะเป็นปรากฏการณ์ธรรมดาสามัญ
          
เหตุใดนักโบราณคดีจึงมิได้ระบุว่าอ่างน้ำภายในพระปรัศว์ทั้งสองด้านเป็นอ่างน้ำจำนวน 2 ใน 4 อ่างที่แชร์แวส ระบุ ในที่นี้ยังไม่สามารถหาคำตอบที่เหมาะสมมาอธิบายได้ ทั้งๆที่เป็นจุดที่ไม่ควรจะมองข้าม
ทางด้านใต้ของพระปรัศว์ซ้ายมีบันไดปูด้วยแผ่นหินแอนดีไซต์ รับกับบันด้านเหนือของพระปรัศว์ขวา ซึ่งดูเหมือนว่าแผ่นหินแอนดีไซต์บางชิ้นจะถูกเคลื่อนย้ายออกไป
นอกจากแผ่นหินแอนดีไซต์จะถูกนำมาปูที่ขั้นบันไดแล้ว ยังพบว่ามีร่องรอยการนำหินชนิดดังกล่าวมาปูบนพื้นด้านตะวันตกและด้านใต้ของพระปรัศว์ขวา รวม 4 จุด และปูบนพื้นด้านเหนือและตะวันตกของพระปรัศว์ซ้าย รวม 4 จุดเช่นกัน แต่ร่องรอยการปูหินบางจุดถูกรื้อไปจนหมดสิ้นแล้ว จุดตังกล่าวคือด้านเหนือของพระปรัศว์ซ้าย (หลุม 3N 7W) ซึ่งได้พบร่องรอยของการถมทรายอัดและศษกระเบื้องเคลือมุงหลังจักรพรรดิคาสีเหลืองทับถมอยู่ด้านล่าง อันอาจเป้นหลักฐานบ่งบอกถึงการเชื่อมต่อพระปรัศว์ในระยะหลัง เนื่องจากพบการทำฐานเขียงและลวดลายบัวคว่ำอยู่ทีจุดนี้อย่างชัดเจน
 
สภาพระเบียงและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
การขุดแต่งระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ทำให้ได้พบหลักฐานลำรางกว้างประมาณ 30-40 เซนติเมตร วางแนวเลาะกำแพงแก้วของพระที่นั่งทั้งสามด้าน (เหนือ ตะวันออก ใต้) ด้านนอกของลำรางจะมีท่อน้ำดินเผาถูกฝังโผล่ปลายท่อขึ้นมาให้เห็น และตลอดแนวลำรางจะมีหลุมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30-40 เซนติเมตร เรียงรายอยู่เป็นระยะๆ ในชั้นต้นนี้สันนิษฐานว่าลำรางอาจเป็นช่องสำหรับปล่อยให้น้ำไหลผ่านไปหล่อเลี้ยงอ่างน้ำในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ แต่หลุมเสาที่อยู่ตามแนวลำรางนั้น หาเป็นหลุมเสากระโจมก็อาจจะทำให้การไหลเวียนของน้ำไม่สะดวกเท่าที่ควร และมีข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ เมื่อขุดแต่งบริเวณหลุม 3N 8W และ 8N 8W เสร็จสิ้นลง ได้พบหลักฐานแผ่นอิฐวางปิดอยู่เหนือปากลำราง ซึ่งทำเป็นแนวต่อเนื่องมาจากด้านตะวันออก ลำรางที่ขุดพบนี้น่าจะสัมพันธ์กับท่อน้ำดินเผาทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้ของรากฐานท้องพระโรง (หรือด้านใต้ของขวาและด้านเหนือของพระปรัศว์ซ้าย) ท่อน้ำดินเผาที่พบก็มีทั้งท่อน้ำทิ้งและท่อน้ำดี ท่อน้ำทิ้งจะทำหน้าที่ระบายน้ำฝนออกจากระเบียงพระที่นั่งลงสู่ลานด้านล่าง โดยโคนท่อและปลายท่อจะเป็นอิสระไม่เชื่อมกับท่ออื่น ส่วนท่อน้ำดีซึ่งพบด้านใต้ของพระปรัศว์ขวา และด้านเหนือของพระปรัศว์ซ้าย ได้ถูกฝังไว้อย่างมั่นคงใต้พื้นอิฐ มีข้องอและข้อต่อเป็นตัวบังคับทิศทางของท่อ สภาพของท่อทั้งสองด้านถูกฝังอยู่ในช่องลักษณะคล้ายลำราง (ดูแผนผังหลังการขุดแต่ง) จึงอาจเป็นไปได้ว่า แต่เดิมนั้นแนวลำรางทุกด้านของระเบียงพระที่นั่งจะมีท่อน้ำดินเผาฝังอยู่โดยตลอด เพื่อเป็นตัวจ่ายน้ำหล่อเลี้ยงอ่างน้ำทั้งสี่แห่งของท้องพระโรง รวมไปถึงอ่างน้ำในพระปรัศว์ซ้าย-ขวาด้วย ท่อน้ำดินเผาเหล่านี้ได้รับน้ำมาจากแหล่งจ่ายน้ำเชิงเขามอ ซึ่งได้รับน้ำมาจากอ่างแก้วด้านตะวันออกของพระราชฐานชั้นนอก ส่วนท่อน้ำดินเผาทางด้านตะวันออกของรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ อาจเป็นท่อส่งน้ำออกไปหล่อเลี้ยงพระราชอุทยานในพระราชฐานชั้นใน
          
