ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จรัล มโนเพ็ชร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
not necessary
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ไม่เป็นสารานุกรม}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{กล่องข้อมูล นักแสดง
| bgcolour =
| name = จรัล มโนเพ็ชร
| image = 14764083dt2.jpg
| imagesize =
| caption =
| birthname = จรัล มโนเพ็ชร
| birthdate = [[1 มกราคม]] [[พ.ศ. 2498]]
| location = [[จังหวัดเชียงใหม่]] {{flagcountry|ไทย}}
| deathdate = {{วันตาย-อายุ|2544|9|3|2498|1|1}}
| deathplace = [[จังหวัดลำพูน]] {{flagcountry|ไทย}}
| othername =
| yearsactive =
| spouse =
| homepage =
| occupation = นักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง นักแสดง
| notable role = ''ด้วยเกล้า''
| academyawards =
| emmyawards =
| tonyawards =
| ตุ๊กตาทอง =
เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม<br>
[[พ.ศ. 2531]] - ''[[บุญชูผู้น่ารัก]]''<br>
[[พ.ศ. 2532]] - ''[[บุญชู 2 น้องใหม่]]''<br>
| สุพรรณหงส์ =
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม<br>
[[พ.ศ. 2530]] - ''[[ด้วยเกล้า]]''
| ชมรมวิจารณ์บันเทิง =
นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม<br>
[[พ.ศ. 2534]] - ''[[เวลาในขวดแก้ว]]'' (เข้าชิง)
| โทรทัศน์ทองคำ =
| เมขลา =
| imdb_id = 0543599
| thaifilmdb_id = 02047
}}
 
'''จรัล มโนเพ็ชร''' ([[1 มกราคม]] [[พ.ศ. 2498]]<ref>[http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9520000129708 จรัล มโนเพ็ชร(1) : กำเนิด]</ref> — [[3 กันยายน]] [[พ.ศ. 2544]]) เป็น[[ศิลปิน]]ชาวไทย ผู้เป็นทั้ง[[นักร้อง]] [[นักดนตรี]] [[นักแต่งเพลง]] และ[[นักแสดง]] ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัย
 
งานดนตรีของจรัลมีเอกลักษณ์จากการสร้างสรรค์ภาษาถิ่นเหนือ '''[[คำเมือง]]''' ของเขาซึ่งถูกเรียกว่า “[[โฟล์คซองคำเมือง]]”
ที่ก่อเกิดขึ้นนับแต่ปี [[พ.ศ. 2520]] และได้รับความสนใจจนเป็นที่ยอมรับ และกลายเป็นแบบอย่างบนแนวทางดนตรีท้องถิ่นร่วมสมัยในปัจจุบัน
 
โฟล์คซองคำเมืองของจรัลไม่เพียงได้รับความนิยมชมชอบจากชาวเหนือหรือชาว[[ล้านนา]] ซึ่งเข้าใจภาษาคำเมืองภาษาท้องถิ่นของตน
แต่ยังเป็นที่ชื่นชอบของชาวไทยภาคอื่น ๆ ไปจนถึงชาวต่างชาติที่สนใจในศิลปะการดนตรี
เอกลักษณ์ของเขาทั้งในการแต่งเพลง ร้องเพลง และเล่นดนตรี ทำให้จรัลได้รับการยกย่องให้เป็น “ราชาโฟล์คซองคำเมือง” จรัลแต่งเพลงไว้กว่าสองร้อยเพลงในช่วงเวลาราวยี่สิบห้าปีของชีวิตศิลปินของเขา เป็นบทเพลงที่งดงามด้วยการใช้ภาษาเยี่ยงกวี จนทำให้เขาได้รับโล่ห์ประกาศเกียรติคุณจาก[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี]]
เมื่อปี [[พ.ศ. 2537]] ในฐานะ “บุคคลดีเด่นทางด้านการใช้ภาษา”
 
