ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎ท่าพระจันทร์: เพิ่มอ้างอิง
บรรทัด 184:
[[ไฟล์:ละคร6ตุลา 01.JPG|thumb|left|200px|การแสดงละครในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2519]]
* '''ลานโพ''' ใน[[เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516]] เป็นสถานที่ซึ่งขบวนการนิสิตนักศึกษาประชาชนร่วมกันต่อสู้เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย<ref>Sarakadee สารคดี. (มปป.). '''หยดน้ำในกระแสธาร : คนเล็กๆ ในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ (1).''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=printpage&artid=393]. (เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553).</ref>
เช้าตรู่วันที่ [[8 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2516]] ลานโพเป็นสถานที่เริ่มต้นของการชุมนุมเคลื่อนไหวของนักศึกษา เพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวกลุ่มผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ 13 คน ซึ่งถูกรัฐบาลจับกุม ต่อมามีผู้เข้าร่วมสนับสนุนการชุมนุมเพิ่มมากขึ้น จนต้องย้ายไปชุมนุมที่สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ {{อ้างอิง-เส้นใต้|จำนวนผู้ชุมนุมเพิ่มขึ้นจนมีจำนวนหลายแสนคน ก่อนเคลื่อนขบวนออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเวลาเที่ยงตรงของวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516}}<ref>[http://news.sanook.com/1263632/14-%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%84-%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B3/ 14 ตุลา วันมหาวิปโยค วีรชนคนรุ่นหลังที่ควรจดจำ] จาก sanook.com</ref> และกลายเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลา
 
ลานโพ ยังมีบทบาทสำคัญใน[[เหตุการณ์ 6 ตุลา]] เมื่อปี พ.ศ. 2519<ref name="lanpho">2519.net. (มปป.). ''' ลำดับเหตุการณ์กรณี 6 ตุลาคม 2519.''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.2519.net/newweb/doc/histry/1.doc]. (เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553).</ref> คือ เป็นสถานที่แสดงละครล้อการเมืองของนักศึกษาในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ที่{{อ้างอิง-เส้นใต้|หนังสือพิมพ์ดาวสยามประโคมข่าวว่านักศึกษาแสดงละคร[[หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ]] จนกระทั่งมีการชุมนุมของลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มพลังต่างๆ จนนำไปสู่การใช้ความรุนแรง ล้อมปราบสังหารนักศึกษา และประชาชน}}<ref name="lanpho"/>
 
* '''ลานปรีดี'''
ลานปรีดี และอนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์ {{อ้างอิง-เส้นใต้|เป็นอนุสรณ์แห่งแรกที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึง[[นายปรีดี พนมยงค์]]}}<ref>[https://es.foursquare.com/v/%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%94-%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%84/4c3b06c55810a59398e9b93c ลานปรีดี พนมยงค์] จาก es.foursquare.com</ref> รัฐบุรุษอาวุโส ผู้นำขนวนการเสรีไทย และผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
 
* '''กำแพงวังหน้า'''
ตำแหน่ง[[พระราชวังบวรสถานมงคล]]หรือวังหน้า {{อ้างอิง-เส้นใต้|มีมาตั้งแต่สมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หากจะกล่าวเฉพาะในสมัยรัตนโกสินทร์แล้ว วังหน้าเป็นที่ประทับของ[[พระมหาอุปราช]]}} <ref name="Wangnar">[http://www.tu.ac.th/intro/about/place_rec.htm#a4 กำแพงวังหน้า] จาก tu.ac.th</ref> เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อมีการสร้าง[[พระราชวังหลวง]]ในปี [[พ.ศ. 2325]] [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท]] ได้ทรงสร้างวังหน้าขึ้นพร้อมกันทางด้านทิศเหนือของพระราชวังหลวง และอยู่ชิดกับฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ทำการสร้างอาคารอเนกประสงค์ 2 ขึ้น จึงมีการขุดพื้นดินต่างๆ และจัดแสดงรูปร่างของกำแพงวังหน้าให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ชื่นชมว่ากาลครั้งหนึ่งพื้นที่บริเวณนี้เป็นสถานที่ตั้งของวังหน้า
 
อนึ่ง{{อ้างอิง-เส้นใต้| นักศึกษาและศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จำนวนหนึ่งมีความเชื่อว่าการที่สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัย คือ วังหน้า มีความหมายว่า สถานที่แห่งนี้มีจิตวิญญาณของการช่วยเหลือสถาบันทางอำนาจและในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ถ่วงดุลและตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้นำสูงสุดตลอดมา}}<ref name="Wangnar"/>
 
