ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระที่นั่งสุทธาสวรรย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chanon jirawat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่
Chanon jirawat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
==ประวัติ==
ั  พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน บันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวไว้ว่า พระที่นั่งองค์นี้ตั้งอยู่ในพระราชอุทยานที่ร่มรื่น ทรงปลูกพรรณไม้ต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง หลังคาพระที่นั่งมุงด้วย กระเบื้องเคลือบสีเหลือง ที่มุมทั้งสี่มีสระน้ำขนาดใหญ่สี่สระ เป็ฯที่สรงสนานของพระเจ้าแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้เมื่อวันที่ 11 กรกฏาคม พ.ศ. 2231"
==สถาปัตยกรรม==
 
พระที่นั่งสุทธาสวรรย์
ลักษณะสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นอาคารททรงตึกแบบยุโรป ฐานด้านหน้าพระที่นั่งมีท่อน้ำดินเผาขนาดเล็กฝังอยู่ สำหรับระบายน้ำที่ขังอยู่ออกจากพื้นที่พระที่นั่ง ด้านทิศเหนือของพระที่นั่งมีภูเขาทำเป็นน้ำตกจำลองก่อด้วยอิฐฉาบปูน ลักษณะเป็นฐานกว้าง ยอดแหลมสูงลดหลั่นกันลงมาใต้ฐานยังคงมีท่อประปาดินเผาฝังอยู่ สันนิษฐานว่าคงเป็นท่อส่งน้ำเพื่อทำเป็นน้ำตกไหลจากยอดลงมาสู้แอ่งน้ำด้านล่างให้ความร่มรื่นสวยงาม เย็นสบาย แก่พระที่นั่งองค์นี้ บริเวณพระที่นั่งองค์นี้ บันทึกของนิโกลาส แชร์แวส ชาวฝรั่งเศส  บรรยายไว้ว่า "หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองคล้ายทองคำเมื่อยาวต้องแสงตะวัน องค์พระที่นั่งมีกำแพงแก้วล้อมรอบ ตรงมุมมีสระน้ำใหญ่ 4 สระ บรรจุน้ำบริสุทธิ์เป็นที่สรงสนานของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชภายใต้กระโจมซึ่งคลุมกั้น สระน้ำทางขวามือตั้งอยู่ใกล้กับภูเขาจำลองซึ่งปกคลุมด้วยต้นไม้เขียวชอุ่มและดอกไม้ซึ่งส่งกลิ่นหอมตลอดเวลา มีน้ำพุใสจ่ายแจกให้แก่ธารน้ำทั้งสี่ในบริเวณพระที่นั่ง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงปลูกพันธุ์ไม้ดอกด้วยพระหัตถ์เอง ตรงหน้าพระที่นั่งปลูกต้นส้ม มะนาว และพันธุ์ไม้ในประเทศอย่างอื่นมีใบดกหนาทึบ แม้ยามแดดร้อนตะวันเที่ยงก็ร่มรื่นอยู่เสมอตามสองข้างทางเดินเป็นกำแพงอิฐเตี้ยๆ มีโคมทองเหลืองติดตั้งไว้เป็นระยะๆ และตามไฟขึ้นในระยะที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชประทับ ระหว่างหลักโคมสองหลัก มีสิ่งก่อสร้างคล้ายเตาหรือแท่นสำหรับใช้เผาไม้หอมส่งกลิ่นไปไกล.." จากบันทึกของชาวฝรั่งเศสทำให้มองเห็นภาพพระที่นั่งองค์นี้ชัดเจนขึ้นแสดงให้เห็นถึงความสนพระทัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชต่อการทำนุบำรุงพระที่นั่งและบริเวณรอบๆให้สวยงาม เหมาะที่จะใช้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ตลอดรัชกาลเป็นเวลายาวนานถึง 32 ปี