ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สรวปัลลี ราธากฤษณัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Addbot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating 1 interwiki links, now provided by Wikidata on d:q156349 (translate me)
ป้ายระบุ: ลบลิงก์ข้ามภาษา
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
บรรทัด 17:
| signature =
| footnotes =
'''อ่านข้อมูลทั้งหมดได้ที่'''[http://bubeeja.blogspot.com/2014/01/blog-post_27.html บู๋บี๋จร้า]
ชีวประวัติ
ราธกฤษณัน มีชื่อเต็มว่า สรฺเวปัลลิ
ราธกฤษณัน เกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2431 ในตระกูลพราหมณ์เตลูกุ ที่ยากไร้ตระกูลหนึ่ง ณ ตำบลติรุตตานี (ปัจจุบันอยู่ในรัฐอันธรประเทศ) ขณะนั้นจะมีคนใดบ้างหรือไม่ที่คาดคิดว่า หนูน้อยเตลูกุคนนี้เมื่อโตขึ้นนั้นจะได้เป็นนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ที่ทั่วโลกยอมรับนับถือ และมีตำแหน่งทางการเมืองสูงสุดของประเทศ คือเป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ของอินเดีย
}}ท่านได้รับการศึกษาจากมัทราสคริสเตียนวิทยาลัย (Madras Christian College) พวกมิชชันนารี ชาวเยอรมันในเมืองมัทราสอินเดียตอนใต้ ขณะศึกษาอยู่ที่นี้ ครูชาวคริสต์ได้วิจารณ์หลักความเชื่อในศาสนาฮินดูอย่างเสียๆหายๆ จนท่านทนฟังไม่ได้ จนมุมานะศึกษาค้นคว้าหลักคำสอนในศาสนาฮินดูจนมีความรู้กว้างขวางและได้โต้ตอบกับครูผู้วิจารณ์คนนั้นอย่างกล้าหาญชาญฉลาด เหตุการณ์นี้เองเป็นมูลเหตุให้ท่านสนใจศึกษาค้นคว้าหลักศาสนาและปรัชญาทั้งของตะวันออกและตะวันตก จนกลายเป็นนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ ได้รับเชิญไปสอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในอินเดียและต่างประเทศ เช่น อังกฤษและอเมริกา
 
พ.ศ. 2452-2460 สอนวิชาปรัชญาในมหาวิทยาลัยมัทราส ขณะสอนอยู่ในปี 2456 รพินทรนาถ ฐากุร ได้รับรางวัลโนเบลซึ่งเป็นข่าวที่คนอินเดียภาคภูมิใจมาก ดร.ราธกฤษณัน ก็ได้แสดงความชื่นชมโดยเรียบเรียงและตีพิมพ์หนังสือเป็นเกียรติแก่รพินทรนาถ ฐากุร เล่มหนึ่งให้ชื่อว่า ปรัชญาของรพินทรนาถ ฐากุร (The Philosophy of Rabindranath Tagore) ปรากฏว่าเป็นหนังสือที่นิยมอ่านกันแพร่หลายมาก
}}
 
พ.ศ. 2461-2464 ย้ายไปสอนวิชาปรัชญาที่มหาวิทยาลัยไมเซอร์ ซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลกันนัก
 
พ.ศ. 2464-2474 ย้ายไปสอนวิชาปรัชญาที่มหาวิทยาลัยกัลกัตตา รัฐเบงกอล ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของอินเดีย ขณะสอนอยู่ที่นี้ท่านได้เขียนหนังสือปรัชญาอินเดียสำเร็จ และตีพิมพ์ออกเผยแพร่เป็นหนังสือ 2 เล่มจบ ว่าด้วยประวัติและสาระของปรัชญาอินเดีย นับเป็นหนังสือที่ได้รับความสนใจมากและใช้สอนกันในมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วอินเดียตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
 
พ.ศ. 2474-2479 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิการบดี (Vice Chancellor) ของมหาวิทยาลัยอันธระ ของรัฐอันธรประเทศ และในปี 2474 นั้นเอง พระเจ้าจอร์จ ที่ 5 แห่งอังกฤษ ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น Sir
 
พ.ศ. 2479-2482 ได้รับเชิญไปสอนวิชาศาสนาและจริยศาสตร์ตะวันออกที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
 
พ.ศ. 2482-2490 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยพาราณสี รัฐอุดรประเทศ และเป็นผู้บรรยายวิชาปรัชญาด้วย
 
ในพ.ศ. 2490 นั่นเอง ประเทศอินเดียได้รับเอกราช ท่านได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญด้วย
 
อนึ่งระหว่าง พ.ศ. 2490-2495 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนอินเดียประจำองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และได้รับเลือกเป็นประธานกรรมการบริหารองค์การนั้นในปี 2492 และ 2495
 
พ.ศ. 2492-2495 ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำสหภาพโซเวียต
 
ในพ.ศ. 2495 หลังจากพ้นตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำสหภาพโซเวียตแล้ว ท่านดีรับเลือกเป็นรองประธานาธิบดี จนถึงวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 ก็ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสืบแทน ดร.ราเชนทรประสาท ประธานาธิบดีคนแรกของอินเดีย
 
พ.ศ. 2496-2505 ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเดลี
 
พ.ศ. 2510 ท่านลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีและถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2518 รวมอายุได้ 85 ปี 7 เดือน 9 วัน
แนวความคิดทางปรัชญา
 