แม้จรัลจะเสียชีวิตไปแล้วแต่บทเพลงของเขานับร้อยเพลงนั้นยังคงเป็นอมตะ ผู้คนยังคงฟังเพลงของเขาอยู่ไม่เสื่อมคลาย
เส้น 52 ⟶ 53:
ชื่อ '''สิงห์แก้ว มโนเพ็ชร''' ส่วนแม่ชื่อ '''เจ้าต่อมคำ (ณ เชียงใหม่) มโนเพ็ชร''' สืบเชื้อสายมาจากราชตระกูล [[ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)|ณ เชียงใหม่]]
 
จรัลเกิดเมื่อวันที่ [[1 มกราคม]] [[พ.ศ. 2498]])<ref>[http://www.9dern.com/rsa/view.php?id=131 จรัล มโนเพ็ชร#1 : ประวัติชีวิตและผลงาน]</ref> เป็นลูกคนที่สอง มีพี่น้องชายหญิงรวมทั้งหมด 7 คน
ครอบครัวเป็นชนชั้นกลาง มีชีวิตเรียบง่ายสมถะตามแบบวิถีชีวิตชาวเหนือทั่วไป ใฝ่ใจใน[[พุทธศาสนา]] ทั้งพ่อและแม่ของจรัลจะไปทำบุญและร่วมงานพิธีทางศาสนาอยู่เสมอที่วัดใกล้บ้าน คือ วัดฟ่อนสร้อย ซึ่งเป็นวัดที่ครอบครัวนี้มีศรัทธาอย่างยิ่ง
ด้วยครอบครัวมโนเพ็ชรเป็นครอบครัวใหญ่ พ่อของจรัลจึงต้องหารายได้พิเศษ ความที่เป็นคนมีฝีมือในด้านงานศิลปะ[[หัตถกรรม]]ท้องถิ่นที่สืบทอดตกมาจากบรรพบุรุษชาวเหนือ ทั้งการเขียนรูป และการแกะสลักไม้
เส้น 63 ⟶ 64:
ซึ่งในเวลานั้นยังมีอยู่เพียงไม่กี่แห่ง แนวดนตรีที่เขาชอบเป็นพิเศษคือดนตรี[[โฟล์ค]] [[คันทรี]]
และ[[บลูส์]] ที่ต่อมาได้กลายเป็นแรงบันดาลใจและมีอิทธิพลอย่างยิ่งในการแต่งเพลงของเขา
เมื่อจบการศึกษาจากวิทยาลัย จรัลเข้าทำงานรับราชการเป็นงานแรกที่แขวงการทางอำเภอพะเยา
(เวลานั้น[[พะเยา]]ยังไม่ได้รับการยกให้เป็นจังหวัดเหมือนในปัจจุบัน) ต่อมาจึงย้ายไปทำงานที่บริษัทไทยฟาร์มมิ่ง
เส้น 69 ⟶ 70:
ตามโรงแรมและคลับบาร์ในเชียงใหม่
 
ต่อมาใน ปี [[พ.ศ. 2520]] เมื่อบทเพลงโฟล์คซอง[[คำเมือง]]ของเขาเผยแพร่ไปทั่วประเทศ เพลงที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือเพลงที่ชื่อ
[[อุ๊ยคำ]] ซึ่งเวลานั้นเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากบทเพลงของ ปีเตอร์ พอล แอนด์ แมรี นอกจากนั้นยังมีศิลปินต่างชาติอีกหลายคนที่เป็นต้นแบบการเล่นดนตรีของจรัล เช่น
[[บ็อบ ดีแลน]], [[จอห์น เดนเวอร์]], นิตตี้ กริทที้ เดิร์ท แบนด์, วิลลี่ เนลสัน, จิม โครเชต์
และ [[พอล ไซมอน]] & [[อาร์ท การ์ฟังเกล]] ซึ่งส่งผลไปถึงการทำงานโฟล์คซองคำเมืองอันเป็นดนตรีในรูปแบบของจรัลเอง
 
