ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรมัตถโชติกา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Disthan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Disthan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
 
ตัวอย่างเช่น มงคลสูตรในขุททกปาฐะ พระเถระผู้รจนาได้ทำการอธิบายมาติกา หรือบทขัด เรื่องเรื่องราวเบื้องหลังอันเป็นเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระสูตรนี้เสียก่อน จากนั้นได้ทำการตั้งกระทู้ดังนั้ว่า ''"ข้าพเจ้าจะกล่าววิธีนี้อย่างนี้ว่า คำนี้ผู้ใดกล่าว กล่าวเมื่อใด กล่าวเพราะเหตุไร เนื้อจะพรรณนาความแห่งปาฐะ มี "เอวํ" เป็นต้น ก็จะกล่าวสมุฏฐานที่เกิดมงคลกำหนดมงคลนั้นแล้ว จะชี้แจงความมงคลแห่งมงคลสูตรนั้น"'' ซึ่งผู้กล่าวคือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ที่วัดเชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี ต่อมาพระอานนท์ ได้กล่าวอีกครั้งในขณะทำมหาสังคายนาครั้งแรก พระสูตรจึงขึ้นต้นว่า '''"เอวํ เม สุตํ"''' อันหมายความว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ ซึ่งข้าพเจ้าในที่นี้คือพระอานนท์ เป็นต้น นอกจากนี้ พระเถระผู้รจนายังได้ทำการอธิบายมูลรากของคำศัพท์และไวยากรณ์ของศัพท์ที่สำคัญในเนื้อหาของพระสูตร เช่น การอธิบายคำว่า '''"เอวํ"''' เป็นต้น <ref>พระไตรปิฎกมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 117 - 120 และ 134</ref>
 
 
== อรรถาธิบายโดยรายละเอียด ==
ทั้งนี้ เมื่อแจกแจงอรรถาธิบายสำคัญๆ ว่าด้วยหมวดย่อยต่างๆ ในขุททกปาฐะ โดยคัมภีร์ปรมัตถโชติกา จะปรากฎโดยคร่าวๆ ดังนี้
 
'''สรณะ''' มีการพรรณนาพระสรณตรัย โดยการชี้แจงเรื่องพระพุทธะ, การพรรณนาความหมายของสรณะ และวิธีเข้าถึงสรณะ, ข้ออุปมาพระรัตนตรัย พร้อมอธิบายว่า การขาดสรณคมน์ มี 2 อย่าง คือ มีโทษ และไม่มีโทษ การขาดเพราะหันไปนับถือ ศาสดาอื่น และประพฤติผิดในพระศาสดานั้น ชื่อว่า มีโทษ พระอรรกถาจารย์ยังแจกดังนี้ว่า ผู้ถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ จะไม่เข้าถึงอบายภูมิ
 
'''สิกขาบท''' อธิบาย สิกขาบท 10 อันอุบาสกหรือบรรพชิต ผู้เข้ามาสู่พระศาสนาจะพึงศึกษาเป็นอันดับแรก, การสมาทาน สิกขาบท 10 สามเณรให้สมาทานในสำนักภิกษุเท่านั้น ส่วนอุบาสก สมาทานเอง หรือ สมาทานกับผู้อื่นก็ได้ ซึ่งสิกขาบท ข้อ 1-5 สำหรับสามเณร เมื่อสิกขาบทหนึ่งขาด ทุกสิกขาบทก็เป็นอันขาดเพราะสิกขาบทเหล่านั้น เป็นฐานที่ตั้งแห่งปาราชิกของสามเณร ขณะที่สิกขาบท ข้อ 1-5 สำหรับคฤหัสถ์ ถ้าสมาทานเป็นข้อๆ เมื่อศีลข้อหนึ่งขาดก็ขาดข้อเดียวเท่านั้น ถ้าสมาทานรวมกันเมื่อศีลข้อหนึ่งขาด ศีลที่เหลือก็เป็นขาดหมดทุกข้อ นอกจากนี้มีการระบุถึงองค์ประกอบในการละเมิดศีล 5 และผลจากการรักษาศีล 5
 
