ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระองค์เจ้าขุนเณร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 31:
พระองค์เจ้าขุนเณร ทรงเป็นเจ้านายนอกพระราชวงศ์จักรี เพราะพระชาติประสูติของพระองค์นั้นเกิดกับหญิงสามัญ ซึ่งเป็นอนุภริยาในพระอินทรรักษา
สำหรับพระองค์เจ้าขุนเณร นับว่าเป็นเจ้านายที่พระปรีชาการศึกสงครามพระองค์หนึ่ง ทรงประทับที่[[วังบ้านปูน]] แต่พระชีวประวัติเท่าที่สืบค้นมีน้อยมาก ไม่มีระบุเหตุของการสิ้นพระชนม์
 
พระประวัติของพระองค์เจ้าขุนเณรในการรบที่สำคัญ มีดังนี้
 
๑. การรบในสมัยสงครามเก้าทัพ กรณียกิจที่ปรากฏชัดเจนและมีความสำคัญยิ่งขึ้น คือ เหตุการณ์ในการทำสงครามกับพม่า ที่เรียกว่าสงครามเก้าทัพ ณ เมืองกาญจนบุรี ในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ ในแผ่นดินสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์เจ้าขุนเณรได้รับหน้าที่เฉพาะกิจโดย กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหัวหน้ากองโจร คอยทำลายกองกำลังของพม่า ตัดกำลัง แย่งชิงเสบียงอาหารและยุทโธปกรณ์ของพม่า รบกวน รังควานแย่งชิง ทำลายกองเกวียนกองช้างกองม้าที่นำเสบียงมาจากเมืองเมาะตะมะ เมืองทวาย และตะนาวศรี นำกำลังเข้าไปทางบก และทางน้ำแทรกซึมเข้าไปในพื้นที่ตั้งของข้าศึก และอาศัยภูมิประเทศ เหตุการณ์ดินฟ้าอากาศในขณะนั้น จู่โจม โจมตีทำลาย และจับกุมกำลังทหารของพม่า ทำให้ข้าศึกพะวักพะวน ต้องดึงกำลังมารักษาพื้นที่ส่วนหลังมากขึ้น เป็นการทำลายขวัญของพม่าให้ลดถอยในการสู้รบ พระองค์เจ้าขุนเณรใช้กองทัพนินจาที่พระองค์ทรงฝึกเองเพียง ๑,๘๐๐ คนเท่านั้น ที่จะต้องยันกองทัพพม่า ที่ยกมาเป็นจำนวนนับแสน ซึ่งในการปฏิบัติงานสำคัญ เป็นภารกิจเสี่ยงต่อภัยอันตรายตลอดเวลา ยากที่กำลังพลปกติทั่วไปจะกระทำได้สำเร็จ
 
กองทัพของพระองค์เจ้าขุนเณรโดยมากปฏิบัติการอยู่ในพื้นที่ส่วนหลังของกองทัพพม่า พื้นที่ปฏิบัติการอยู่ในเส้นทางเมาะตะมะ - ด่านเจดีย์สามองค์ – ท่าดินแดง – ไทรโยค – ท่ากระดานกับเส้นทางทวาย – บ้องตี๋ – ไทรโยค – พุตะไคร้ – ช่องแคบ – ท่าด่าน เป็นระยะเวลา ๒ เดือนเศษ
 
ในพระราชพงศาวดารสงครามเก้าทัพทีการกล่าวถึงประวัติการรบของพระองค์เจ้าขุนเณรไว้ว่า "ครั้นถึง ณ วันศุกร์ เดือน ๓ แรม ๔ ค่ำ ปีมะเส็ง ก็ตรัสสั่งให้กองทัพไทยเข้าระดมตีค่ายพม่าพร้อมกันทุกค่ายในเวลาเดียวกัน พม่าก็แตกฉานทั้งกองทัพที่ ๔ และ กองทัพที่ ๕ ไทยได้ค่ายหมดทุกค่าย ฆ่าฟันล้มตายเสียเป็นจำนวนมาก ที่เหลือตายก็แตกหนีไป กองทัพของพระองค์เจ้าขุนเณรก็ซ้ำเติม ฆ่าฟันพม่า และจับส่งมาถวายอีกหลายพันคน"
 