* '''สนามฟุตบอล''' เป็นสถานที่ที่เป็นเวทีและเป็นศูนย์กลางการจัดชุมนุมใหญ่ของนักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชน ในระหว่างวันที่ 10–14 ตุลาคม [[พ.ศ. 2516]] ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จากระบอบเผด็จการทหาร ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย และเป็นจุดเริ่มต้นของการตระหนักในสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยการเคลื่อนไหวใน[[เดือนตุลาคม]] [[พ.ศ. 2516]] มีผลทำให้มีผู้เสียชีวิต 77 คน และบาดเจ็บ 857 คน<ref>2519.net. (มปป.). '''ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ เช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519.''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.2519.net/autopage/show_page.php?t=3&s_id=52&d_id=48]. (เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553).</ref>
บรรทัด 205:
[[ไฟล์:TUmainauditorium.jpg|thumb|right|300px|หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
[[ไฟล์:Sculpture of 6 October 1976 Memorial.jpg|thumb|right|300px|ประติมากรรม 6 ตุลา 2519 ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์]]
* '''หอประชุมใหญ่''' สร้างขึ้นเมื่อ [[พ.ศ. 2497]] ในวาระครบรอบ 20 ปี ของการสถาปนามหาวิทยาลัย โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัย มีการวางศิลาฤกษ์ในวันสถาปนามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ [[27 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2497]] และสร้างแล้วเสร็จในสมัยที่[[ถนอม กิตติขจร|พลเอกถนอม กิตติขจร]] เป็นอธิการบดี ในราวปี [[พ.ศ. 2506]] โดย{{อ้างอิง-เส้นใต้|หอประชุมนี้ก่อสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นหอประชุมที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยนั้น}}<ref name="horyai">[http://www.tu.ac.th/intro/about/place_rec.htm#a7 หอประชุมใหญ่] จาก tu.ac.th</ref> ทั้งในเรื่องของระบบเสียง ความเย็น และที่นั่ง ซึ่งมีทั้งสิ้น 2,500 ที่นั่ง โดยแยกออกเป็น ที่นั่งชั้นล่าง 1,800 ที่นั่ง และชั้นบน 700 ที่นั่ง ส่วนทางด้านทิศใต้ของหอประชุมนี้จัดทำเป็น '''หอประชุมเล็ก''' อีกส่วนหนึ่ง โดยบรรจุคนได้ราว 500 คน ปัจจุบันหอประชุมเล็กเรียกชื่อว่า '''หอประชุมศรีบูรพา'''
ซึ่งเป็นนามปากกาของ[[กุหลาบ สายประดิษฐ์]] ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย
 
หอประชุมใหญ่ถูกนำมาใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ของทางมหาวิทยาลัยและนักศึกษาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับ[[พิธีไหว้ครู]] [[พิธีพระราชทานปริญญาบัตร]] และที่สำคัญได้แก่การจัดกิจกรรมทางการเมืองโดยเฉพาะในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 หอประชุมใหญ่กลายเป็นสถานที่ที่มีการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ สภาพการเมืองและสังคม ผ่านการอภิปรายและการจัดนิทรรศการต่างๆ นอกจากนี้ยัง{{อ้างอิง-เส้นใต้|เป็นเสมือนด่านหน้าในการป้องกันการโจมตี จากกลุ่มอันธพาลการเมือง และการล้อมปราบนิสิตนักศึกษา และประชาชน ในเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519}}<ref name="horyai"/>
 
* '''สวนประติมากรรมประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย''' อยู่ลานกว้างด้านหน้าหอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วยชิ้นงานประติมากรรมถูกรังสรรค์ขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์ทางการเมืองและประชาธิปไตยที่ผ่านมา<ref> ARTgazine Articles. (2550.). '''เปิดสวนประติมากรรม ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้ .''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?p=3964&sid=605b6af101d6d1e24b8e73c7f05053be]. (เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553).</ref> โดยสวนประติมากรรมแห่งนี้เป็นสวนประติมากรรมกลางแจ้ง มีประติมากรรม 8 ชิ้น ใน 11 เหตุการณ์สำคัญ เพื่อความเข้าใจที่กระชับลงตัว โดยให้ผลงานประติมากรรมชิ้นหนึ่งรวม 3 เหตุการณ์ไว้ด้วยกัน มีประติมากรรม ได้แก่ การอภิวัฒน์ 2475, การก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง, ธรรมศาสตร์กับขบวนการเสรีไทย, ขบวนการนักศึกษา พ.ศ. 2494-พ.ศ. 2500, ยุคสายลมแสงแดดและยุคแสวงหา, ธรรมศาสตร์กับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516, ธรรมศาสตร์กับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519, ธรรมศาสตร์กับเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ทั้งนี้ประติมากรรมถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยฝีมือของ[[สุรพล ปัญญาวชิระ]]