'''ทวัตติงสาการ''' อันหมายถึง ส่วนประกอบที่มีลักษณะต่างๆ กัน 32 อย่าง ในสังขารร่างกาย พระอรรถกาจารย์อธิบายว่า ก่อนเรียนกรรมฐาน พึงเป็นผู้ตั้งอยู่ในศีล ตัดกังวล 10 ประการ มีกังวลด้วยที่อยู่ เป็นต้น และเรียนกรรมฐานกับพระอาจารย์ผู้ให้กรรมฐาน ต่อจากนั้น พระอรรถกาจารย์ได้อธิบายเป็นลำดับว่า ผู้ทำกรรมฐานพึงเว้นเสนาสนะ 18 ประเภท มีอาวาสใหญ่ เป็นต้น แล้วเข้าไปยังเสนาสนะ ประกอบด้วยองค์ 5 ต่อมากล่าวถึงวิธีการเจริญอาการ 32 การแจกจแงว่า เนื้อมี 900 ชิ้น ทั่วร่างกาย เอ็นมี 900 ทั่วร่างกาย กระดูก มี 300 ชิ้น ประสาทรับรส 7,000 มีตระกูลหนอน 80 ตระกูล มีการพรรณนากายวิภาคอย่างละเอียดว่า หัวใจของคนปัญญามาก แย้มนิดหน่อย ของคนปัญญาอ่อน ตูมอย่างเดียวเลือดของคนราคจริตสีแดง ของคนโทสจริต สีดำ ของคนโมหจริตสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ ของคนวิตกจริตสีเหมือนน้ำเยื่อถั่วพู ของคนสัทธาจริตสีเหมือนดอกกรรณิการ์ ของคนปัญญาจริต ผ่องใสไม่ขุ่นมัว นอกจากนี้ในร่างกายมนุษย์นั้นลำใส้ใหญ่มีขดอยู่จำนวน 21 ขดของผู้ชายยาว 32 ศอก ของผู้หญิง 28 ศอก ในท้อง มีหนอน 32 ตระกูล ท้องจึงกลายเป็นบ้านเกิด เป็นส้วม เป็นโรงพยาบาลเป็นป่าช้าของหนอน ดังนี้เป็นต้น ซึ่งการพิจารณาร่างกายทั้ง 32 ส่วนนี้ เมื่อผู้พิจารณาปรากฏโดยความเป็นของไม่งาม ทั้งปรากฏชัดกว่าอันอื่นก็ให้ตรึกจรด ถูกวิตกจรดบ่อยๆ ก็จะทำปฐมฌานให้เกิด แล้วเริ่มวิปัสสนา ย่อมบรรลุอริยภูมิได้
 
'''กุมารปัญหา (สามเณรปัญหา)''' ว่าด้วยการถามปัญหากับโสปากสามเณร พระอรรถกถาจารย์ได้อรรถาธิบายคำตอบเพิ่มเติม มีคำอธิบายว่า เมื่อใดเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์นั่นเป็นทางแห่งวิสุทธิ เป็นอาทิ หรือผู้ใดเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์นี้เป็นทางแห่งวิสุทธิ และว่า ผู้ใดเห็นสุขเป็นทุกข์ เห็นทุกข์เป็นดังลูกศร เห็นอทุกขมสุขมีอยู่ ผู้นั้นชื่อว่า เห็นเวทนานั้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นต้น
 
'''มงคลสูตร''' อธิบายเพิ่มเติมเนื้อหาของมงคลสูตร เช่นระบุว่า การงดเว้นอกุศลธรรมบถ 10 ชื่อว่าวินัยของคฤหัสถ์ คฤหัสถ์ผู้ศึกษาแล้วในวินัยนั้น ชื่อว่าเป็นมงคล การขยายความเรื่องมงคลแห่งความกตัญญูว่า ผู้ใดบำรุงพ่อแม่ด้วยให้เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ด้วยให้ถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยการบรรพชา ผู้นั้นชื่อว่าได้ตอบแทนคุณมารดาบิดาแล้ว เป็นต้น พร้อมกับระบุในตอนท้ายว่า หลังจากที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสมงคลกถาจบ เทวดาแสนโกฏิ บรรลุอรหันต์ จำนวนผู้บรรลุโสดาปัตติผลสกทาคามิผล อนาคามิผล นับไม่ได้
 