พื้นระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ด้านเหนือบริเวณหลุม 7N 4W และใกล้เคียง มีหลักฐานการปูอิฐเฉียงไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ และมีแนวเอ็นของคานฐานรากเอียงไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนพื้นอิฐด้านอื่นนั้นกลับปูขนานกับแนวรากฐานอาคารตามปรกติ
          
เมื่อขุดลอกลึกลงในพื้นและร่องเอ็นไปเพียงเล็กน้อยก็พบทรายหยาบ อันเป็นทรายอัดรับน้ำหนักและกันการทรุดพังของโครงสร้าง ในชั้นแรกตั้งสมมติฐานว่าอาจเป็นแนวร่องวางท่อน้ำดินเผาหรือเกิดขึ้นเนื่องจากมีการซ่อมบูรณะในคราวใดคราวหนึ่ง แต่ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ในขณะนี้
          
ทางด้านใต้ของอ่างน้ำด้านเหนือ และด้านเหนือของอ่างน้ำด้านใต้ตรงกับช่องประตูกลางท้องพระโรง (ด้านใต้เขามอ) พบแนวพื้นปูนขาวหนา 2 แนว คั่นด้วยร่องตื้นๆ แต่เดิมเข้าใจว่าเป็นทางน้ำที่สัมพันธ์กับอ่างน้ำทั้งสอง แต่เมื่อการขุดแต่งเสร็จสิ้นลงก็เห็นว่าแนวคิดดังกล่าวยังไม่มีหลักฐานหรือเหตุผลที่เหมาะสมรองรับ
 
ท้องพระโรงพระที่นั่ง
การขุดแต่งพื้นท้องพระโรง พบหลักฐานการปูพื้นอิฐขนาดเดียวกับอิฐที่ใช้ก่อองค์ประกอบส่วนอื่น และเมื่อได้ขุดตรวดชั้นดินในหลุม 5 4 อันเป็นแอ่งใหญ่ที่ถูกขุดเจาะเอาทรายอัดออกไป ได้พบว่าลึกลงไปพอสมควร ยังคงเป็นชั้นทรายอัดอยู่เช่นเดิม
 
 การพบหลักฐานร่องรอยขององค์ประกอบโบราณสถานภายหลังการขุดแต่ง นับว่าเป็นสิ่งทีมีคุณค่ายิ่งต่อนโยบายและการวางแผนอนุรักษ์และพัฒนารากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ให้ดำรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ สถาปัตยกรรม และโบราณคดี ต่อไปในอนาคต แม้การขุดแต่งครั้งนี้จะตอบคำถามของนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ต้องสงสัยเลยว่าอาจมีหลักฐานบางอย่างหลุดรอดสายตาของนักโบราณคดีไปบ้าง (อาทิแนวท่อน้ำสำริดและแนวท่อน้ำดินเผา เป็นต้น) เนื่องจากการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2540 ได้กำหนดเป้าหมายพื้นที่ขุดแต่งไว้เพียง 800 ตารางเมตรเศษ ขณะที่หลักฐานเอกสารในอดีตบันทึกขนาดดั้งเดิมของราดฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์และหมู่ตำหนักบริวารโยงใยออกไปมากกว่า 1 เท่าตัว ดังนั้น เชื่อว่าในโอกาสที่เหมาะสมแล้วคงจะได้มีการดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนารากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์อย่างเต็มรูปแบบต่อไป
 
การศึกษาชั้นดินทางโบราณคดี
ผลจากการขุดค้นในหลุมทดสอบ 1S 3W ทำให้ทราบว่า ชั้นดินในหลุมขุดค้นตั้งแต่ระดับ 30 cm.dt. ถึงประ-มาณ 210 cm.dt. อาจเป็นชั้นดินถมใหม่ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ระหว่างมีการเตรียมปรับพื้นพระราชฐานชั้นที่ 3 เพื่อรองรับฐานรากของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เราจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน จากกรณีที่มีการนำทรายหยาบและทรายละเอียดมาบดอัดสลับกันรองรับบริเวณโดยรอบ ไม่ห่างไกลจากรากฐานและฐานรากพระที่นั่งเท่าใดนัก ทรายบดอัดบางส่วนมีชั้นดินเหนียวสีเทาแกมขาวแทรกอยู่เป็นช่วงๆ แลเห็นโดดเด่นตัดกับชั้นทราย
          
