ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทอกอนโทโมร์ ข่าน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
 
==รัชสมัย==
เมื่อพระจักรพรรดิโทคนเตมือร์ทรงขึ้นครองราชสมบัติแล้วด้วยพระชนมายุเพียงสิบสามพระชันษา จึงจำต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนคือไทเฮาพูดาชีรีและเอลเตมือร์ ปรากฎว่าอำนาจในการปกครองนั้นตกอยู่แก่ฐานะผู้สำเร็จราชการแทนเอลเตมือร์แทบทั้งสิ้นมีอำนาจมากมายล้นฟ้า จักรพรรดิโทคนเตมือร์ทรงอภิเษกกับพระจักรพรรดินีทานาชีรี (Danashiri) ซึ่งเป็นธิดาของเอลเตมือร์ และเนื่องจากจักรพรรดิยังทรงไม่มีพระโอรส เอลเตมือร์จึงพลักดันให้พระจักรพรรดิโทคนเตมือร์ทรงแต่งตั้งเจ้าชายเอลเตกูส พระโอรสของพระจักรพรรดิเหวินจงทูคเตมือร์ เป็น''ไท่จื่อ''หรือเจ้าชายรัชทายาท ในปีต่อมา[[ค.ศ. 1333]] เอลเตมือร์ถึงแก่อสัญกรรม อำนาจจึงถูกถ่ายทอดให้แก่ทังกีช (Tangkish) ผู้เป็นบุตรชาย ใน[[ค.ศ. 1335]] ทังกีชก่อการกบฎหมายจะยึดราชบัลลังก์มาให้แก่เจ้าชายรัชทายาทเอลเตกูส แต่ขุนพลบายันแห่งเมอร์กิตได้ให้การสนับสนุนจักรพรรดิโทคตเตมือร์คนเตมือร์และยกทัพเจ้าปราบกบฎของทังกีชได้สำเร็จ ทังกีชถูกประหารชีวิตและจักรพรรดินีทานาชีรีถูกปลดจากตำแหน่งและเนรเทศ ต่อมาภายหลังบายันแห่งเมอร์กิตได้ส่งคนไปลอบวางยาพิษปลงพระชนม์อดีตพระจักรพรรดินีทานาชีรีสิ้นพระชนม์
 
ผลงานการปราบกบฏของทังกีชในค.ศ. 1335 โดยขุนพลบายันแห่งเมอร์กิต ทำให้บายันขึ้นมามีอำนาจสูงสุดในราชสำนักหยวน ช่วงเวลาแห่งการปกครองของบายันนั้นเป็นช่วงเวลาแห่งการกดขี่สำหรับชาวจีน ด้วยเหตุที่บายันมีความเห็นว่าราชสำนักหยวนในขณะนั้นถูกอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนเข้าครอบงำและกำลังจะสูญเสียวิถีชีวิตอย่างชาวมองโกลไป บายันแห่งเมอร์กิตจึงมีนโยบายลดบทบาทของวัฒนธรรมจีนลง โดยการยกเลิกการสอบ[[จอหงวน]] (ซึ่งได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาในสมัยของ[[จักรพรรดิหยวนเหรินจง]]) นโยบายแบ่งแยกชนชาติระหว่างชาวมองโกลและชาวจีน โดยการห้ามชาวจีนเรียนรู้ภาษามองโกล และห้ามชาวมองโกลเรียนรู้ภาษาจีน จนถึงขั้นมีการเสนอให้สังหารชาวจีนห้าแซ่ ได้แก่ แซ่จาง แซ่หวัง แซ่หลิว แซ่หลี่ และแซ่เจ้า ไปทั้งหมดเพื่อป้องกันการกบฎ แม้ว่านโยบายนี้จักรพรรดิโตคนเตมือร์จะทรงไม่เห็นด้วยก็ตาม [[ค.ศ. 1339]] บายันได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครเสนาบดี มีอำนาจล้นฟ้าอีกเช่นกัน พระจักรพรรดิโตคนเตมือร์เกรงว่าบายันจะเป็นภัยต่อพระองค์เอง จึงทรงสมคบคิดกับโทคโตคา (Toghtogha) ผู้เป็นหลานชายของบายัน ทำการยึดอำนาจมาจากบายันและสังหารบายันไปใน[[ค.ศ. 1340]]
 
ใน[[ค.ศ. 1340]] พระจักรพรรดิโตคนเตมือร์มีพระชนมายุมากเพียงพอที่จะว่าราชการได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีผู้สำเร็จราชการแทน จักรพรรดิโตคนเตมือร์จึงทรงเริ่มทำการแก้แค้นให้แก่พระบิดาคือจักรพรรดิหมิงจงกูซาลา โดยการปลดพระป้ายวิญญาณของจักรพรรดิเหวินจงทูคเตมือร์พระปิตุลาออกจากศาลบรรพกษัตริย์ ปลดไทเฮาพูดาชีรีออกจากตำแหน่งและเนรเทศออกจากพระราชวัง ซึ่งต่อมาไม่นานอดีตไทเฮาก็สิ้นพระชนม์ รวมทั้งปลดเจ้าชายเอลเตกูสออกจากตำแหน่งรัชทายาทและเนรเทศออกจากพระราชวังเช่นกัน ระหว่างที่เสด็จเนรเทศออกไปนั้นพระจักรพรรดิก็ทรงส่งคนไปทำการปลงพระชนม์อดีตเจ้าชายรัชทายาทเอลเทกูสสิ้นพระชนม์
 
เนื่องจากจักรพรรดิโตคนเตมือร์ทรงไม่ใส่พระทัยในกิจการบ้านเมืองเท่าใดนัก อำนาจการปกครองทั้งหลายจึงตกอยู่แก่โทคโตคา ใน[[ค.ศ. 1340]] เช่นกัน พระสนมชาวเกาหลีแซ่คี ซึ่งเป็นพระสนมองค์โปรด ได้ประสูติพระโอรสพระองค์แรก พระนามว่าเจ้าชายอายูร์ชีรีดาร์ (Ayurshiridar) ทำให้พระจักรพรรดิโตคนเตมือร์ทรงโปรดปรานพระสนมแซ่คีมากขึ้นไปอีก จนมีการแต่งตั้งให้พระสนมคีเป็น พระจักรพรรดินีเอิลเจย์คูตูค (Öljei Khutugh) หรือ [[จักรพรรดินีคี]] ([[ภาษาจีน]]: 奇皇后; [[ภาษาเกาหลี]]:기황후) แม้ว่าจักรพรรดิโตคนเตมือร์จะทรงมีจักรพรรดินีอยู่แล้วก็ตาม ทำให้ในขณะนั้นราชวงศ์หยวนจึงมีพระจักรพรรดินีพร้อมกันสองพระองค์
 
ตลอด 37 ปีแห่งการครองราชย์ทรงได้รับการต่อต้านอย่างหนักจาก[[ชาวจีน]] เนื่องจากเศรษฐกิจของจีนในยุคนั้นตกต่ำอย่างหนัก และชาวจีนเห็นว่าชาว[[มองโกล]]เป็นชาวต่างชาติ ประกอบกับราชสำนักเริ่มอ่อนแอลง ชาวจีนจึงก่อการกบฏไปทั่ว