ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 52:
ในช่วงเวลา 2 ปีแรก ([[พ.ศ. 2477]]-[[พ.ศ. 2479|2479]]) การเรียนการสอนของ ม.ธ.ก. ยังคงดำเนินอยู่ที่ตึกโรงเรียนกฎหมายเดิม ที่เชิงสะพานผ่านฟ้าภิภพลีลา<ref name="Charnvit"/> ต่อมาเมื่อวันที่ [[9 เมษายน]] [[พ.ศ. 2478]] ม.ธ.ก.ขอซื้อที่ดินบริเวณ[[ท่าพระจันทร์]] ซึ่งเดิมเป็นที่ของทหาร และปรับปรุงอาคารเดิม พร้อมทั้งสร้าง[[ตึกโดม]] โดยทุนซึ่งใช้จัดซื้อที่ดิน รวมทั้งการก่อสร้าง ได้มาจากเงินที่ ม.ธ.ก.เก็บจากค่าสมัครและค่าเล่าเรียน นอกจากนี้ ม.ธ.ก.ยังจัดตั้งสถาบันการเงินขึ้น สำหรับให้นักศึกษาวิชาการบัญชี ใช้เป็นสถานที่ฝึกงานคือ ''ธนาคารแห่งเอเชียเพื่ออุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม'' (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น[[ธนาคารเอเชีย]] และปัจจุบันคือ[[ธนาคารยูโอบี]]) และเมื่อปี [[พ.ศ. 2481]] ม.ธ.ก.ก่อตั้ง[[โรงเรียนเตรียมปริญญาแห่งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง|โรงเรียนเตรียมปริญญา]] มีหลักสูตร 2 ปี เพื่อรับผู้ประสงค์จะเข้าเรียนต่อที่ ม.ธ.ก.โดยตรง โรงเรียนเตรียมปริญญา มีหลักสูตรการสอน หนักไปทางภาษา ทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และวิชาทางสังคม เช่น ปรัชญา วิชาเทคโนโลยี ดนตรี พิมพ์ดีด และชวเลข เป็นต้น แต่ยกเลิกไปในปี [[พ.ศ. 2490]]
 
เมื่อวันที่ [[8 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2490]] [[คณะรัฐประหาร]]เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบโดยตรง<ref name="PolsciHistory">[http://www.polsci.tu.ac.th/history.htm ประวัติคณะรัฐศาสตร์], คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</ref> [[ปรีดี พนมยงค์|ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์]] ผู้ประศาสน์การ ต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ [[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 24|รัฐบาล]]นำคำว่า ''“การเมือง”'' ออกจากชื่อมหาวิทยาลัย เหลือเพียง ''“มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”''<ref name="prb">ราชกิจจานุเบกษา. (18 มีนาคม 2495). '''
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2495.''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://legal.tu.ac.th/menu/law_tu/pdf/pdf_c/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%20%E0%B8%9E.%E0%B8%A8.2495.pdf]. (เข้าถึงเมื่อ: 3 กันยายน 2553).</ref> พร้อมทั้งยกเลิกตำแหน่ง[[ผู้ประศาสน์การ]] โดยใช้ชื่อตำแหน่งว่า[[อธิการบดี]]แทน<ref name="Charnvit"/> หลักสูตรการศึกษาธรรมศาสตรบัณฑิต เปลี่ยนแปลงเป็น[[คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์|คณะนิติศาสตร์]], [[คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์|พาณิชยศาสตร์และการบัญชี]], [[คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์|รัฐศาสตร์]] และ[[คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์|เศรษฐศาสตร์]] {{อ้างอิง-เส้นใต้|ความเป็นตลาดวิชาหมดไปตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2495}}<ref name="prb"/>
 
[[พ.ศ. 2518]] [[ป๋วย อึ๊งภากรณ์|ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์]] อธิการบดีในขณะนั้น เห็นควรขยายการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ในระดับปริญญาบัณฑิตเพิ่มขึ้น พื้นที่เดิมบริเวณท่าพระจันทร์ ไม่เพียงพอต่อการขยายตัวทางวิชาการ และการพัฒนา มหาวิทยาลัยจึงเจรจาขอแลกเปลี่ยนที่ดิน กับบริเวณนิคมอุตสาหกรรมของ[[กระทรวงอุตสาหกรรม]] เพื่อรองรับการขยายตัวของมหาวิทยาลัย เรียกว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นอกจากนี้ ยังขยายไปที่ศูนย์ลำปาง และศูนย์พัทยาด้วย