จากชีวประวัติข้างต้น ทำให้เราพอมองเห็นได้ว่า ดร.ราธกฤษณัน มีความรู้ทางศาสนาและปรัชญาอย่างแตกฉาน โดยเฉพาะศาสนาและปรัชญาฮินดู ท่านสนใจมากเป็นพิเศษ ผลงานต่าง ๆ ของท่านแสดงออกอย่างชัดแจ้งว่า ท่านต้องการอธิบายขยายความเชิงเปรียบเทียบกับศาสนาและปรัชญาตะวันตก เพื่อให้ชาวตะวันตกเข้าใจแนวความคิดของท่าน แม้จะเดินตามนักปราชญ์ชาวอินเดียรุ่นก่อนๆ เช่น ท่านศังกราจารย์ แต่ก็มีหลายแบบหลายอย่างที่ท่านเสนอขึ้นใหม่ และ เป็นของท่านเอง
 
แนวความคิดทางปรัชญาของดร.ราธกฤษณัน ที่โดดเด่นพอสรุปได้ดังนี้
1. มีทรรศนะมองโลกในแนวกว้าง
 
 
 
2. มีทรรศนะแนวสังเคราะห์ คือ รวมศาสนาและปรัชญาของตะวันออกให้เข้ากับตะวันตก รวมเจตนิยมและมนุษยนิยมของตะวันออกให้เข้ากับของตะวันตก
 
3. มีใจกว้างยอมรับอิทธิพลของวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และค่านิยมของโลกตะวันตก โดยถือเอามาเป็นแนวอธิบายหลักปรัชญาของท่าน
 
4. แนวโน้มทางปรัชญาที่สำคัญที่สุด คือ พัฒนาแนวจิตนิยมสัมบูรณ์ของอไทวตะ เวทานตะ ซึ่งถือหลักเอกนิยม เป็นจิตนิยมสัมบูรณ์แบบพลวัต คือ ยอมรับความจริงและความหมายของประสบการณ์หลายระดับหลายแง่
 
แนวความคิดทางปรัชญาของ ดร.ราธกฤษณัน ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากวรรณกรรมชั้นสูงของศาสนาฮินดู เช่น คัมภีร์พระเวท คัมภีร์อุปนิษัท คัมภีร์ภควัทคีตา ตลอดจนอรรถกถาของพรหมสูตรของท่านศังกราจารย์ ท่านรามานุช ท่านมัธวะ ท่านนิพารกะ เป็นต้น นอกจากนี้ คัมภีร์ของพุทธศาสนา เช่น ธรรมบท และคัมภีร์ศาสนาเชนก็มีอิทธิพลต่อท่านไม่น้อย คือ เป็นคัมภีร์ที่ทำให้ท่านมีทรรศนะกว้างไกลขึ้นกว่าทรรศนะทางศาสนาฮินดู ส่วนความรู้ทางตะวันตก ท่านได้รับอิทธิพลจากแนวคิดทางปรัชญาของเพลโต โพลตินุส ค้านต์ บรัดเลย์ แบร์กซอง และไวต์เฮด ในบรรดานักปรัชญาอินเดียร่วมสมัย ผู้ที่ท่านประทับใจมากที่สุด ได้แก่ รพินทรนาถ ฐากุร และคานธี ดังที่ท่านสารภาพออกมาว่า
 
“ในบรรดานักคิดชาวตะวันตก ข้อเขียนของเพลโต โพลตินุส คานต์ บรัดเลย์ และแบร์กซอง มีอิทธิพลต่อข้าพเจ้ามากที่สุด ข้าพเจ้ามีความสัมพันธ์ฉันมิตรกับท่านรพินทรนาถ ฐากุล และท่านคานธี ซึ่งเป็นนักคิดร่วมสมัยชาวอินเดียผู้ยิ่งใหญ่ของข้าพเจ้านานเกือบ 30 ปี และข้าพเจ้าตระหนักถึงความสำคัญใหญ่หลวงที่ท่านให้แก่ข้าพเจ้า”
 
นอกจากได้รับอิทธิพลภายนอกดังกล่าวแล้ว แนวความคิดทางปรัชญาของ ดร.ราธกฤษณัน ยังออกมาจากอิทธิพลภายในตัวท่านอีกและเป็นอิทธิพลที่สำคัญที่สุด นั่นคือ ประสบการณ์ทางศาสนาของท่าน เพราะท่านใช้ประสบการณ์ทางศาสนานี้เป็นข้อมูลทางปรัชญาของท่านมากที่สุด ผู้ศึกษาปรัชญาของท่านโดยรอบคอบ จะพบความจริงข้อนี้ได้เอง เพราะฉะนั้น ปรัชญาของท่านจึงเรียกกันว่าปรัชญารหัสยะ (a mystic philosophy)
หลักปรัชญา
 
1. แนวโน้มทางปรัชญาสมัยใหม่ที่มีต่อศาสนา
 
ดังกล่าวไว้แล้วว่า ปรัชญาของดร.ราธกฤษณัน ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งประสบการณ์ทางศาสนา ท่านจึงต้องการปกป้องศรัทธาทางศาสนาให้คงอยู่ โดยพิจารณาข้อโต้แย้งต่างๆ ที่ได้คัดค้านศาสนา แล้วให้ข้อวินิจฉัยว่า ข้อโต้แย้งเหล่านั้นมีเหตุผลฟังได้หรือไม่ เนื่องจากสมัยนี้ เป็นสมัยแห่งเหตุผล ซึ่งแน่นอนจะต้องมีข้อขัดแย้งกับศาสนาที่นับถือกันสืบมาเป็นประเพณี และเคยเจริญรุ่งเรืองอยู่ในสมัยกลาง แนวโน้มทางปรัชญาที่โต้แย้งกับศาสนา อาจจำแนกออกเป็นประเภทดังนี้
 
อเทวนิยมฝ่ายธรรมชาตินิยม (Naturalistic Atheism)
 
เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ คือผู้ให้ทรรศนะเกี่ยวกับอเทวนิยมฝ่ายธรรมชาติไว้ และพยายามจะล้มล้างความเชื่อหรือศรัทธาทางศาสนาทั้งปวงให้หมดสิ้นไป ในปรัชญาของเบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ กล่าวถึงโลกไว้ว่า โลกประกอบด้วยอะตอมหรือพลังงาน ซึ่งไม่แตกต่างกับส่วนประกอบของมนุษย์พลังงานอันไม่มีชีวิตจิตใจเหล่านี้แหละประกอบกันเข้าเป็นโลกหรือเอกภพ มนุษย์เป็นผลพลอยได้ของพลังงานเหล่านี้ โลกอาจสลายตัวลงได้เพราะธาตุธรรมชาติเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและแตกสลายออกจากกัน มนุษยชาติเป็นสัตว์ที่โง่เขลาเบาปัญญา เกรงกลัวไม่กล้าเผชิญหน้ากับความจริง คือความเจ็บ ความตาย และความพินาศฉิบฉาย พวกเขาจึงสร้างศาสนาขึ้นเพื่อปลุกปลอบใจให้หลบหนีความจริงของโลก คือ ความทุกข์และความพินาศฉิบหายดังกล่าว ความน่ากลัวของโลกก่อให้เกิดความกลัวขึ้นในมนุษย์ เบอร์ทรันด์ รัซเซลล์ กล่าวว่า “ทรรศนะของข้าพเจ้าในเรื่องศาสนา ก็คือทรรศนะของลูครีติอุส ข้าพเจ้าถือว่า ศาสนาเป็นเชื้อโรคอย่างหนึ่งเกิดความกลัว และเป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์ของมนุษย์” มนุษย์ไม่สามารถเผชิญหน้ากับความจริง เขาจึงคิดฝันสร้างพลังทิพย์ พระจิต และพระเป็นเจ้าขึ้นมา
 
ดร.ราธกฤษณันได้วิจารณ์ทรรศนะของอเทวนิยมดังกล่าวไว้ในหนังสือของท่านชื่อ An Idealist View of Life ตอนหนึ่งว่า “อเทวนิยมฝ่ายธรรมชาตินิยมนี้ ถือว่า ศาสนามี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ได้แก่ การนับถืออุดมคติ ว่าเป็นเพียงอุดมคติ และส่วนที่ 2 ได้แก่ การนับถือสิ่งที่ปรากฏจริงว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏจริงหรือสิ่งที่มีอยู่ ส่วนที่ 1 ว่าด้วยความดี แต่ไม่เกี่ยวข้องกับความมีอยู่ของวัตถุแห่งความดีนั้น และส่วนที่ 2 ว่าด้วยความมีอยู่ของวัตถุแห่งความดี แต่ไม่เกี่ยวข้องกับความดี” อุดมคติและคุณค่าทางศาสนาทั้งหลายล้วนเป็นเท็จโดยสิ้นเชิง คือเป็นเพียงอุดมคติไม่ใช้ความจริง
 
ท่านกล่าวต่อไปว่านักธรรมชาตินิยมนั้นไม่มีศรัทธาในชีวิต เขาเป็นทุทรรศนนิยมที่หาความสุขในโลกไม่พบ ตามทรรศนะของเขาโลกนี้เติมไปด้วยความทรมาน ความตาย โรคภัย และความเจ็บป่วยแต่พวกอเทวนิยมเหล่านี้มีความอดทน เขารู้สึกเฉยๆ ต่อความทุกข์และความทรมานทางกาย เขาสอนให้ทุกคนไม่ปรารถนาสิ่งใด ไม่กลัวอะไร ไม่ให้มีสมบัติอะไร และให้อดทนต่อความทุกข์ยากทั้งหลาย
 
เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์เห็นว่าศิลปะก็เป็นอีกหนึ่งที่มนุษย์คิดสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อหลบหลีกจากความน่ากลัวของความจริง ศิลปะอาจทำหน้าที่แทนศาสนาได้ เราจะต้องทิ้งศาสนา แล้วสร้างแหล่งหลบภัยหรือที่พึ่งอย่างอื่นขึ้นแทน เช่นศิลปะ ซึ่งอาจทำให้เราสงบระงับได้และอาจดึงใจเราให้ไปสนใจจดจ่ออยู่ศิลปะนั้นได้ ศิลปะอาจทำให้คนนึกฝันเห็นเทวสถานเล็กๆ แล้วสร้างขึ้น ณ ที่ที่เขาสามารถไปบุชาอุดมคติของเขาได้ตามต้องการ
 
ดร.ราธกฤษณันกล่าวถึงนักคิดพวกนี้ไว้หนังสือเล่มเดียวกันนั้นว่า “พวกอภิชนาธิปไตยทางพุทธิปัญญาของสมัยเรานับถือลัทธิอย่างหนึ่งเป็นลัทธิที่ผสมกันระหว่างทรรศนะต่างๆ ทางธรรมชาตินิยมลัทธิสโตอิก ลัทธิเปกัน (ลัทธิที่ไม่เชื่อถือศาสนา) และทุทรรศนนิยม”
 
ดร. ราธกฤษณันตั้งข้อสังเกตว่า อเทวนิยมฝ่ายธรรมชาตินั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานทางอภิปรัชญาที่ผิดๆ คือมุ่งแสดงเหตุผลมากกว่ามุ่งแสวงหาทางบรรลุความจริง เหตุผลที่ยกมาคัดค้านศาสนาเกิดจากความเลื่อมใสในศรัทธาและหลักการของศาสนานั้น ปัญญาขั้นเหตุผลไม่สามารถเข้าถึงได้ พวกนี้จึงไม่รู้ซึ้ง ดร. ราธกฤษณันจึงวิจารณ์ทรรศนะของอเทวนิยมฝ่ายธรรมชาตินิยมไว้ดังนี้
 
