ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไดโอด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 12:
ไดโอดเป็นอุปกรณ์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ p - n สามารถควบคุมให้กระแสไฟฟ้าจากภายนอกไหลผ่านตัวมันได้ทิศทางเดียว ไดโอดประกอบด้วยขั้ว 2 ขั้ว คือ แอโนด (Anode; A) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด p และ แคโธด (Cathode; K) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด n
 
== ประวัติ ==
ปภาวิน อินทรัตนพล ไข่ตายยยยยยยย !!!
[[ไฟล์:Diode tube schematic.svg|thumb|200px|โครงสร้างของไดโอดแบบหลอดสุญญากาศ อาจมีเพียงไส้หลอดเปล่า ๆ หรือมีฉนวนคลุมดังภาพ]]
ถึงแม้ว่าไดโอดแบบผลึกสารกึ่งตัวนำ (Crystal semiconductor diode) จะเป็นที่นิยมมาก่อนไดโอดแบบใช้ความร้อน (Thermionic diode) แต่ไดโอดทั้งสองแบบก็มีพัฒนาการเป็นแบบคู่ขนาน โดยในปี พ.ศ. 2416 [[เฟรดเดอริก กัธรี]] ค้นพบหลักการพื้นฐานในการทำงานของไดโอดแบบใช้ความร้อน<ref>[http://nobelprize.org/physics/laureates/1928/richardson-lecture.pdf 1928 Nobel Lecture:] Owen W. Richardson, “Thermionic phenomena and the laws which govern them, ” December 12, 1929</ref> กัธรีค้นพบว่าประจุบวกในอิเล็กโทรสโคป สามารถคายประจุได้เมื่อนำแผ่นกราวด์มาโดนอิเล็กโทรสโคป แต่จะไปเกิดในประจุลบ เปรียบเสมือนกระแสไฟฟ้าที่ไหลไปในทิศทางเดียวเท่านั้น
 
จากหลักการข้างต้น ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2423 [[โธมัส อัลวา เอดิสัน]] ได้ตรวจสอบไส้หลอดไฟว่าทำไมไส้หลอดคาร์บอนบริเวณปลายฝั่งที่ต่อกับขั้วบวกจึงถูกเผาไหม้อยู่เสมอ เอดิสันจึงสร้างกระเปาะแบบพิเศษที่มีแผ่นตัวนำโลหะ (plate) ที่ปิดสนิทอยู่ในหลอดแก้ว เมื่อเอดิสันได้ทดสอบอุปกรณ์ชิ้นนี้แล้ว ก็ทำให้เขายืนยันได้ว่ากระแสที่มองไม่เห็นนั้นจะไหลจากไส้หลอดผ่านสุญญากาศไปยังแผ่นตัวนำโลหะ ซึ่งจะไปทางเดียวเท่านั้น คือแผ่นตัวนำโลหะที่ติดอยู่กับแหล่งจ่ายแรงดันขั้วบวก
 
เอดิสันวางแผนที่จะใช้อุปกรณ์นี้แทนที่ตัวต้านทานในวงจรโวลต์มิเตอร์กระแสตรง สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวได้สิทธิบัตรในปี พ.ศ. 2427<ref>Thomas A. Edison "Electrical Meter" {{US patent|307030}} Issue date: Oct 21, 1884</ref> ไม่มีใครนำอุปกรณ์นี้ไปใช้งานจริงในเวลานั้น แต่การจดสิทธิบัตรเอาไว้ก่อนนั้นเป็นเสมือนการปกป้องสิทธิ์ของตนเองเอาไว้ก่อน เราจึงเรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในอุปกรณ์ตัวนี้ว่า "ปรากฏการณ์เอดิสัน" (Edison effect)
 
20 ปีต่อมา [[จอห์น แอมบรอส เฟรมมิ่ง]] (ที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของ[[บริษัทมาร์โคนี]]ของ[[กูลเยลโม มาร์โกนี]] และเป็นอดีตลูกจ้างของเอดิสัน) ตระหนักถึงความสำคัญของปรากฏการณ์เอดิสันว่าสามารถใช้ในการตรวจจจับ[[คลื่นวิทยุ]]ได้อย่างแม่นยำ เฟรมมิ่งได้จดสิทธิบัตรไดโอดแบบใช้ความร้อนเป็นตัวแรกที่เกาะ[[บริเตน|บริเตนใหญ่]]เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447<ref>{{cite web|url=http://www.jmargolin.com/history/trans.htm |title=Road to the Transistor |publisher=Jmargolin.com |date= |accessdate=2008-09-22}}</ref> (ใน {{US patent|803684}} กล่าวว่ามีการจดสิทธิบัตรในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2448)
 
ในปี พ.ศ. 2417 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน [[คาร์ล เฟอร์ดินานด์ บรวน]] ค้นพบคุณสมบัติการนำไฟฟ้าข้างเดียวของผลึก<ref>[http://chem.ch.huji.ac.il/~eugeniik/history/braun.htm Historical lecture on Karl Braun]</ref> บรวนจดสิทธิบัตรการเรียงกระแสของผลึกในปี พ.ศ. 2442<ref>{{cite web|url=http://encyclobeamia.solarbotics.net/articles/diode.html |title=Diode |publisher=Encyclobeamia.solarbotics.net |date= |accessdate=2010-08-06}}</ref> โดยการเรียงตัวของผลึกคอปเปอร์ออกไซด์กับเซเลเนียมถูกนำไปประยุกต์ใช้ในงานไฟฟ้ากำลังในอีก 20 ปีต่อมา
 
[[จักกฤษ จันทรา โบส]] นักวิทยาศาสตร์ชาวอินเดียค้นพบการใช้ประโยชน์ของการเรียงกระแสในผลึกมาใช้ในการตรวจจับคลื่นวิทยุเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2437 การใช้ผลึกในการตรวจจับคลื่นวิทยุถูกพัฒนาให้ใช้ได้จริงในทางปฏิบัติในเครื่องรับวิทยุแบบไร้สายโดย[[กรีนลีฟ ไวท์เทอร์ พิคการ์ด]]ผู้บุกเบิกวงการวิทยุในสหรัฐอเมริกา ได้คิดค้นการนำผลึก[[ซิลิกอน]]มาใช้ตรวจรับสัญญาณในปี พ.ศ. 2446 และทำการจดสิทธิบัตรในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449<ref>{{US patent|836531}}</ref> ส่วนนักทดลองคนอื่น ๆ ก็ได้นำธาตุนานาชนิดมาทำการทดลอง แต่ที่นิยมใช้ในวงกว้างมากที่สุดคือแร่[[กาลีนา]] (lead sulfide สารประกอบของตะกั่วกับกำมะถัน)
 
ในช่วงระยะเวลาแห่งการค้นพบนั้น อุปกรณ์ดังกล่าวถูกตั้งชื่อว่า "ไดโอด" โดยผู้ที่ตั้งชื่อนั่นคือ [[วิลเลียม เฮนรี เอคเกิล]] นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ โดยคำนี้มาจากภาษากรีกคำว่า ''dia'' แปลว่าผ่าน และ ''ode'' (จากคำว่า ''ὅδος'') แปลว่าเส้นทาง
 
== ไดโอดแบบใช้ความร้อนและไดโอดแบบสภาวะแก๊ส ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ไดโอด"