ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปาราชิก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Antelope (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''ปาราชิก''' คือประเภทของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิด[[สิกขาบท]]ประเภท [[ครุกาบัติ]]ที่เรียกว่า '''[[อาบัติ]]ปาราชิก'''
 
คำศัพท์ว่า ปาราชิกนั้น แปลว่า ยังผู้ต้องพ่าย หมายถึง ผู้ต้องพ่ายแพ้ในตัวเองที่ไม่สามารถปฏิบัติในพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้ให้ได้
พระภิกษุต้อง[[อาบัติ]]ปาราชิกสี่ข้อใดข้อหนึ่ง แม้จะไม่กล่าวลาสิกขาบท ก็ถือว่าขาดจากความเป็นพระ[[ภิกษุ]]ทันที เมื่อความผิดสำเร็จ
 
'''ปาราชิก''' มี 4 ข้อ อยู่ใน [[ศีล 227]] ได้แก่
 
# '''เสพเมถุน''' แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
# '''ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้''' มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย) ได้ราคา 5 มาสก(5 มาสกเท่ากับ 1 บาท)
# '''พรากกายมนุษย์จากชีวิต''' (ฆ่าคน) หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่พูดพรรณาคุณแห่งความตายแก่ร่างกายมนุษย์ให้คนนั้นๆยินดีที่จะตาย(โดยเจตนาหวังให้ตาย)
# '''กล่าวอวด[[อุตริมนุสธรรม]]'''ที่ไม่จริง อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)
 
อาบัติปาราชิกทั้ง 4 นี้เป็นอาบัติหนักที่เรียกว่า อเตกิจฉา คือไม่สามารถแก้ไขได้เลย
 
==โทษของอาบัติปาราชิก==
พระภิกษุต้อง[[อาบัติ]]ปาราชิกสี่ข้อใดข้อหนึ่ง แม้จะไม่กล่าวลาสิกขาบท ก็ถือว่าขาดจากความเป็นพระ[[ภิกษุ]]ทันที เมื่อความผิดสำเร็จ เมื่อขาดจากความเป็นพระแล้วก็ถือว่าไม่ใช่พระก็จะไม่สามารถอยู่ร่วมกับภิกษุอื่นหรือคณะหมู่สงฆ์ได้เลย นอกจากนั้นจะไม่สามารถกลับเข้ามาบวชใหม่ได้เลยตลอดชีวิต แม้จะบวชเข้ามาได้ก็ไม่ใช่พระพระภิกษุที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และไม่อาจเจริญในพระธรรมวินัยจนไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานใดๆเลย เพราะเป็นมุลเฉทคือ ตัดรากเหง้า เปรียบเสมือนคนถูกตัดศรีษะ เป็นตาลยอดด้วน
 
== อ้างอิง ==