ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประยุทธ์ ศิริพานิชย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แก้คำผิด
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 29:
ในปี [[พ.ศ. 2553]] นายประยุทธ์ ได้รับเลือกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย ให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 นายประยุทธ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคพร้อมกับคณะกรรมการบริหารพรรคอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบอันจะเป็นเหตุให้มีการยุบพรรคได้<ref>[http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=505507 กก.บริหาร พท.แห่ลาออก หวั่นถูกยุบพรรค]</ref>
 
ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557]] เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 56<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/010/65.PDF ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)]</ref>
 
=== การเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ===
ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 เขาในฐานะรองประธานกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ได้เสนอให้มีการแก้ไขให้มีการนิรโทษกรรมทุกฝ่าย หรือฉบับที่สื่อมวลชนเรียกว่า "นิรโทษกรรมสุดซอย" จนมีการคัดค้านจากฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ว่าเป็นการเอื้อผลประโยชน์ให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี<ref>คม ชัด ลึก ออนไลน์ [http://www.komchadluek.net/detail/20131030/171642.html 'ปชป.'เป่านกหวีดชุมนุมค้าน'นิรโทษกรรม'] สืบค้นวันที่ 1-11-2556</ref>
 
ผลการกระทำของนายประยุทธในครั้งนี้ลุกลามใหญ่โต เป็นผลเสียกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยเกิดความไม่พอใจของทุกฝ่ายทั้งกลุ่มเสื้อแดง ทหาร ญาติผู้เสียชีวิต และกลุ่มต่อต้านรัฐบาล ทำให้กลุ่มต่อต้านรัฐบาลสามารถนำไปขยายผลและลุกลามขยายใหญ่เพื่อล้มรัฐบาล คนออกมาเดินขบวนต่อต้านมากมายตามท้องถนน ในที่สุดรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องยุบสภาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==