จรัลก็เหมือนวัยรุ่นทั่วไปในยุคนั้นที่ได้ยินได้ฟังดนตรีจากอเมริกาและอังกฤษที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยตามสมัยนิยม
เส้น 81 ⟶ 82:
 
=== ยุคแรก ===
บทเพลงคำเมืองของเขาแพร่กระจายไปทั่วในปี [[พ.ศ. 2520]] แต่บรรดาครูเพลงในล้านนาที่จรัลมักเรียกว่า
ฤๅษีทางดนตรี ต่างก็พากันวิพากษ์วิจารณ์งานของเขาซึ่งแปลกแตกต่างไปจากดนตรีล้านนาที่เคยได้ยินได้ฟังกันมา
เพราะจรัลใช้[[กีตาร์]] และ[[แมนโดลิน]]มาแทนเสียง[[ซึง]] ใช้[[ขลุ่ย]]ฝรั่งแทนขลุ่ยไทย และเขายังใช้เครื่องดนตรีสมัยใหม่อีกมากมายมาบรรเลงบทเพลงเก่าแก่ของล้านนาตามแบบฉบับโฟล์คซองคำเมืองของเขา
เส้น 89 ⟶ 90:
จรัลได้รับการยกย่องอย่างสูงว่าเป็นนักแต่งเพลงฝีมือเยี่ยม ที่แม้บรรดาศิลปินเพลงด้วยกันต่างก็ยอมรับ
เขาเชียวชาญการแต่งเพลงหลายรูปแบบแต่ที่ยอดเยี่ยมที่สุดคือบทเพลงแบบบัลลาด ซึ่งเป็นบทเพลงที่บอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนของท้องถิ่นล้านนาอันเป็นบ้านเกิดของเขา
จรัลพูดถึงการแต่งเพลงเองร้องเพลงเองของเขาว่า….. '“มันเป็นงานที่เป็นตัวตนจริงๆแท้ๆจากใจ
ในเมื่อผมเป็นนักร้องแต่ไม่อยากร้องเพลงของคนอื่น ผมจึงต้องเขียนเพลงของตัวเอง เป็นเพลงที่ผมอยากร้อง
มันทำให้ได้เป็นตัวของตัวเองเต็มที่ ไม่ต้องอาศัยให้ใครมาสร้างภาพลักษณ์”'
เส้น 96 ⟶ 97:
กิจจา – คันถ์ชิด และเกษม รวมทั้งมักจะมีนักร้องหญิงชื่อ[[สุนทรี เวชานนท์]] ร่วมร้องเพลงด้วย
แต่ต่อมาทั้งหมดก็แยกทางกันไปตามวิถีของแต่ละคน น้องชายทั้งสามของเขาต่างก็ยังคงเล่นดนตรีและร้องเพลง
โดยที่ส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯนั่นเอง ส่วนสุนทรี เวชานนท์ แต่งงานกับชายชาว[[ออสเตรเลีย]]จึงโยกย้ายไปอยู่ต่างประเทศระยะหนึ่ง
เมื่อกลับมาเมืองไทยอีกครั้งก็ได้เกิดเรื่องความบาดหมางระหว่างจรัลกับสุนทรีจนทำให้ไม่อาจร่วมงานกันได้อีกต่อไป
จรัลเองถึงกับประกาศว่าจะไม่ขอขึ้นเวทีร้องเพลงร่วมกับสุนทรีอีก และเขาก็ได้ทำเช่นนั้นตราบจนวันตายจริงๆ
เส้น 104 ⟶ 105:
แต่ด้วยความสามารถอันสูงส่งของเขา งานดนตรีของจรัลกลับพัฒนายิ่งขึ้น โดยที่เขายังคงแต่งเพลงเอง
ร้องเอง เล่นดนตรีเอง และจรัลยังเรียบเรียงเสียงดนตรีเองอีกด้วย จนทำให้เขาได้รับรางวัลดนตรี
[[สีสันอวอร์ด]] ในปี [[พ.ศ. 2538]] โดยเป็นศิลปินชายเพียงคนเดียวที่ได้รับรางวัลถึงสามรางวัลในครั้งนั้น
นั่นก็คือในฐานะนักร้องชายยอดเยี่ยม จากเพลงศิลปินป่า อัลบั้มยอดเยี่ยม จากอัลบั้มชุดศิลปินป่า
และบทเพลงยอดเยี่ยมจากงานชุดศิลปินป่า
 
