ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระที่นั่งสุทธาสวรรย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chanon jirawat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่
Chanon jirawat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 8:
ลักษณะสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นอาคารททรงตึกแบบยุโรป ฐานด้านหน้าพระที่นั่งมีท่อน้ำดินเผาขนาดเล็กฝังอยู่ สำหรับระบายน้ำที่ขังอยู่ออกจากพื้นที่พระที่นั่ง ด้านทิศเหนือของพระที่นั่งมีภูเขาทำเป็นน้ำตกจำลองก่อด้วยอิฐฉาบปูน ลักษณะเป็นฐานกว้าง ยอดแหลมสูงลดหลั่นกันลงมาใต้ฐานยังคงมีท่อประปาดินเผาฝังอยู่ สันนิษฐานว่าคงเป็นท่อส่งน้ำเพื่อทำเป็นน้ำตกไหลจากยอดลงมาสู้แอ่งน้ำด้านล่างให้ความร่มรื่นสวยงาม เย็นสบาย แก่พระที่นั่งองค์นี้ บริเวณพระที่นั่งองค์นี้ บันทึกของนิโกลาส แชร์แวส ชาวฝรั่งเศส  บรรยายไว้ว่า "หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองคล้ายทองคำเมื่อยาวต้องแสงตะวัน องค์พระที่นั่งมีกำแพงแก้วล้อมรอบ ตรงมุมมีสระน้ำใหญ่ 4 สระ บรรจุน้ำบริสุทธิ์เป็นที่สรงสนานของ[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]ภายใต้กระโจมซึ่งคลุมกั้น สระน้ำทางขวามือตั้งอยู่ใกล้กับภูเขาจำลองซึ่งปกคลุมด้วยต้นไม้เขียวชอุ่มและดอกไม้ซึ่งส่งกลิ่นหอมตลอดเวลา มีน้ำพุใสจ่ายแจกให้แก่ธารน้ำทั้งสี่ในบริเวณพระที่นั่ง [[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]ทรงปลูกพันธุ์ไม้ดอกด้วยพระหัตถ์เอง ตรงหน้าพระที่นั่งปลูกต้นส้ม มะนาว และพันธุ์ไม้ในประเทศอย่างอื่นมีใบดกหนาทึบ แม้ยามแดดร้อนตะวันเที่ยงก็ร่มรื่นอยู่เสมอตามสองข้างทางเดินเป็นกำแพงอิฐเตี้ยๆ มีโคมทองเหลืองติดตั้งไว้เป็นระยะๆ และตามไฟขึ้นในระยะที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชประทับ ระหว่างหลักโคมสองหลัก มีสิ่งก่อสร้างคล้ายเตาหรือแท่นสำหรับใช้เผาไม้หอมส่งกลิ่นไปไกล.." จากบันทึกของชาวฝรั่งเศสทำให้มองเห็นภาพพระที่นั่งองค์นี้ชัดเจนขึ้นแสดงให้เห็นถึงความสนพระทัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชต่อการทำนุบำรุงพระที่นั่งและบริเวณรอบๆให้สวยงาม เหมาะที่จะใช้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ตลอดรัชกาลเป็นเวลายาวนานถึง 32 ปี
 
สภาพพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ในปัจจุบัน คงเหลือให้เห็นน้อยกว่าพระที่นั่งองค์อื่นๆที่ได้สร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน คือเหลือแต่ฐานและผนังทางด้านใต้อยู่เพียงเล็กน้อย ซึ่งมีลักษณะเป็นช่องโค้งแหลมของประตูอยู่เรียงชิดติดกัน จากฐานพระที่นั่งที่เหลือให้เห็นนี้แสดงว่าเดิมคงเป็นอาคารใหญ่โตพอสมควร ตรงมุมหน้าพระที่นั่งยื่นออกมาตรงกับประตูด้านทิศเหนือซึ่งเป็นทางเสด็จพระราชดำเนินขึ้นสู่พระที่นั่งดุสิตสวรรคธัญญมหาปราสาทตรงมุมพระที่นั่งด้านทิศเหนือนั้นมีเกยสำหรับสมเด็จพระนารายณ์มหาราชประทับทรงเสลี่ยง หรือทรงช้างพระที่นั่ง สาเหตุที่รพะที่นั่งองค์นี้ชำรุดสลักหักพังมากกว่าพระที่นั่งองค์อื่นๆนั้น ได้มีการระบุไว้ในประกาศครั้งรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] (รัชกาลที่ 4) ว่า พระที่นั่งสุทธาสวรรย์นั้นเดิมมีผนังก่อด้วยศิลาแลง แต่เมื่อครั้งแผ่นดิน[[พระบาทนสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ][(รัชกาลที่ 3) มีพระราชประสงค์ศิลาแลงมาก่อเจดีย์วัดสระเกษ จึงมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการไปเที่ยวหาศิลาแลงในเมืองร้างเก่าๆ มีพวกหนึ่งมารื้อพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ขนเอาศิลาแลงไปเสียด้วย
 
เหตุการณ์ที่สำคัญที่สมควรบันทึกไว้สำหรับพระที่นั่งองค์นี้ คือเป็นพระที่นั่งส่วนพระองค์ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชประทับอยู่ตลอดรัชกาล จนกระทั่งทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2231