1. ลัทธินิยมแบบสโตอิกและเปกัน (the stoic-pagan creed) ของอเทวนิยมฝ่ายธรรมชาตินิยมนั้นยังอ่อนมาก (ฟังไม่ขึ้น) เพราะศรัทธาในชีวิตและโลกเป็นสารัตถะหรือเนื้อแท้ของมนุษย์ คนที่ถือว่าโลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์โศกโรคภัย จะไม่มีความหวังใดๆในโลกหน้าหรือกาลข้างหน้า เพราะเขาแจ้งจุดหมายปลายทางและอุดมคติของชีวิตดีแล้ว พวกอเทวนิยมฝ่ายธรรมชาตินิยมอยู่ในโลกนี้โดยปราศจากความหวังและประณิธาน มนุษย์เราย่อมจะหวังและตั้งประณิธานไว้เพื่อพัฒนาให้บรรลุถึงชีวิตที่สูงขึ้น เขาตระหนักดีว่าอะไรคือจุดหมายของเขาแล้วสร้างสรรค์โครงสร้างสังคมให้ดีขึ้น แต่พวกอเทวนิยมฝ่ายธรรมชาตินิยมนี้ขาดศรัทธาในเรื่องดังกล่าว
 
ดร.ราธกฤษณัน ให้ข้อสังเกตว่า ในโลกนี้มีกฎเกณฑ์และหลักเกณฑ์แต่ละหน่วยของธรรมชาติรวมกันได้ด้วยกฎเกณฑ์และหลักเกณฑ์ขั้นสูงของจักรวาล หน่วยของธรรมชาติหน่วยหนึ่งๆ สะท้อนให้เห็นถึงหลักเกณฑ์ของเอกภาพ เอกภพนี้คือจุลจักวาล ซึ่งสะท้อนให้เห็นมหาจักวาลหรือสากลจักรวาลได้ โลกทั้งโลกเป็นเอกภาพอย่างหนึ่ง เอกภพ ชีวิต และจิต ไม่ใช่สมบัติจรของระบบโลก แต่เป็นส่วนต่างๆของระบบโลกนั้น ดังที่ดร.ราธกฤษณัน กล่าวไว้ว่า “ถ้ามีกฎ มีระเบียบในเอกภพ ชีวิตจิตใจของเราก็ไม่ใช่เพียงสมบัติจรของเอกภพนั้น แต่ เราสัมพันธ์แนบแน่นอยู่กับเอกภพนั้นและมีถิ่นกำเนิดอยู่ในนั้นด้วย”
 
2. ที่พวกอเทวนิยมเห็นว่า โลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์โศก คนเราต้องการหลบหลีกหรือเอาศาสนาเป็นที่พึ่ง ศาสนาจึงเป็นที่พึ่งของผู้ไม่กล้าสู้คนจริง และอยู่อย่างคนเพ้อฝัน ดร.ราธกฤษณัน เห็นว่า พวกนี้ให้ภาพของโลกอย่างผิดๆ อันที่จริงโลกมีทั้งความสุขสำราญ ความดี ความทุกข์โศก มนุษย์หาได้ต้องการศาสนาเพื่อหนีหน้าความจริงไม่
 
ข้อเสนอของพวกอเทวนิยมที่ว่า ความสุขเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิตนั้น นักปรัชญาทั้งหลายไม่อาจยอมรับแน่นอน คนเราอยู่เพื่อจุดหมาย เป้าหมายจุดประสงค์ เราไม่ได้ถือว่าความสุขเป็นเป้าหมายของชีวิต เพราะในการดำเนินชีวิตเพื่อให้บรรลุจุดหมายนั้น เราก็ยินดีที่จะเผชิญกับความทุกข์ความลำบากนานาชนิดคนใดทำงานตามคำบงการของความสุขทางเนื้อหนังและเพื่อหลบหลีกทุกข์เท่านั้น คนนั้นชื่อว่ายังอยู่ในระดับต่ำ
 
3. ที่เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์กล่าวว่า ความกลัวเป็นบ่อเกิดของศาสนานั้นเป็นญัตติที่ผิดอย่างร้ายกาจ เราถามว่า อะไรเป็นของความกลัว คำตอบคือ สติปัญญาเป็นเหตุของความกลัว หมายความว่า มนุษย์เกรงกลัวธรรมชาติจะให้โทษ ก็เพราะเขาคิดเห็นด้วยสติปัญญาว่า ธรรมชาติเป็นศัตรูกับเขา ธรรมชาติแตกต่างไปจากเขาความคิดที่เป็นทวินิยมในเรื่องนี้แหละเป็นเหตุหรือบ่อเกิดของความกลัวนี้แสดงว่าสติปัญญาที่ไม่สมบูรณ์ที่มีความจำกัดนี้เองเป็นเหตุให้สร้างทวิภาพระหว่างตัวเรากับวัตถุหรือมนุษย์กับธรรมชาติ ศาสนาช่วยขจัดความกลัวโดยสอนให้รู้แจ้งตนว่า มีความผูกผันเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวระหว่างตัวเรากับธรรมชาติและสิ่งทั้งหลาย ศาสนาสอนให้เราเข้าใจธรรมชาติให้ลึกซึ้งกว่าสติปัญญาหรือพุทธิปัญญา เราจึงรู้ซึ้งถึงสัมพันธภาพระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เมื่อใดมนุษย์ได้ประสบการณ์ทางศาสนา เมื่อนั้นเขาจะรวมเข้ากับเอกภพอย่างแนบแน่น ความเห็นแบ่งแยกระหว่างตัวเขากับโลกจะสูญหายไปทันที
 
