ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กฤษณา ไกรสินธุ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
| image = กฤษณา ไกรสินธุ์.jpg
| imagesize = 250 px
| caption = ศ.ภกญ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์
| caption =
| birth_date = {{วันเกิดและอายุ|2495|2|21}}
| birth_place = [[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]] [[ประเทศไทย]]
บรรทัด 35:
== ประวัติ ==
=== วัยเยาว์และชีวิตการทำงานในไทย [2495 - 2545] ===
กฤษณาเกิดเมื่อวันที่ [[21 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2495]] เป็นชาว[[เกาะสมุย]] [[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]] ทางตอนใต้ของ[[ประเทศไทย]] เป็นบุตรของร้อยตรี นายแพทย์ สมคิด และนางเฉลิมขวัญ ไกรสินธุ์ ซึ่งทั้งสองเป็นผู้ประกอบทางวิชาชีพทางสาธารณสุข บิดาเป็นแพทย์และมารดาเป็นพยาบาล ส่วนอาคือ พลเรือโท อรุณ ไกรสินธุ์ รับราชการทหารเรือ(ถึงแก่[[อนิจกรรม]]<ref>http://www.navy.mi.th/showfile3.php?id=3965</ref> วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554<ref>http://board2.yimwhan.com/show.php?user=chayothorn&topic=10&Cate=3</ref>) กฤษณาเติบโตในวัยเยาว์ที่[[เกาะสมุย]] จนกระทั่งย้ายเข้ามาศึกษาระดับมัธยมศึกษา ณ [[โรงเรียนราชินี]] และเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ณ [[คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]] หลังจากนั้นเธอได้เข้าศึกษาในระดับปริญญาโท สาขา[[เภสัชวิเคราะห์]] [[มหาวิทยาลัยสตรัชคไลด์]] และปริญญาเอก สาขา[[เภสัชเคมี]] [[มหาวิทยาลัยบาธ]] [[สหราชอาณาจักร]] ภายหลังสำเร็จการศึกษาแล้วเธอได้ทำงานเป็นอาจารย์ประจำ[[คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]] และดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมีในปี [[พ.ศ. 2524]] ก่อนจะลาออกมาทำงาน ณ สถาบันวิจัยและพัฒนา[[องค์การเภสัชกรรม]]
 
กฤษณาเป็นผู้ริเริ่มการวิจัยยาต้านเชื้อไวรัส[[เอดส์]]ในประเทศไทย จนกระทั่งประสบความสำเร็จในการผลิตยาสามัญชื่อ "ยาเอดส์" เป็นครั้งแรกในโลก ในปี [[พ.ศ. 2538]] โดยประสบความสำเร็จในการผลิตยาชนิดแรกคือ "ZIDOVUDINE" (AZT) มีฤทธิ์ในการลดการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ภายหลังการค้นคว้าวิจัยต่อยากว่า 3 ปี ([[พ.ศ. 2536]] - [[พ.ศ. 2538|2538]]) หลังจากนั้นเธอได้ริเริ่มผลิตยาอีกหลายชนิด โดยเฉพาะยา "GPO-VIR" หรือยาต้านเอดส์สตรีคอกเทลล์ ซึ่งเป็นการรวมตัวยารักษาโรคเอดส์กว่า 3 ชนิดในเม็ดเดียวเป็นครั้งแรกในโลก จนกระทั่งในปี [[พ.ศ. 2542]] [[องค์การอนามัยโลก]]เชิญกฤษณาไปที่[[ทวีปแอฟริกา]]เพื่อช่วยเหลือด้าน[[เภสัชกรรม]] หลังจากนั้น ในปี [[พ.ศ. 2545]] กฤษณาจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม