ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทอกอนโทโมร์ ข่าน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ขาดอ้างอิง}}
[[ไฟล์:Yuan 惠宗.jpg|thumb]]
 
เส้น 9 ⟶ 8:
เหตุการณ์ทางฝ่ายเมืองต้าตู ใน[[ค.ศ. 1328]] เจ้าชายทูคเตมือร์ (Tugh Temür) ผู้เป็นพระอนุชาของเจ้าชายคูซาลา สามารถเข้ายึดบัลลังก์ราชวงศ์หยวนได้ด้วยการสนับสนุนของขุนพลเอลเตมือร์ (El Temür) และบายันแห่งเมอร์กิต (Bayan of the Merkit) เจ้าชายทูคเตมือร์ขึ้นครองราชสมบัติเป็น[[จักรพรรดิหยวนเหวินจง]] ([[ภาษาจีน]]: 文宗 Wenzong) และอัญเชิญพระเชษฐาเจ้าชายกูซาลาเสด็จนิวัตินครต้าตู เจ้าชายคูซาลาจึงเสด็จกลับต้าตูพร้อมกับเจ้าชายโทคนเตมือร์พระโอรส แต่ได้นำกองทัพจากอาณาจักรจักกาไทมาด้วย เจ้าชายคูซาลานำทัพเข้ายึดนครต้าตูจากพระอนุชาใน[[ค.ศ. 1329]] และขึ้นครองราชสมบัติแทนเป็น[[จักรพรรดิหยวนหมิงจง]] ([[ภาษาจีน]]: 明宗 Mingzong) จักรพรรดิหยวนหมิงจงอยู่ในราชสมบัติได้เพียงแปดเดือนก็ถูกเอลเตมือร์วางยาพิษปลงพระชนม์สวรรคต จักรพรรดิเหวินจงทูคเตมือร์พระอนุชาได้ราชบัลลังก์กลับคืนมาอีกครั้ง ส่งผลให้เจ้าชายโทคนเตมือร์พระชนมายุเพียงเก้าพระชันษาต้องถูกเนรเทศไปยัง[[อาณาจักรโครยอ]] (Goryeo) และต่อมาก็ถูกโยกย้ายไปยัง[[มณฑลกวางสี]]
 
พระจักรพรรดิเหวินจงทูคเตมือร์สวรรคตใน[[ค.ศ. 1332]] ก่อนจะสวรรคตจักรพรรดิเหวินจงทรงรู้สึกผิดต่อพระเชษฐาจักรพรรดิหมิงจงคูซาลา จึงมีพระราชโองการให้พระโอรสของจักรพรรดิหมิงจงสืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ (แม้ว่าจักรพรรดิเหวินจงจะทรงมีพระโอรสอยู่แล้วคือ เจ้าชายเอลเตกูส (El Tegus)) ซึ่งเป็นที่คัดค้านของเอลเตมือร์เนื่องจากตนเป็นผู้ปลงพระชนม์ชีพพระจักรพรรดิหมิงจง เกรงว่าถ้าพระโอรสของจักรพรรดิหมิงจงได้ขึ้นครองราชย์แล้วตนเองจะถูกลงโทษ อย่างไรก็ตามด้วยการสนับสนุนของไทเฮาพุดาชีรี (Budashiri) พระจักรพรรดินีในจักรพรรดิเหวินจง และเนื่องจากเจ้าชายโทคนเตมือร์ทรงถูกเนรเทศอยู๋ในดินแดนห่างไกล ราชสำนักจึงยกเจ้าชายรินชินบาล (Rinchinbal) พระอนุชาต่างมารดาของเจ้าชายโทคนเตมือร์พระชนมายุเพียงหกพระชันษาขึ้นครองราชสมบัติเป็น [[จักรพรรดิหยวนหนิงจง]] ([[ภาษาจีน]]: 寧宗 Ningzong) แต่ทว่าพระจักรพรรดิหนิงจงรินชินบาลอยู๋ในราชสมบัติได้เพียงสองเดือนก็ประชวรสวรรคต ไทเฮาพุดาชีรีจึงมีพระราชเสาวนีย์ให้เจ้าชายโทคนเตมือร์ทรงกลับมาครองราชย์เป็น '''พระจักรพรรดิหยวนฮุ่ยจงโทคนเตมือร์''' ในที่สุดใน[[ค.ศ. 1332]]
 
==รัชสมัย==
เมื่อพระจักรพรรดิโทคนเตมือร์ทรงขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ปรากฎว่าอำนาจในการปกครองนั้นตกอยู่แก่เอลเตมือร์แทบทั้งสิ้น จักรพรรดิโทคนเตมือร์ทรงอภิเษกกับพระจักรพรรดินีทานาชีรี (Danashiri) ซึ่งเป็นธิดาของเอลเตมือร์ และเนื่องจากจักรพรรดิยังทรงไม่มีพระโอรส เอลเตมือร์จึงพลักดันให้พระจักรพรรดิโทคนเตมือร์ทรงแต่งตั้งเจ้าชายเอลเตกูส พระโอรสของพระจักรพรรดิเหวินจงทูคเตมือร์ เป็น''ไท่จื่อ''หรือเจ้าชายรัชทายาท ในปีต่อมา[[ค.ศ. 1333]] เอลเตมือร์ถึงแก่อสัญกรรม อำนาจจึงถูกถ่ายทอดให้แก่ทังกีช (Tangkish) ผู้เป็นบุตรชาย ใน[[ค.ศ. 1335]] ทังกีชก่อการกบฎหมายจะยึดราชบัลลังก์มาให้แก่เจ้าชายรัชทายาทเอลเตกูส แต่ขุนพลบายันแห่งเมอร์กิตได้ให้การสนับสนุนจักรพรรดิโทคตเตมือร์และยกทัพเจ้าปราบกบฎของทังกีชได้สำเร็จ ทังกีชถูกประหารชีวิตและจักรพรรดินีทานาชีรีถูกปลดจากตำแหน่งและเนรเทศ ต่อมาภายหลังบายันแห่งเมอร์กิตได้ส่งคนไปลอบวางยาพิษปลงพระชนม์อดีตพระจักรพรรดินีทานาชีรีสิ้นพระชนม์
 
ตลอด 37 ปีแห่งการครองราชย์ทรงได้รับการต่อต้านอย่างหนักจาก[[ชาวจีน]] เนื่องจากเศรษฐกิจของจีนในยุคนั้นตกต่ำอย่างหนัก และชาวจีนเห็นว่าชาว[[มองโกล]]เป็นชาวต่างชาติ ประกอบกับราชสำนักเริ่มอ่อนแอลง ชาวจีนจึงก่อการกบฏไปทั่ว
เส้น 17 ⟶ 19:
 
จักรพรรดิหยวนฮุ่ยจง สวรรคตลงในอีก 2 ปีต่อมา เมื่อ พ.ศ. 1913 (ค.ศ. 1370) ขณะพระชนม์ได้ 50 พรรษา
 
{{ขาด==อ้างอิง}}==
*Denis C. Twitchett, Herbert Franke, John King Fairbank. ''The Cambridge History of China: Volume 6, Alien Regimes and Border States, 710-1368''. Cambridge University Press, 1994.
 
{{เริ่มกล่อง}}