ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
ศิลปินลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรมที่อยู่ในกลุ่มกัมมันตจิตรกรรมมักอาศัยวิธีการที่เรียกว่า "ภาวะอัตโนมัติ" (automatism) ในการสร้างงาน ภาวะอัตโนมัติได้ปลดปล่อยจินตนาการของศิลปิน ทำให้เขาสามารถค้นหาสภาวะความเป็นสากลจักรวาลภายในตัวเขาซึ่งซ่อนอยู่ภายในจิตใต้สำนึกได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ยังทำให้ศิลปินสามารถแสดงออกได้ด้วยความกล้าเสี่ยงกล้าทดลองด้วยวิธีการที่ไม่มีขอบเขตจำกัด ทำให้เกิดรูปทรงที่มีพลังเคลื่อนไหว ก่อให้เกิดการให้น้ำหนักต่อวิธีของการวาดภาพมากกว่าเดิม และที่สำคัญคือทำให้เกิดการค้นพบภาษาใหม่ในการแสดงออกที่เป็นต้นแบบไม่ซ้ำใคร
 
นักทฤษฎีศิลปะให้ความเห็นว่าวิธีการทำงานจิตรกรรมของพอลล็อกเป็นการขยายขอบเขตการเขียนอัตโนมัติของลัทธิเหนือจริง เขาควบคุมเหตุการณ์ (สถานการณ์) บนผ้าใบ แต่เห็นได้ชัดเจนว่าเขาไม่ได้ควบคุมลักษณะการเกิดรูปร่างใด ๆ บนผืนผ้าใบ ดังที่เขาได้กล่าวว่า เป็นการปล่อยให้พลังและการเคลื่อนไหวที่มองเห็นได้ (''Energy and motion made visible'') ทำงาน พอลล็อกมีความเชื่อว่าเขาวาดภาพออกมาจากจิตใต้สำนึก (''painting out of the unconscious'')
 
การปลดปล่อยจิตใต้สำนึกออกมาสำหรับศิลปินลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม ได้แก่ การเขียนภาพสด ๆ (improvisation) และการปาดป้ายอย่างฉับพลันทันที (spontaneous gesture) ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลบางประการจาก[[ลัทธิเหนือจริง]] ซึ่งศิลปินพยายามหาวิธีที่ความบังเอิญจะมีโอกาสเข้ามาแสดงบทบาทมากที่สุดในงานศิลปะ วิธีการหนึ่งที่เรียกว่า "[[ภาพทาบสี]]" (decalcomania) นั้น คล้ายกับการเล่นสนุกกับสีของเด็กนักเรียน โดยการนำเอากระดาษหรือผ้าใบที่ระบายสีไว้มาประกบกันแล้วดึงออกมา ก็จะได้พื้นผิวหน้าที่ไม่ได้คาดหวังมาก่อนเกิดขึ้น แม้เราจะสามารถคาดเดาผลได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผลจะเป็นเช่นนั้นเสมอไป ซึ่งนับว่าการควบคุมของมนุษย์ก็ได้ถูกลดความสำคัญลงไปอย่างมาก เช่นเดียวกับพอลล็อกและ[[ฟรานซ์ ไคลน์]] ที่ถือว่าความสดฉับพลันเป็นหัวใจสำคัญ แรงผลักดันอิสระจากจิตของมนุษย์เป็นสิ่งเดียวที่จะปลดปล่อยพลังแห่งธรรมชาติ ความกลมกลืนที่แท้จริงเกิดจากการทำงานของพลังจากแรงผลักดันอิสระจากจิตของมนุษย์นั่นเอง