4. อเทวนิยม หาใช่ลัทธิที่ลึกซึ้งไม่ เป็นเพียงระดับสติปัญญาเท่านั้น คนที่มีความรู้ขั้นสติปัญญาหรือพุทธิปัญญานี้ไม่อาจเข้าถึงสัจธรรมชั้นสูงได้เลย สัจธรรมชั้นสูงนั้นต้องใช้ประสบการณ์ชั้นสูง เช่นโพธิญาณจึงจะเข้าถึงได้ ปรัชญาของเบอร์ทรันด์ รัสเซลล์หาได้พิสูจน์ถึงความล้นเหลวของมนุษย์ไม่ แต่พิสูจน์ถึงความไม่เพียงพอของพุทธิปัญญาที่จะเข้าถึงได้ ปรัชญาของเบอร์ทรันด์ รัสเซลล์หาได้พิสูจน์ถึงความล้มเหลวของมนุษย์ไม่ แต่พิสูจน์ถึงความไม่เพียงพอของพุทธิปัญญาที่จะเข้าถึงศาสนานั้นเอง
 
5. อเทวนิยมฝ่ายธรรมชาติคัดค้านความเชื่อเรื่องสวรรค์ในศาสนาซึ่งเป็นโลกที่อยู่เหนือและเลยธรรมชาติไป ในเรื่องนี้ ดร.ราธกฤษณันให้ความเห็นไว้ว่า ไม่มีการตัดแบ่งระหว่างธรรมชาติกับเหนือธรรมชาติ เพราะเหนือธรรมชาติไม่มีอะไรแตกต่างกับธรรมชาติ พระเป็นเจ้าหรือพรหมันหาได้ขัดแย้งกับธรรมชาติและหาใช่เป็นสัจธรรมที่แตกต่างกับธรรมชาติไม่ เพราะพรหมันสำแดงองค์ออกมาในธรรมชาติ ธรรมชาติจึงเป็นกายของพรหมัน ผู้เข้าถึงณานสมาบัติแล้ว จะขจัดเครื่องกีดขวางหรืออุปสรรคระหว่างอันติมสัจกับปรากฏการณ์และธรรมชาติกับจิต พรหมันหรืออันติสัจนี้สำแดงองค์ออกมาในรูปแบบต่างๆ ของธรรมชาติและจิต
 
อไญยนิยม (Agnosticism)
 
อไญยนิยม ถือว่ามนุษย์เราไม่สามารถเข้าถึงความลึกลับของศาสนาได้ ความจริงแท้ศาสนาจึงเป็นสิ่งที่ยังไม่มีใครรู้และรู้ไม่ได้แม้อไญยนิยมจะไม่ปฏิเสธว่า ความจริงไม่มีอยู่ก็ตาม แต่เขาก็เห็นว่าความรู้ที่จะเข้าถึงความจริงนั้นเป็นไปไม่ได้ มนุษย์ไม่รู้จักบ่อเกิดของชีวิตและเป้าหมายของชีวิต การเริ่มและการสิ้นสุดของชีวิตยังไม่มีใครรู้และรู้ไม่ได้ เรารู้จักโลกเพียงบางส่วน คือรู้ส่วนกลาง (ส่วนที่ปรากฏในปัจจุบัน ส่วนที่เป็นมาไม่ได้ปฏิเสธความจริงแท้หรืออันติมสัจนั้นมีสภาพเป็นอย่างไร
 
ดร. ราธกฤษณัน ถามว่า อไญยนิยมแน่ใจได้อย่างไรว่า ความจริงที่ยังรู้ไม่ได้ปัจจุบันจะยังคงเป็นสิ่งที่ใครๆ ไม่รู้และรู้ไม่ได้ไปตลอดกาล อาจมีผู้รู้ในอนาคตก็ได้ มนุษย์รู้ว่าเขาเป็นคนโง่แต่ก็มีเอกสิทธิ์พิเศษ อไญยนิยมกำหนดขอบเขตจำกัดของความรู้และความไม่รู้ของมนุษย์ขึ้นเอง ถ้าอไญยนิยมเชื่อว่าความรู้ที่เป็นอุดคติสามารถกลายเป็นจริงได้ ก็ไม่ควรห้อมมิให้คนมุ่งมั่นแสวงหาความรู้ในเรื่องความจริง
 
วิมตินิยม (Scepticism)
 
วิมตินิยม ตั้งข้อสงสัยในระบบปรัชญาต่างๆ ไม่ยอมรับว่า ระบบปรัชญาใดบ้างถูกต้องน่าเชื่อ เขาได้รับการอบรมให้เชื่อระบบความคิดระบบใดระบบหนึ่งเหมือนกัน แต่เขายังไม่พบว่า ระบบใดน่าเชื่อไม่ว่าปรัชญา ศาสนา ศิลปะ หรือรัฐศาสตร์ รบบความคิดที่เขาสนใจเป็นพิเศษ คือศาสนา แต่เนื่องจากเขาเห็นว่า ในขณะนี้ยังไม่มีศาสนาใดที่น่าเชื่อ เพราะยังมีที่สงสัยอยู่หลายประเด็น เขาจึงไม่เชื่อศาสนาใดเลย
 