๒. สงครามปราบเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์
กรณียกิจครั้งสุดท้ายของพระเจ้าขุนเณร ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จากเอกสารของ ฯขุนนคเรศฯ เรื่อง "บันทึกลับ เจ้าพระยาบดินทร์เดชาฯ " ได้พบพระนามของพระองค์เจ้าขุนเณรอีก ได้พิจารณาข้อความตอนหนึ่งที่ขุนนางผู้ใหญ่ ได้นำหนังสือกราบบังคมทูลถึงการปฏิบัติการรบกับกองทัพพระเจ้าอนุเวียงจันทน์ ในฐานะกองโจร และกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแม่ทัพหลวงทรงตรัสว่า “ พระองค์เจ้าขุนเณรเขาเคยได้กระทำการศึกสงครามชำนิชำนาญ มาแต่ครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง แต่ครั้งท่านเสด็จไปตีพม่าที่เขาชะงุ้ม ราชบุรี ครั้งนั้น พระองค์เจ้าขุนเณรเขาได้เป็นนายทัพกองโจรไปตีกองลำเลียงพม่า เขาเคยมีชัยชนะมาแล้ว ” ยังมีข้อความตอนหนึ่งกล่าวว่าในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ สันนิษฐานว่าพระองค์เจ้าขุนเณรมีพระชนมายุเกิน ๖๐ พรรษา และได้รับโปรดเกล้าฯให้เป็นนายทัพกองโจรคุมกำลังกองโจร ซึ่งเป็นคนพม่า คนทวาย และเป็นนักโทษมาแล้ว จำนวน ๕๐๐ คน ภายหลังให้ทหารเมืองนครราชสีมามารวมด้วยอีก ๕๐๐ คน โดยให้พระณรงค์สงครามเป็นหัวหน้า กองโจรต่างชาติซึ่งนำโดยแม่ทัพไทยได้เริ่มออกปฏิบัติการรบแบบกองโจร ในขณะที่กองทัพหลวงเข้าตีค่ายทหารลาวที่หนองบัวลำภู ค่ายส้มป่อย ค่ายทุ่งลำพี้ และค่ายเขาช่องสารเป็นลำดับไป
 
สำหรับทัพหลวง กรมพระราชวังบวรฯ ได้โปรดเกล้าฯให้กรมหมื่นนเรศร์โยธี กรมหมื่นเสนีย์บริรักษ์ เป็นแม่ทัพใหญ่ นำกำลังเข้าประชิดทหารลาวที่ค่ายส้มป่อย เจ้าหน่อคำแม่ทัพใหญ่ค่ายส้มป่อยนำหน้าทหารเข้าตีค่ายทหารไทย พระยาเสน่หาภูธร และพระยาวิสูตรโกษาแม่ทัพหน้า ยกทหารออกต้านทานสัประยุทธ์ ยิงแทงกันเป็นสามารถ ยังไม่แพ้ชนะกันทั้งสองฝ่าย ไทยไพร่พลน้อยกว่าลาวจึงล่าทัพเข้าค่ายปีกกา ปิดประตูค่ายรักษามั่นไว้ กรมหมื่นนเรศร์ฯ แม่ทัพใหญ่ได้ทราบข่าวจากม้าเร็วว่า กองทัพหน้าถูกล้อมไว้ จึงยกกำลังเข้าไปแก้ไขอย่างเร่งด่วนโดยประมาท ถูกพระยาแสนหาญ กับพระยาน่านมือเหล็กแม่ทัพกองซุ่มของลาวคุมทหารแปดพันคน ซุ่มอยู่ข้างป่าดงตะเคียนยกพลเข้าโจมตีกองทัพกรมหมื่นทั้งสองพระองค์ ต่อสู้ตะลุมบอน ฟันแทงกันด้วยอาวุธทั้งสองฝ่าย ฝ่ายไทยเสียเปรียบจึงถูกฝ่ายลาวล้อมไว้อีกทัพหนึ่ง
 