ชั้นดินธรรมชาติในพื้นที่นี้ ก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์อาจอยู่ในระดับ 200 – 210 cm.dt. ดังจะสังเกตว่า มีการพบชิ้นส่วนกระเบื้องมุงหลังคาแบบลูกฟูกมีเดือยแบบหนา ต่อออกมาจากขอบชายกระเบื้องด้านบน แทนที่จะเป็นเดือยซึ่งยื่นออกมาจากท้องกระเบื้องด้านล่างตามปกติในยุคหลังๆ
          
แม้จะพบโบราณวัตถุในชั้นดินตั้งแต่ 30 -210 cm.dt. อันเป็นชั้นดินถมหรือทรายอัด แต่ก็เป็นการพบแบบไม่หนาแน่น แสดงให้เห็นถึงการปะปนมากับชั้นดินในช่วงที่มีกิจกรรมปรับพื้นที่พระราชฐานชั้นที่ 3 หลักฐานโบราณวัตถุที่พบในชั้นดินลึกกว่า 210 cm.dt. จึงเป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงเรื่องราวการอยู่อาศัยของคนในพื้นที่นี้ ก่อนจะมีการสร้างพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ และกำหนดอายุในราวก่อนรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์เป็นอย่างน้อย
          
หลักฐานการขุดตรวจชั้นดินในหลุม 1S 3W มีความสอดคล้องกับชั้นดินในหลุม 5N 4W (ส่วนท้องพระโรงที่ประทับ) เราได้พบชั้นทรายบดอัดเพื่อรองรับน้ำหนัก กันการเลื่อนและทรุดพังของฐานรากพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ อย่างน้อยก็อยู่ที่ระดับ 200 เซนติเมตร ลงไปพื้นอิฐของท้องพระโรง ซึ่งนาเชื่อว่าการบดอัดทรายลงไปในฐานรากอาจลึกถึง 3.50 เมตร (จากพื้นท้องพระโรง) ชั้นทรายอัดล่างสุดของฐานรากส่วนท้องพระโรงจึงจะอยู่ระดับเดียวกับชั้นทรายในหลุม 1S 3W
          
เทคนิคการใช้ทรายบดอัดรองรับน้ำหนักอาคารและกันการเลื่อนไถล – ทรุดพัง เป็นภูมิความรู้ที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่สมัยลพบุรี โดยมีหลักฐานให้เห็นจากหลุมทดสอบชั้นดินทางโบราณคดีที่โบราณสถานพระปรางค์สามยอด การใช้ทรายบดอัดรองรับฐานราก (แทนที่จะใช้ดินเหนียวเช่นเดียวกับอยุธยา) อันสืบทอดมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (อย่างน้อยก็ในพระราชวังนารายณ์นิเวศน์) จะทำให้สามารถอธิบายในประเด็นของการสืบทอดทางเทคโนโลยีและวัฒน-ธรรมของกลุ่มชนในบริเวณนี้อย่างไม่ขาดตอนสูญหายไปเลยได้หรือไม่ นั่นคือกลุ่มคนที่สร้างพระปรางค์สามยอดก็คือกลุ่มคนเชื้อสายเดียวกันกับไพร่ที่ถูกเกณฑ์มาเป็นแรงงานในการก่อพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ แต่ความคิดนี้อาจถูกโต้แย้งได้ในเรื่องสภาพภูมิประเทศของลพบุรี เพราะดินเหนียวอาจหายากกว่าทรายก็ได้ ดังนั้นจึงควรประมวลข้อมูลหลักฐานจากโบราณสถานหลายๆแห่งมาพิจารณาประกอบกัน
 
==อ้างอิง==
*http://jeanverinter.blogspot.com/2011/02/blog-post.html
*http://www.dooasia.com/lopburi/011k016.shtml
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Narai Ratcha Niwet}}
{{วังในไทย}}
 
[[หมวดหมู่:พระนารายณ์ราชนิเวศน์]]
[[หมวดหมู่:สถานที่ที่ตั้งชื่อตามพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ไทย]]
[[หมวดหมู่:ไหว้พระ 9 วัด ลพบุรี]]
[[หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา]]
[[หมวดหมู่:โบราณสถานในจังหวัดลพบุรี]]
[[หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในจังหวัดลพบุรี]]
 
==แหล่งข้อมูลอื่น==
*[[จังหวัดลพบุรี]]
*[[พระนารายณ์ราชนิเวศน์]]