สมัยของวิมตินิยมโดยทั่วไปเป็นสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อแห่งการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ เมื่อวัฒนธรรมเฮเลนเสื่อมสลายลง วัฒนธรรมซอปิสต์อุบัติขึ้น ระหว่างนั้นเอง วิมตินิยมก็เกิดขึ้นต่อต้านคัดค้านความเชื่อทางศาสนาที่สืบทอดกันมาเป็นปรัมปราประเพณี โดยมุ่งขจัดความเชื่ออันไม่มีเหตุผลเหล่านี้ แต่ดร.ราธกฤษณันให้ทรรศนะว่า ไม่มีวิมตินิยมใดคงความสงสัยไปตลอดกาล กล่าวคือ เมื่อเขาไม่ยอมรับความเชื่อเก่าๆ เขาก็คิดสร้างความเชื่อใหม่ขึ้นแทน หรือไม่ก็ยอมรับความเชื่อใหม่ๆ อื่นที่มีเหตุผลควรเชื่อ เพราะพวกวิมตินิยมทั่วไปก็มีใจรักความจริงและมุ่งแสวงหาความจริง ถ้าพบความจริงที่ตรงใจ ความสงสัยก็มลายไป วิมตินิยมของเขาก็ย่อมสุดสิ้นลง เช่นพวกโปรเตสแตนต์ที่ต่อต้านศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ในที่สุดเขาก็ตั้งนิกายขึ้นมาใหม่คือนิกายโปรเตสแตนต์ ข้อนี้แสดงให้เห็นชัดว่า การปฏิเสธไม่ใช่เป็นเพียงการปฏิเสธ แต่มีการบอกเล่าหรือการเสนอข่อคิดเห็นใหม่ขึ้นแทนที่ด้วยฉะนั้น วิมตินิยมที่ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการเพื่อพิสูจน์หาความจริง เป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ ดังเช่นที่เดส์กาตส์ใช้ได้ผลมาแล้ว
 
มนุษยนิยม (Humanism)
 
สมันใหม่เป็นสมัยแห่งเหตุผลและสมัยวิทยาศาสตร์ เป็นสมัยที่ผู้คนขจัดความเชื่อต่างๆ ทั้งที่เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์และความเชื่อทางศาสนา ตลอดจนความเชื่อตามตำรา โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์จะไม่ยอมเชื่อรากฐานหรือภูมิหลังของศาสนาใดๆเลย และไม่คิดสร้างศาสนาใหม่ที่ตรงกับใจของตนขึ้นมาแทนที่ด้วย ต่างกับพวกอไญยนิยมและพวกวิมตินิยม ซึ่งปฏิเสธศาสนาตามประเพณีนิยม แต่สร้างที่พึ่งทางใจขึ้นมาเอง นั่นคือ มนุษยนิยมแบบโลกียวิสัย (secular humanism) พวกนี้มีทรรศนะว่า โบสถ์ก็ดี จารีตประเพณีก็ดี พิธีกรรมก็ดี ความเชื่อต่างๆ ก็ดี ล้วนเป็นเท็จหรือไม่มีความหมาย มนุษย์เป็นผู้เจริญสูงสุดในโลก การยกระดับของมนุษย์ให้สูงขึ้น จำต้องอาศัยชีวิตแบบโลกๆ ที่สมบูรณ์ มีทรัพย์สมบัติมากพอและมีความเสมอภาคกัน โดยนัยนี้ พวกมนุษยนิยม จึงก้าวเลยวิมตินิยมไป กลายเป็นผู้มีแบบแผน ของชีวิตความเป็นอยู่ คือ ต้องการบริการมนุษย์ ต้องการสมภาพ ภราดรภาพ และเสรีภาพ มนุษยนิยมจึงเข้ามาแทนที่ศาสนาสำหรับผู้ไม่นับถือศาสนา ผู้เป็นนักเหตุผลนิยม และนักสังคมนิยมในสมัยปัจจุบัน
 
พวกมนุษยนิยมถือว่า ทฤษฎีทางศาสนานั้นเป็นเพียงการเก็งหรือการคาดคะเนความจริง หรือเป็นเครื่องมือมอมเมา คนยากไร้และคนชั้นต่ำ ความจริงของศาสนา เราไม่เชื่อว่ามีจริง แต่ชีวิตเรา เราเชื่อแน่ว่ามีจริง เราจึงต้องเคารพนับถือชีวิต ไม่เคารพศาสนา ไม่เคารพธรรมชาติ
 
พวกมนุษยนิยมถือว่า พระพุทธเจ้า ขงจื๊อ คานต์ พระเยซูคริสต์ และศาสดาของศาสนาอื่นๆ ตลอดจนผู้ก่อตั้งปรัชญา ล้วนเป็นนักมนุษยนิยมผู้ยิ่งใหญ่ทั้งนั้น
 
ดร.ราธกฤษณันได้วิจารณ์มนุษยนิยมไว้ดังนี้
 
(1) มนุษย์มีความปรารถนาจะเข้าถึงพระเป็นเจ้า เนื่องจากการได้มาซึ่งทรัพย์สมบัติที่เป็นวัตถุนั้นไม่อาจทำให้มนุษย์พึงพอใจ เขาจึงมีประณิธานที่จะเข้าถึงพระเป็นเจ้า คือติดต่อทางใจกับพระเป็นเจ้า และเปลี่ยนสภาพของจิต ชีวิต และร่างกายที่เป็นโลกีย์ให้กลายเป็นเทพมนุษยนิยมมุ่งสร้างมนุษย์แบบโลกียะคือ ให้สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ และมีบุคลิกภาพสูงขึ้น แต่มนุษย์ต้องการเพียงเท่านี้หรือก็เปล่า เขายังต้องการมากกว่านั้น คือต้องการพัฒนาบุคลิกภาพให้เป็นเทพและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระเป็นเจ้า เพลโต และอริสโตเติล ผู้กำเนิดมนุษยนิยมตะวันตก ก็ตระหนักดีว่า ความปรารถนาแห่งจิตนั้นไม่ อาจระงับได้ด้วยทรัพย์สมบัติทางวัตถุ
 
จิต (อาตมัน) ของมนุษย์เป็นภาวะนิรันดรเป็นอมตะ จุดหมายปลายทางของจิตจึงไม่ใช่ชีวิตนี้ ชีวิตเดียว มนุษย์เพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ที่ไม่สมบูรณ์นั้นต้องการบรรลุถึงความสมบูรณ์ คือภาวะที่จิตก้าวขึ้นสูงเหนือร่างกาย และพบความสงบสุขในการเข้าร่วมกับพระเป็นเจ้า จึงประสงค์จะพัฒนาจิตให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ในสังสารวัฎ ที่เรียกว่าเข้าถึงโมกษะ แต่มนุษยนิยมถือว่า มนุษย์ไม่สนใจกับกำเนิดทิพย์ของมนุษย์ ดังที่ ดร.ราธกฤษณันกล่าวว่า “กำเนิดของมนุษยภาวะอยู่ในโลกที่เรามองไม่เห็น (โลกทิพย์) และเป็นโลกเที่ยงแท้ถาวร จุดหมายของมนุษย์หาได้จำกัดอยู่แต่ช่วงเวลา ที่เขามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เท่านั้นไม่ มนุษนิยมก็คือ เหตุผลนิยมนั่นเอง และเพิกเฉยหลักการสำคัญในชีวิต ซึ่งไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยพุทธิปัญญา
 
มนุษย์จะเข้าถึงโมกษะหรือความหลุดพ้นจากสังสารวัฎได้ก็โดยปฎิบัติตามหลักการศาสนา มีปัญหาว่า มนุษย์ต้องการจะพ้นทุกข์ ต้องการมีชีวิตร่างกายละจิตใจเป็นเทพหรือไม่ ถ้าต้องการ ศาสนาเท่านั้นที่จะช่วยได้ ไม่ใช่มนุษยนิยม
 
(2) มนุษยนิยมเห็นว่า สิ่งที่จำเป็นต่อมนุษย์ คือ ระเบียบวินัย ความสมบูรณ์ และความประสานสอดคล้องกันในชีวิต แต่ ดร.ราธกฤษณัน เห็นว่า สิ่งทั้งสามนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์เข้าถึงพระเป็นเจ้าหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระเป็นเจ้าเท่านั้น มนุษยนิยมถือว่าแรงดลใจตามธรรมชาติ กับเจตจำนงทางศีลธรรมของมนุษย์ขัดกัน เข้ากันไม่ได้ คือ แรงบันดลใจตามธรรมชาติ เป็นภาวะพื้นฐานของจิตมนุษย์ ซึ่งจะถูกเจตจำนงทางศีลธรรมเข้าแย่งหรือปราบให้หลบหายไป ถ้า ไม่มีเจตจำนงทางศีลธรรมเหนี่ยวรั้งไว้ แรงดลใจธรรมชาติจะชักนำบุคคลให้หนีห่างไปจากศีลธรรม แต่ ดร. ราธกฤษณันถือว่า ทรรศนะเช่นนี้ไม่ถูกต้อง เพราะถ้าแรงดลใจทางธรรมชาติกับเจตจำนงทางศีลธรรม ขัดกันและต่างก็เป็นภาวะอิสระ จะไม่มีความสมบูรณ์ และความประสานสอดคล้องในชีวิต ดังที่มนุษยนิยมสอนให้มนุษย์พัฒนาให้มีขึ้นในชีวิต ดร.ราธกฤษนัน กลับเห็นว่า ไม่มีทวิภาพระหว่างภาวะทั้ง 2 ชนิดนี้จริงๆท่านเน้นว่า เจตจำนงทางศีลธรรมเท่านั้นเป็นภาวะที่มีและเป็นอย่างเดียวกับพระเป็นเจ้าในคน ฉะนั้น เจตจำนงทางศีลธรรมเท่านั้นเป็นภาวะที่มีและเป็นอย่างเดียวกับพระเป็นเจ้าในคน ฉะนั้น เจตจำนงทางศีลธรรมจึงเป็นตัวการทำให้จิต (อาตมัน) ชีวิต และร่างกาย รวมกันอย่างสอดคล้อง
 
(3) พวกมนุษยนิยมถือว่า ทางสายกลางเป็นวิถีชีวิตตามหลักจริยธรรม ถ้าจะให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างการประพฤติพรตอย่างเคร่งครัดกับการปล่อยตัวปล่อยใจไปตามความใคร่ ความปรารถนา นักมนุษยนิยมจะไม่เลือกทั้ง 2 อย่าง แต่จะเลือกเอาทางสายกลางระหว่าง 2 อย่างนั้น ซึ่งเขาถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด และเป็นการปฎิบัติตามหลักศีลธรรมโดยแท้ แต่ ดร.ราธกฤษณัน เห็นว่า ทางสายกลางนั้นไม่ใช่กำหนดโดยง่าย ส่วนมากจะเข้าใจสลับสับสนกัน คือแยกไม่ได้ว่า ตรงไหนเป็นทางสายกลางจริงๆ เช่น ระหว่าง ความดี กับ ความชั่ว ความถูก กับ ความผิด การฆ่าสัตว์ กับ ไม่ฆ่าสัตว์ ตรงไหนล่ะที่เป็นกลาง หรือ เช่นระหว่าง มากเกินไป กับ น้อยเกินไป ตรงไหนเป็นกลาง ดร.ราธกฤษณัน เห็นว่า ทางสายกลางบางทีมิใช่ทางที่ถูกต้องตามหลักศีลธรรมเสมอไป เช่น บางพวกถือว่า กฎแห่งการล้างแค้น เป็นทางสายกลางระหว่าง ความไม่รุนแรง กับ ความรุนแรง ซึ่งไม่ใช่กลางจริงๆ อนึ่ง ทางสายกลางของพวกพ่อค้า แม่ค้า ก็คงหาได้ยากยิ่ง ดร.ราธกฤษณัน จึงเห็นว่า ผู้ปฎิบัติตามหลักศาสนาจนได้สติปัญญาญาณเท่านั้น จึงจะกำหนด แยกทางสายกลางออกจากทางสุดโต่ง 2 สาย ได้อย่างแน่นอน
 