เมื่อจรัลโยกย้ายจากจังหวัดเชียงใหม่ไปอยู่ที่กรุงเทพฯ นอกจากมีกิจการร้านอาหารและทำงานเพลงแล้ว บางครั้งจรัลยังรับแสดงหนังและละคร อีกทั้งยังแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์และละครเหล่านั้นด้วย ความสามารถในด้านนี้ทำให้ต่อมาจรัลได้รับรางวัลทางด้านการแสดงอีกหลายรางวัลทีเดียว
ในปี [[พ.ศ. 2539]] เนื่องในวโรกาส[[พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙]] [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] มีการจัดทำดนตรีเรียกว่าดนตรีจตุรภาค
โดยรวบรวมนักดนตรีฝีมือเยี่ยมจากทั่วทุกภาคในประเทศมาแต่งเพลงเพื่อเฉลิมฉลองวโรกาสนี้
จรัลเองขณะนั้นมีอายุเพียงสี่สิบห้าปีเท่านั้นแต่ก็ได้รับเชิญในฐานะครูเพลงภาคเหนือ
เขาแต่งเพลงชื่อว่า '''[[ฮ่มฟ้าปารมี]]''' เป็นเพลงที่ไพเราะมาก จนทำให้ต่อมาแพร่หลายในวงกว้าง และในที่สุดสถาบันการศึกษาด้านศิลปะการดนตรีในจังหวัดเชียงใหม่
ได้นำเพลงนี้ไปใช้ประกอบการสอนในสาขานาฏศิลป์ด้วย และปัจจุบันนี้ได้มีผู้คิดท่าฟ้อนรำสำหรับบทเพลงนี้เช่นกัน
เรียกว่า ฟ้อนฮ่มฟ้าปารมี
ช่วงชีวิตการทำงานศิลปะการดนตรีของจรัลเริ่มในปี [[พ.ศ. 2520]] และสิ้นสุดลงในปี [[พ.ศ. 2544]]
เมื่อจรัลเสียชีวิตจากการที่หัวใจล้มเหลวฉับพลัน โดยที่ก่อนเสียชีวิตนั่นเองจรัลกำลังตั้งใจที่จะทำงานเพลงในโอกาสที่โฟล์คซองคำเมืองของเขายืนยาวมาถึงยี่สิบห้าปีแห่งการทำงานเพลง
เขาตั้งใจใช้ชื่อว่า '''25 ปี โฟล์คซองคำเมือง จรัล มโนเพ็ชร'''
 
=== การเสียชีวิต ===
ข่าวการเสียชีวิตของจรัลจากการที่หัวใจล้มเหลวฉับพลัน เมื่อย่ำรุ่งของวันที่ [[3 กันยายน]]
[[พ.ศ. 2544]] [[จังหวัดลำพูน]] สร้างความตื่นตะลึงไปทั่วประเทศ ผู้คนจำนวนมากจากทุกวงการเดินทางไปคารวะศพของเขา ซึ่งตั้งบำเพ็ญกุศลอยู่ที่[[วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร]]เป็นเวลาห้าวัน
พวงหรีดที่มีผู้นำไปแสดงความเคารพและคารวะศพของจรัลมีเป็นจำนวนมากจนกระทั่งไม่มีที่วาง
ทางวัดจึงต้องนำไปแขวนไว้บนกำแพงวัดทั้งด้านในและด้านนอก นายกรัฐมนตรีในเวลานั้นคือ
เส้น 134 ⟶ 135:
ก่อนเสียชีวิตไม่นานจรัล มโนเพ็ชร ได้รับเชิญจากรัฐบาลให้เป็นที่ปรึกษางานด้านวัฒนธรรม ซึ่งจรัลได้ตอบตกลงไปแล้ว แต่ก่อนที่การประชุมครั้งแรกจะเกิดขึ้นจรัลก็เสียชีวิตไปก่อน
 