ฝ่ายพระองค์เจ้าขุนเณรก็ยกกองทัพพม่าทวายไปซุ่มคอยตีกลองลำเลียงลาวอยู่ในป่าหลังค่ายทุ่งส้มป่อย แล้วสามารถจับพลลาวได้เจ็ดคน ถามได้ความว่า “ เจ้าหน่อคำเป็นแม่ทัพใหญ่คุมพลทหารพันแปดร้อยยกไปตีกองทัพไทย และให้ท้าวเพี้ยคุมพลทหารพันหนึ่งรักษาค่าย แล้วเจ้าหน่อคำจัดการระวังทางป่าและลำธารเป็นสามารถ “ พระองค์เจ้าขุนเณรมีความวิตกกังวลนักจึงดำริอุบายที่จะไปช่วยกองทัพไทยฝ่ายกองหน้าที่ถูกล้อมไว้ จึงสั่งไว้ชีวิตทหารลาวทั้งเจ็ดคน แต่จับยึดเป็นเชลยอยู่หกคน ให้ทหารไทยปลอมตัวเหมือนลาวปลอมหาบคอนแทนหกคน รวมทหารลาวที่ปล่อยตัวไปหนึ่งคนเป็นเจ็ดคน พาพวกไทยหกคนเข้าไปในค่ายลาว ถ้าสำเร็จตามประสงค์ พระองค์เจ้าขุนเณรจะปูนบำเหน็จให้ เมื่อฝ่ายลาวขอรับอาสาตอบแทนพระกรุณาที่พระองค์เจ้าขุนเณรทรงไว้ชีวิตให้ พระองค์เจ้าขุนเณรจึงตรัสรับสั่งพระณรงค์สงครามให้เป็นแม่กองคุมทหารของพระองค์(อาทมาตทะลวงฟัน) และคุมพลทหารห้าร้อย ถืออาวุธสั้นและมีคบเพลิงสำหรับตัวทุกคน จะได้เผาค่ายลาว ให้ยกไปซุ่มอยู่ตามชายป่าห่างค่ายลาวประมาณ ๔๐ เส้น หรือ ๕๐ เส้น พอควรการให้ทันท่วงที ถ้าเห็นลาวพาไทยหกคนเข้าไปในค่าย เผาค่ายเจ้าหน่อคำได้แล้ว ให้พระณรงค์สงคราม ยกกองทัพอาทมาตรีบเร่งต้อนพลโห่ร้องกระหน่ำสับทับ หนุนเนืองกันเข้าไปหักค่ายให้พังลงแล้วไฟเผาค่ายลาวไหม้สว่างขึ้น พลทหารเจ้าหน่อคำก็จะตกใจ พว้าพวังทั้งข้างหน้าข้างหลัง ก็จะถอยทัพล่าถอยไปเอง ไทยที่อยู่ในที่ล้อมก็จะออกได้ แล้วจะได้เป็นทัพกระหนาบด้วย พระองค์เจ้าขุนเณรจึงตรัสสั่งไทยทั้งหกคนที่แต่งกายเป็นลาวนั้นว่า " ถ้าเข้าค่ายลาวได้ ให้ไล่ฆ่าฟันลาวในค่าย คลุกคลีตีลาวไป อย่าให้ลาวทันตั้งตัวหาอาวุธได้ ให้นำคบเพลิงเผาค่ายลาวขึ้นด้วย "
 
ครั้นเมื่อแผนการที่พระองค์เจ้าขุนเณรได้วางไว้สำเร็จ สร้างความอลหม่านให้แก่พลลาวเป็นอันมาก รวมทั้งช้างงาในค่ายลาวที่ตกมันน้ำมันอยู่ เห็นแสงไฟสว่างจ้าก็ตกใจแตกปลอกออก ไล่แทงผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก แล้ววิ่งหายเข้าป่าไปในค่ำนั้น ฝ่ายพระยาไชยสงคราม ท้าวสุวรรณ ท้าวหมี สามนายคุมพลทหารพันหนึ่ง อยู่รักษาค่ายที่ทุ่งส้มป่อย เห็นเชิงศึกไทยกระชั้นตีเข้ามาในค่ายได้โดยเร็วดังนั้นก็ตกใจ จะรวบรวมทหารให้เป็นเป็นหมวดเป็นกองออกต่อสู้ก็ไม่ได้ ด้วยรี้พลแตกตื่นตกใจมาก จะกดไว้ไม่อยู่ จึงปล่อยให้แตกแหกค่ายหนีไปซ่อนภายในป่าทั้งนายไพร่ได้บ้าง ที่ตายก็มากที่เหลือตายก็มี
 
