ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มัชฌิมาปฏิปทา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
'''มัชฌิมาปฏิปทา''' ใช้ในความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า มัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณ หรือรู้จักพอดีในการปฏิบัติต่างๆ โดยทั่วไป หรือรู้จักพอดีที่เป็นหลักกลางๆ เช่น จะรับประทานอาหารก็ต้องมีความรู้จักประมาณ รู้จักพอดีในอาหาร ถ้ารับประทานอาหารไม่พอดีก็เกิดโทษแก่ร่างกาย แทนที่จะได้สุขภาพ แทนที่จะได้กำลัง ก็อาจจะเสียสุขภาพ และอาจจะทอนกำลังทำให้อ่อนแอลงไป หรือเกิดโรค เพราะฉะนั้นท่านจึงสอนให้มีความรู้จักประมาณในการบริโภค เรียกว่า โภชเนมัตตัญญุตา
 
จะเห็นว่าหลักพระพุทธศาสนาในทุกระดับมีเรื่องของความพอดี หรือความเป็นสายกลางนี้ ฉะนั้นความเป็นสายกลาง คือ ความพอดีที่จะให้ถึงจุดหมาย และที่จะให้ตรงกับความจริง ไม่ให้ไปสุดโต่ง เอียงสุด ซึ่งจะพลาดจากตัวความจริงไปนั้น จึงเป็นลักษณะทั่วไปอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสายกลางทั้งความคิดหลักทฤษฎี และการหลักการปฏิบัติ
 
อีกตัวอย่างหนึ่ง มองกว้างออกไปอีกมัชฌิมาปฏิปทาในแนวคิดที่เป็นกฎธรรมชาติซึ่งเป็นสัจจธรรมอันคู่กับหลักจริยธรรมของมัชฌิมาปฏิปทาได้แก่หลัก'''มัชเฌนธรรม''' หรือหลัก'''[[สมตา]]'''ความสมดุล ที่กล่าวแสดงไว้ว่าความสมดุลเป็นกฎธรรมชาติ จัดเป็นกฎ'''[[ธรรมนิยาม|พีชนิยาม]]''' ความสมดุลเป็นเหตุุให้สิ่งต่างๆดำรงอยู่ไม่แตกสลายไปตามกฎ[[ไตรลักษณ์]]เร็วนัก และทำให้เกิดการปรับสภาพให้เหมาะสมของสรรพสิ่ง อันเป็นเหตุให้มีสภาวะข้อมูลของสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิต ที่มีข้อมูลต่างๆเพราะการปรับสมดุล ที่ทำให้เกิดการปรับตัวมีกลไกขึ้น และยังทำให้เกิดความเป็นระเบียบของข้อมูล จึงเกิดมีระบบชีวิต ทำให้มีการดำรงอยู่ อันเป็นเหตุให้เกิดการถ่ายทอดจนเกิด'''[[วัฏฏะ]]'''(หมุนวนเวียน)มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป กลับไปกลับมาที่ทำให้เกิด'''[[สันตติ]]'''(การสืบต่อ)ที่สามารถปิดบังกฎ'''[[อนิจจัง]]'''(ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน)แห่งไตรลักษณ์ได้ รวมถึงการที่ธรรมชาติมีความสมดุลจนโลกเหมาะสมที่จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่ได้ ตลอดจนสรรพชีวิตและธรรมชาติมีวัฏจักรสมดุลสัมพันธ์ต่อกันเพราะกฎแห่งความสมดุลนี้