ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มโนรถปูรณี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Disthan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 4:
 
== เนื้อหา ==
มโนรถปูรณี มีลักษณะเดียวกับคัมภีร์อรรถกาเล่มอื่น ๆ คือมีการอธิบายที่มาของ[[พระสูตร]] เช่น การระบุว่า เหตุตั้งแห่งพระสูตร มี 4 อย่าง คือ เกิดเพราะอัธยาศัยของตน, เกิดเพราะ อัธยาศัยของผู้อื่น, เกิดด้วยอำนาจ คำถาม, เกิดเพราะเหตุเกิดเรื่อง เป็นต้น <ref>มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 30</ref> มีการอธิบายคำศัพท์สำคัญในเชิงไวยากรณ์ รวมถึงนัยยะของศัพท์นั้น ๆ เช่นการอธิบายในจักกวัตติสูตรถึงคำว่า ที่ชื่อว่า ราชา เพราะหมายความว่า ทำให้ประชาชนรัก ด้วยสังคหวัตถุ 4 <ref>มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม 1 ภาค 3 หน้า 36 -37</ref>
 
ความโดดเด่นอีกประการหนึ่งของคัมภีร์มโนรถปูรณี ก็คือพระอรรถกถาจารย์ได้นำเรืองราวตำนาน นิทาน ประวัติ เกล็ดความรู้ต่างๆ และขนบธรรมเนียมของอินเดียยุคโบราณ มาประกอบการอธิบายพระสูตร นอกจากจะยังให้เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งถึงบริบท ยังให้ผู้ศึกษาค้นคว้าเกิดความเพลิดเพลินและได้ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์โบราณไปในตัว เช่นการกล่าวถึงเรื่องปูทองและนกยูงทองหลงเสียงหญิงจนประมาท และเกิดโทษแก่ตน ในคำอธิบายสูตรที่ 2 <ref>มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 36</ref> และข้อมูลทางภูมิศาสตร์ร่วมสมัย เช่นการระบุว่าจากชมพูทวีปไป 700 โยชน์ มีประเทศชื่อว่า [[สุวรรณภูมิ]] เรือแล่นไปโดยลม จะเดินทางถึงใน 7 วัน 7 คืน เป็นต้น <ref>มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม 1 ภาค 2 หน้า 209</ref>