ขณะนั้นกรมหมื่นนเรศร์โยธี กรมหมื่นเสนีย์บริรักษ์ ทั้งสองพระองค์ที่อยู่ในที่ล้อมลาวทอดพระเนตรเห็นกองทัพลาวที่ล้อมอยู่นั้นล่าถอยไป จึงเข้าพระทัยชัดว่า ชะรอยจะมีกองทัพไทยผู้ใดไปจุดไฟเผาค่ายลาว ลาวจึงได้ล่าถอยไป จึงตรัสสั่งให้นายทัพ นายกองไทยเร่งรีบยกพลติดตามทัพลาวเจ้าหน่อคำที่ล่าถอยหนีไปนั้นให้เต็มมือ เจ้าหน่อคำสู้พลางถอยหนีมาพลาง เดินทัพรุดหนีมาตามทางในป่า ก็พอมาปะทะพบกองทัพพระองค์เจ้าขุนเณรที่ยกมาเป็นทัพกระหนาบหลังเจ้าหน่อคำ เจ้าหน่อคำกระทำศึกดุจดังฟองสกุณาปักษาชาติ อันถูกพายุพัดมาประดิษฐานตั้งกลิ้งกลอกอยู่ริมก้อนศิลาที่เป็นแง่อันแหลม
 
ฝ่ายกองทัพไทยทั้งหลายไล่พิฆาตฆ่าฟันแทงลาวตายเป็นอันมาก ศพลาวซ้อนทับกันเต็มไปทั้งป่า นายทัพนายกองไทยเก็บเครื่องศาสตราวุธต่างๆ ไว้ได้ทุกอย่าง จับได้ช้างใหญ่ขนาดพลาย ๔๙ เชือก ช้างพัง ๔๑ เชือก ช้างเล็กไม่ถึงขนาดรวมทั้งพลายพังด้วยเป็น ๑๗๔ เชือก ม้า ๓๔๖ ม้า โคกระบือ ๖๐๐ เสบียง อาหารพร้อมบริบูรณ์ เจ้าหน่อคำแม่ทัพใหญ่หนีไปกับทหารร่วมใจสองร้อยเศษ ไปถึงค่ายเขาสาร ทหารไทยจับได้ไม่ หลังจากเสร็จสิ้นการศึก กรมพระราชวังบวรฯ ตรัสเรียกพระองค์เจ้าขุนเณรให้เข้ามาเฝ้าในที่ใกล้ และพระราชทานพระแสงดาบฝักทองคำองค์หนึ่งแด่พระองค์เจ้าขุนเณรเป็นรางวัล
 
การปฏิบัติการแบบกองโจรของพระองค์เจ้าขุนเณรในพื้นที่การรบดังกล่าว ทำให้การรบของทัพหลวงได้รับชัยชนะรวดเร็วขึ้น แก้ไขสถานการณ์ที่เพลี่ยงพล้ำแก่ข้าศึก กลายเป็นการได้เปรียบอย่างคาดไม่ถึง ใช้กลยุทธ์เฉพาะหน้าที่เสี่ยงแก่ชีวิต และการแพ้ชนะชั่วเวลาอันสั้น ใช้การพิจารณาสถานการณ์ความรู้ในด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับข้าศึกได้ถูกต้อง ใช้การลวง การจู่โจม ความเด็ดขาด ปฏิบัติการการรบอย่างกล้าหาญรุนแรง รวดเร็ว พฤติกรรมการรบของพระองค์ท่านเป็นอย่างกองโจรโดยแท้ และยังเป็นตัวอย่างที่เป็นแนวทางของการรบแบบกองโจรในสมัยนี้ได้อย่างสมบูรณ์ยิ่ง
 
 
ปัจจุบันทางราชการได้สร้างเขื่อนขึ้นมาจึงให้ชื่อว่า เขื่อนเจ้าเณร ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น เขื่อนศรีนครินทร์ บ้านเจ้าเณรตั้งอยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่ ต.ท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จว.กาญจนบุรี ปัจจุบันถูกน้ำท่วมหมดแล้วรวมทั้งเมืองท่ากระดาน ด่านแม่แลบ และด่านกรามเชียง( แก่งเรียง-ม่องคอย) ซึ่งเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์อันสำคัญยิ่ง
 
เพื่อเทิดทูนวีรกรรมของพระองค์เจ้าขุนเณร ดังนั้น กองทัพไทยจึงได้มีหนังสือรายงานขออนุมัติ ทบ. เพื่อขอพระราชทานนามค่ายทหารของ กรมรบพิเศษที่ ๕ ว่า “ค่ายพระองค์เจ้าขุนเณร” ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามค่ายทหาร ให้แก่ กรมรบพิเศษที่ ๕ ซึ่งมีที่ตั้งปกติถาวร ณ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ว่า ค่ายขุนเณร ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานนามค่ายทหาร ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิต รองนายกรัฐมนตรี ลงในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑ ง หน้า ๑๓ ลง ๓ มกราคม ๒๕๔๙
 
==อ้างอิง==