ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาทิพุทธะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
CommonsDelinker (คุย | ส่วนร่วม)
ลบภาพ "Samantabhadra2.jpg", ซึ่งถูกลบที่คอมมอนส์โดย Jcb เพราะ Copyright violation: copyvio via (example) http://stefan11.livejournal.com/140718.html (2006) = http:/...
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Vajradhara7.jpg|thumb|right|250px|วัชระธารา[[พระวัชรธารพุทธะ]]]]
 
[[ไฟล์:Vajradhara7.jpg|thumb|right|250px|วัชระธารา]]
'''พระอาทิพุทธะ'''เป็น[[พระพุทธเจ้า]]ที่พบในคติความเชื่อของพุทธศาสนา[[มหายาน]]บางกลุ่ม ไม่พบในฝ่าย[[เถรวาท]] โดยเชื่อว่าอาทิพุทธะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรก กำเนิดขึ้นพร้อมกับโลก อยู่ในโลกชั่วนิรันดร์ เป็น[[พระผู้สร้าง]]สรรพสิ่งในโลก และเป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ประทับบนพรหมโลกชั้นอกนิฏฐ์ มีสถานะเสมอ[[ปรมาตมัน]]ใน[[ศาสนาฮินดู]]<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน">ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 15-16</ref>
 
== พุทธลักษณะ ==
อาทิพุทธะในนิกายดั้งเดิม[[ญิงมา]]ของทิเบต เป็นรูปบูชาพุทธะวรรณะหมายถึง[[พระสมันตภัทรโพธิสัตว์|พระสมันตภัทรพุทธะ]] มีพระวรกายสีน้ำเงิน ใน[[ปางสมาธิมุทรา]] ส่วนใหญ่ไม่ทรงศิราภรณ์ มาประทับคู่กับ[[ศักดิ]]ชื่อ[[อาทิธรรม]] ในนิกายใหม่เป็นรูปบูชาในปางวัชระธารา เป็นรูปพุทธะวรรณะคือ นิกาย[[กาจู]] [[สักยะ]] และ[[เกลุก]] หมายถึง[[พระวัชรธารพุทธะ]] ซึ่งมีพระวรกายสีน้ำเงิน ทรงศิริภรณ์ ถือวัชระในหัตถ์ซ้ายขวาไข้วไขว้เหนือพระอุราอุระ
 
== ประวัติการนับถือ ==
ความเชื่อเรื่องพระอาทิพุทธะเกิดขึ้นครั้งแรกราว[[พุทธศตวรรษที่ 15]] โดยคณาจารย์บางกลุ่มในมหาวิทยาลัย[[นาลันทา]]สร้างแนวคิดนี้ขึ้น<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน"/>เพื่อเทียบกับแนวคิดปรมาตมันในศาสนาฮินดูที่กำลังรุ่งเรืองในสมัยนั้น
 
การนับถืออาทิพุทธะแพร่ไปใน[[ประเทศเนปาล]] โดยพุทธศาสนานิกาย[[นิกายไอศวาริก]] ซึ่งเชื่อว่าอาทิพุทธะเกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดของโลก คือเมื่อโลกเกิดเป็นรูปร่าง อาทิพุทธะก็ปรากฏพระกายในแสงสว่าง ไม่อาจบอกเบื้องต้น และจุดสิ้นสุดของพระองค์ได้ ประทับอยู่บน[[พรหมโลก]]ชั้นที่ 13 เรียกอกนิษฐภูวนะหรืออกนิษฐพรหม อาทิพุทธะมีพระนามต่าง ๆ มากมาย ขึ้นกับแต่ละนิกาย นิกายไอศวาริกเรียกว่าอิศวร นิกาย[[นิกายสวาภาวิก]]เรียกว่า สวภาวะ ในเนปาลและ[[ทิเบต]] บางครั้งเรียกพระองค์ว่า "โยคัมพร" สร้างรูปเป็นปางบำเพ็ญทุกรกิริยา มี[[ศักติ]]คือ ฌาเนศวร
 
ใน[[ญี่ปุ่น]]และ[[จีน]] ไม่นิยมนับถืออาทิพุทธะ แต่นับถือ[[พระธยานิพุทธะ]] 2 องค์คือ[[พระอมิตาภพุทธะ]]กับ[[พระไวโรจนพุทธะ]]ว่าเป็นพระพุทธเจ้าสูงสุด และไม่ถือว่าพระพุทธเจ้าเหล่านี้มีศักติเช่นในเนปาลหรือทิเบต