(4) มนุษยนิยมไม่สามารถขจัดความโศกเศร้า และความทุกข์ให้ถอนรากถอนโคนออกไปได้ เป็นแต่เพียงการสร้างสังคมขึ้นมาอีกสังคมหนึ่งที่ไม่ขาดแคลนวัตถุ แต่หนีความตายไม่พ้น จึงต้องมีทั้งทุกข์ทั้งโศก อยู่ตลอดไป นักศาสนา เช่น โสเครตีส และพระเยซูเท่านั้นที่มีความสุข ขณะเผชิญหน้ากับความตาย เพราะท่านเชื่อในอมตวิญญาณในคน
 
(5) มนุษยนิยมเกี่ยวข้องกับคุณค่า กล่าวคือสอนให้เห็นคุณค่า เป็นภาวะนิรันดร แต่ศาสนาสอนให้เห็นความสัมพันธ์คุณค่า กับสัจธรรม และความสัมพันธ์ระหว่างชีวิต มนุษย์กับภูมิหลังขั้นสุดท้ายของมนุษย์
 
(6) มนุษยนิยมที่บริสุทธิ์จริงๆ กับศาสนาหาได้ขัดกันไม่ แต่ต่างก็ช่วยให้บรรลุถึงความรู้แจ้งตน และช่วยบรรเทาความทุกข์ให้มนุษยชาติ ธรรมชาตินิยมถือว่า คนไม่ใช่ภาวะที่มีจิตใจเท่ากัน แต่ศาสนาถือว่า คนไม่ใช่เป็นภาวะที่มีชีวิตจิตใจเท่านั้นแต่ยังมีอาตมัน (วิญญาณ) ซึ่งสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพรหมันผู้เป็นเจ้าด้วย
 
ลัทธิสิทธิอำนาจ
 
ลัทธิสิทธิอำนาจ คือ ลัทธิที่เชื่อถือในคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ พระสันตะปาปา คริสตจักร ศาสนพิธี และพิธีกรรมอื่นๆ ลัทธินี้ไม่เชื่อในความถูกต้องของเหตุผล จึงมักนำไปสู่ลัทธิทางไสยศาสตร์ หรือคติความเชื่อในเรื่องเครื่องรางของขลัง เพราะไม่รู้ความจริงทางศาสนา
 
ในโลกตะวันตกสมัยโบราณ ประชาชนทั่วไปไม่คุ้นเคยกับพระคัมภีร์ไบเบิล เพราะใช้ภาษาละติน พระสันตะปาปาและพวกขึงใช้อำนาจเผด็จการทางศาสนา คือใช้วิธีบังคับให้เชื่อ ให้ทำตาม
 
ในอินเดียสมัยโบราณก็เหมือนกัน พวกพราหมณ์เท่านั้นที่เป็นพวกแก่เรียนประจำหมู่บ้าน ประชาชนต้องปฎิบัติตามโดยไม่รู้ซาบซึ้งถึงความหมายและสาระสำคัญของคัมภีร์ทางศาสนา แต่เขาก็เชื่อคำสอนทางศาสนาโดยไม่ต้องศึกษาหาข้อพิสูจน์ความจริง
 
ในสมัยใหม่ พวกที่ถือตัวว่า เป็นปัญญาชนไม่ยอมเชื่อทั้งศาสนาและลัทธิอำนาจหรือคติความเชื่อเครื่องรางของขลังว่า สามารถทำให้มนุษย์รับผลตามต้องการ แต่การปฎิเสธของพวกปัญญาชนส่วนมากก็เชื่อตามๆกันมา โดยไม่ได้ศึกษค้นคว้าอย่างจริงจังด้วยตนเอง
 
ดร.ราธกฤษณัน วิจารณ์ว่า การเชื่อตามเขาว่า กับการปฎิเสธตามเขาว่า เป็นการมองปัญหาด้านเดียวพอๆกัน เขาเห็นว่า คุณค่าของลัทธิอำนาจและลัทธิตามประเพณีที่ถือกัน สืบๆกันมา ก็ใช่ว่าจะไร้สาระเลยทีเดียว เพราะในลัทธิความเชื่อนั้นอย่างน้อยก็มีมรดกทางปัญญาของเชื้อชาติ เจ้าของลัทธินั้นๆ สะสมอยู่ด้วย เราคงไม่ปฎิเสธว่า ทุกคนเกิดมาในกองมรดก อันมหาศาลแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ที่สืบทอดต่อๆกันมาแต่อดีตกาล ฉะนั้นทางที่ดีควรยอมรับคุณค่าเหล่านี้ แต่ไม่ควรพอใจหยุดอยู่แค่นี้ ควรจะก้าวต่อไปถึงขั้นสูงสุด คือการพัฒนาจิตจนเข้าถึงความรู้แจ้งตน และเข้าถึงพระเป็นเจ้า ซึ่งเป็นจุดหมายของศาสนาอย่างแท้จริง
{{สั้นมาก}}
'''ดร. สรวปัลลี ราธากฤษณัน''' ({{lang-hi|डा॰ सर्वपल्ली राधाकृष्णन}}) (5 กันยายน พ.ศ. 2431 – 17 เมษายน พ.ศ. 2518) เป็น[[รองประธานาธิบดี]]คนแรกของ[[อินเดีย]] (พ.ศ. 2495 – 2505) และต่อมาได้เป็น[[ประธานาธิบดี]]คนที่สองของอินเดีย (พ.ศ. 2505 – 2510) และยังเป็นผู้ที่เคยร่วมขบวนกับ[[มหาตมา คานธี]] และ[[ชวาหระลาล เนห์รู]]