ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาสนาพุทธในประเทศจีน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ Luckyduo (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Nullzerobot
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{พุทธศาสนา}}
'''[[พระพุทธศาสนา]]'''ได้เข้ามาใน'''[[ประเทศจีน]]''' ดังได้ที่ปรากฏในหลักฐาน เมื่อประมาณพุทธศักราช 608 ในสมัยของพระ[[จักรพรรดิฮั่นหมิง|จักรพรรดิเม่งเต้]]แห่ง[[ราชวงศ์ฮั่น]] พระได้จัดส่งคณะทูต 18 คน ไปสืบ[[พระพุทธศาสนา]]ใน[[อินเดีย]] คณะทูตชุดนี้ได้เดินทางกลับ[[ประเทศจีน]]พร้อมด้วยพระภิกษุ 2 รูป คือ [[พระกาศยปมาตังคะ]] และ[[พระธรรมรักษ์]] รวมทั้งคัมภีร์ของ[[พระพุทธศาสนา]]อีกส่วนหนึ่งด้วย เมื่อพระเถระ 2 รูป พร้อมด้วยคณะทูตมาถึง[[ลั่วหยาง|นครโลยาง]] [[จักรพรรดิฮั่นหมิง|พระเจ้าฮั่นเม่งเต้]] ได้ทรงสั่งให้สร้างวัดเพื่อเป็นที่อยู่ของพระทั้ง 2 รูป นั้นซึ่งมีชื่อว่า [[วัดม้าขาว|วัดแป๊ะเบ๊ยี่]] แปลเป็นไทยว่า วัดม้าขาว เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม้าตัวที่บรรทุกพระคัมภีร์ทาง[[พระพุทธศาสนา]]กับพระเถระทั้งสอง หลังจากนั้น[[พระปาศยมาตังตะ]] กับ[[พระธรรมรักษ์]]ได้แปลคัมภีร์[[พระพุทธศาสนา]]เป็น[[ภาษาจีน]]เล่มแรก
 
 
บรรทัด 40:
== พุทธศาสนาเถรวาทในจีน ==
ในประเทศจีน มีผู้นับถือพุทธศาสนาแบบ[[เถรวาท]]เฉพาะใน[[มณฑลยูนนาน]] ซึ่งโดยทั่วไปเป็นชนกลุ่มน้อย[[ชาวไทลื้อ]]และ[[ชาวไทใหญ่]]
 
=== พุทธศาสนาในสิบสองปันนา ===
พุทธศาสนาใน[[สิบสองปันนา]]เป็นพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ โดยได้รับอิทธิพลจาก[[อาณาจักรล้านนา]]หรือ[[เชียงใหม่]]ในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 นิกายเช่นเดียวกับพุทธศาสนาในเชียงใหม่คือ <ref>เจีย แยนจอง. พุทธศาสนากับวิถีชีวิตชาวพุทธไทลื้อในสิบสองพันนา ใน คนไทไม่ใช่ไทย แต่เป็นเครือญาติชาติภาษา. กทม. มติชน. 2549. หน้า 233</ref>
* สำนักวัดสวนดอกหรือฝ่ายสวน ตั้งที่เชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1914 แต่เข้าสู่สิบสองปันนาเมื่อใดไม่มีหลักฐาน
* สำนักวัดป่าแดงหรือฝ่ายป่า ตั้งขึ้นที่เชียงใหม่เมื่อราว พ.ศ. 1973 โดยคณะสงฆ์ที่ไปบวชเรียนมาใหม่จาก[[ศรีลังกา|ลังกา]] ถือวินัยเคร่งครัดกว่าฝ่ายสวน เผยแพร่เข้าสู่สิบสองปันนาเมื่อ พ.ศ. 1989 โดยผ่านทาง[[เชียงตุง]]
 
=== พุทธศาสนาในเขตปกครองตนเองไทใต้คง ===
พุทธศาสนาแพร่เข้าสู่[[เขตปกครองตนเองไทใต้คง]]เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 แบ่งออกเป็น 4 นิกายคือ