==ผลงาน==
=== ผลงานดนตรี (พ.ศ. 2520 – 2544) ===
#โฟลค์ซองค์คำเมืองชุด 2 จรัล มโนเพ็ชร ท่าแพบรรณาคาร
เส้น 158 ⟶ 159:
# ล้านนาซิมโฟนี
 
=== ผลงานการแสดง (พ.ศ. 2520 – 2544) ===
==== ภาพยนตร์ ====
* ดอกไม้ร่วงที่แม่ริม
เส้น 172 ⟶ 173:
* รอยทางแห่งความฝัน
* ไม้ดัด
* [[หงส์เหนือมังกร]]
* [[ตะวันตัดบูรพา]]
* [[ขมิ้นกับปูน]]
เส้น 185 ⟶ 186:
=== ดนตรีประกอบภาพยนตร์และสารคดี ===
* ดนตรีประกอบสารคดีขององค์การยูนิเซฟ เพื่อรณรงค์ต่อต้านการประกอบอาชีพโสเภณีของสาวเหนือ
* ดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่อง บุญชูผู้น่ารัก ภาค 1-8 ในภาค9 เป็นหน้าที่ของ ยืนยง โอภากุล
* ดนตรีประกอบสารคดีโทรทัศน์ ชุดพุกามประเทศ-เชียงตุง-อาณาจักรล้านนา
* ดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่อง เขาชื่อกานต์
เส้น 206 ⟶ 207:
* จาก [[สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ]] รางวัลบทเพลงดีเด่น 3 รางวัล คือในปี พ.ศ. 2524-2525 และ 2536
* [[รางวัลตุ๊กตาทอง]]เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม [[บุญชูผู้น่ารัก]] ปี พ.ศ. 2530 และจาก[[บุญชู 2 น้องใหม่]] ปี พ.ศ. 2532
* รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น[[สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล]] ปี [[พ.ศ. 2532]]
* รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น[[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ|วิทยาเขตภาคพายัพ]] ปี พ.ศ. 2532
* [[รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ]]ในฐานะแสดงนำชายยอดเยี่ยมเรื่อง[[ด้วยเกล้า (ภาพยนตร์)|ด้วยเกล้า]] เมื่อปี พ.ศ. 2530
* โล่ห์เกียรติยศจาก[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา]]ในฐานะบุคคลดีเด่นทางด้านการใช้ภาษา ปี พ.ศ. 2537
* รางวัลจาก[[ชมรมวิจารณ์เพลงแห่งประเทศไทย]] ในเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง[[วิถีคนกล้า]]
* ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมสาขาศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้าน ปี พ.ศ. 2540 จากสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่
* [[รางวัลสีสันอวอร์ด]] 3 รางวัล เมื่อปี พ.ศ. 2538 ในฐานะนักร้องนำชายยอดเยี่ยม, บทเพลงยอดเยี่ยม และอัลบั้มยอดเยี่ยม ทั้งหมดมาจากงานดนตรีชุด [[ศิลปินป่า]]
* รางวัลพิฆเนศทองคำพระราชทานครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2539 จากเพลงชุด ศิลปินป่า
* รางวัลจาก[[ชมรมสภาวะแวดล้อมสยาม]] จากงานชุด ศิลปินป่า
* รางวัลจาก[[สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ]]
เส้น 228 ⟶ 229:
 
{{เกิดปี|2498}}{{ตายปี|2544}}
[[หมวดหมู่:นักร้องไทย]]
[[หมวดหมู่:นักแต่งเพลงชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:นักดนตรีชาวไทย]]