'''รตนสูตร''' พระอรรถกาจารย์ พรรณาเบื้องหลังของการถือกำเนิดแห่งเมืองเวสาลี สถานที่แสดงพระสูตรนี้ และเป็นเมืงอที่บังเกิดภยันตรายต่างๆ จนต้องอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เสด็จมาเพื่อยับยั้งภยันตรายเหล่านั้น จากนั้นเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงกรุงเวสาลี ท้าวสักกะจอมเทพ และหมู่เทพก็เสด็จมาพระอานนท์ เรียนรัตนสูตร ที่ใกล้ประตูเมือง ถือเครื่องทำพลีกรรม เที่ยวเดินไประหว่าง ปราการ 3 ชั้น ทำพระปริตร พระอานนท์เอาบาตรของพระพุทธองค์ ตักน้ำมา เดินประพรมทั่วเมือง อมนุษย์ทลายกำแพงเมืองหนีไป มนุษย์ทั้งหลายที่มีโรค ก็สงบไป พอพระพุทธเจ้าตรัสพระคาถา ความสวัสดีก็เกิดแก่ราชสกุล ภัยก็ระงับไป พวก อมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ยอมรับพุทธอาชญา นอกจากนี้ พระอรรถกาจารย์ยังอธิบายเรื่องพระโสดาบัน อันเป็นเนื้อหาหลักส่วนหนึ่งของพระสูตรว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล แม้เป็นเวลาที่กัปไหม้ กัปก็จะยังไม่พึงไหม้ตราบเท่าที่บุคคลนี้ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ ตลอดกัป
 
'''ติโรกุฑฑสูตร''' ว่าด้วยการให้ส่วนบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และการให้ส่วนบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วทันที อาทิ การระบุว่า ทักษิณา ย่อมสำเร็จผลในขณะนั้น ก็ด้วยองค์ 3 คือ ด้วยการอนุโมทนาด้วยตนเองของเปรตทั้งหลาย , ด้วยการอุทิศของทายกทั้งหลาย , ด้วยการถึงพร้อมแห่งทักขิไณยบุคคล
 
'''นิธิกัณฑสูตร''' ว่าด้วย นิธิ หรือ ขุมทรัพย์ มี 4 ประการ กล่าวคือ ถาวรนิธิ คือทรัพย์ที่ถาวรมั่นคง เช่น ที่นาหรือที่ดิน, ชงคมนิธิ คือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเอง เช่น ช้าง โคม้า ลา แพะ, อังคสมนิธิ คือทรัพย์ทางปัญญา กล่าวคือวิทยาการความรู้ต่างๆ ที่ร่ำเรียนมา และอนุคามิกนิธิ คือทรัพย์อันประเสริฐอันเกิดแต่บุญที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จด้วยศีล ที่สำเร็จด้วยภาวนา ซึ่งทรัพย์อื่อนๆ ภายนอกกายนั้น อาจเสื่อมสูญสลายไปได้ แต่ทรัพย์อันเกิดแต่ทาน ศีล ภาวนา ไม่สูญหาย แต่จะฝังไว้ในจิตสันดานเดียว
 
'''เมตตสูตร''' ว่าด้วยการแผ่เมตตาในสัตว์ทั้งปวง โดยพระอรรถกถาจารย์อธิบายที่มาของพระสูตรนี้ว่า พระพุทธเจ้าทรงตรัสเมตตสูตร แก่ภิกษุที่ถูกเทวดารบกวน ข้างภูเขาหิมวันต์เพื่อป้องกัน และเป็นกรรมฐาน พร้อมอธิบายเพิ่มว่า ภิกษุผู้อยู่ป่าควรรู้จักบริหาร คือ แผ่เมตตา 2 เวลา คือ ทำเวลาเย็นและเช้า ทำพระปริตร 2 เวลา เจริญอสุภ 2 เวลา เจริญมรณัสสติ 2 เวลา และพึงนึกถึงมหาสังเวควัตถุ 8 คือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ อบายทุกข์ 4 ทั้ง 2 เวลา และตัวอย่าง การกำหนดธรรม เมื่อ ออกจากเมตตาฌานแล้ว
 
== อ้างอิง ==