ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โลเรนโซ กีแบร์ตี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15:
ในการสร้างประตู กีแบร์ตีต้องสร้างเวิร์กชอปใหม่ และฝึกศิลปินหลายคนให้เป็นผู้ช่วยเช่น [[โดนาเตลโล]], [[มาโซลีโน ดา ปานีกาเล]], [[มีเกลอซโซ]], [[ปาโอโล อุชเชลโล]] และ[[อันโตนีโอ ปอลลายูโอโล]] (Antonio Pollaiuolo) กีแบร์ตีใช้วิธีหล่อที่เรียกว่า "cire perdue" หรือ "lost-wax casting" ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันในสมัยโรมัน ซึ่งทำให้เวิร์คชอพของกีแบร์ตีเป็นที่นิยมของศิลปินรุ่นหนุ่ม
 
เมื่อหล่อเสร็จ 28 แผ่น กีแบร์ตีก็ได้รับการต่อสัญญาให้สร้างชุดที่สองสำหรับอีกประตูหนึ่งแต่ครั้งนี้เป็นฉากจาก[[พันธสัญญาเดิม]] แทนที่จะเป็น 28 ฉากกีแบร์ตีทำเป็นฉากสี่เหลี่ยมสิบฉากคนละลักษณะจากแบบเดิมที่ทำมา ชุดที่สองมีลักษณะเป็นธรรมชาติมากกว่า และเริ่มมีการใช้[[การเขียนแบบทัศนียภาพ|ทัศนียภาพ]]ที่ทำให้ดูมีความลึกขึ้น และเป็นการแสดงภาพแบบ "เลิศลอย" (idealization) มากกว่าเดิม [[มีเกลันเจโล]] เรียกประตูนี้ว่า "ประตูสวรรค์" (Gates of Paradise) "[[ประตูนรก]] " (Gates of Hell) โดย[[โอกุสต์ รอแด็ง]] ได้รับอิทธิพลจาก "ประตูสวรรค์" ของกีแบร์ตี
 
หลังจากนั้นกีแบร์ตีก็ได้รับสัญญาให้ทำอนุสาวรีย์สัมฤทธิ์ปิดทองสำหรับซุ้มภายในชาเปลออร์ซานมีเกเล (Orsanmichele) ที่ฟลอเรนซ์ รูปหนึ่งเป็น[[นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์]] สำหรับสมาคมพ่อค้าขนแกะ อีกรูปหนึ่งเป็น[[นักบุญแม็ทธิวอีแวนเจลลิส]] สำหรับสมาคมนายธนาคารและ[[นักบุญสตีเฟน]] สำหรับสมาคมผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ขนแกะ