ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หมาจิ้งจอกทอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 44:
มีความยาวลำตัวและหัว 60-75 [[เซนติเมตร]] ความยาวหาง 20-25 เซนติเมตร น้ำหนัก 8-9 [[กิโลกรัม]] กระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง จึงทำให้มี[[ชนิดย่อย]] ถึง 13 ชนิด<ref name="itis">[http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt?search_topic=TSN&search_value=183817 จาก itis.gov]</ref> (ดูในตาราง-สำหรับในประเทศไทย เป็นชนิด ''[[Canis aureus cruesemanni|C. a. cruesemanni]]''<ref>[[บุญส่ง เลขะกุล|Lekagul, B]]. & McNeely, J. ''Mammals of Thailand'', Darnsutha Press; Second edition edition (January 1, 1988), ISBN 974-86806-1-4</ref>) พบตั้งแต่ใน[[ยุโรปตะวันออก]], [[แอฟริกาเหนือ]], [[แอฟริกาตะวันออก]], [[ตะวันออกกลาง]], [[ปากีสถาน]], [[อัฟกานิสถาน]], [[อินเดีย]], [[เนปาล]], [[สิกขิม]], [[ภูฏาน]], [[พม่า]], [[ไทย]], ภาคเหนือของ[[กัมพูชา]], [[ลาว]] และภาคกลางของ[[เวียดนาม]]
 
หมาจิ้งจอกทอง สามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่หลากหลายได้ ทั้ง [[ป่าเต็งรัง]], [[ป่าเบญจพรรณ]] หรือพื้นที่เสื่อมโทรมตามหมู่บ้าน กินอาหารได้หลากหลาย ทั้ง[[พืช]]และ[[สัตว์]] เช่น [[นก]], [[สัตว์เลื้อยคลาน]], [[สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ]], ซากพืช ซากสัตว์ บางครั้งอาจขโมยอาหารหรือสัตว์เลี้ยงจาก[[มนุษย์]] หรืออาจจะล่าสัตว์กีบขนาดเล็ก เช่น ลูกกวาง, ลูกแอนทีโลป เป็นอาหารได้<ref name="meetW">''MEET THE JACKALS'', "Animal Planet Sunday Showcase" สารคดีทางแอนิมอลพลาเน็ต. ทางทรูวิชั่นส์: อาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2556</ref> หมาจิ้งจอกทองมีระบบประสาทตา หู จมูก ดีเยี่ยม ในช่วงผสมพันธุ์อาจพบเห็นอยู่ด้วยกันเป็นคู่ ออกล่าเหยื่อใน[[กลางคืน|เวลากลางคืน]]และพักผ่อนใน[[กลางวัน|เวลากลางวัน]] แต่บางครั้งอาจพบเห็นได้ช่วงพลบค่ำหรือเช้าตรู่ ชอบส่งเสียงหอน "ว้อ" เป็นระยะ ๆ ตลอดทั้งคู่ มีพฤติกรรมจับคู่อยู่เป็นผัวเดียวเมียเดียวตลอดชีวิต ตัวผู้มีหน้าที่เลี้ยงดูครอบครัว ขณะที่ตัวเมียจะทำหน้าที่เลี้ยงลูกเป็นหลัก แต่ก็อาจช่วยตัวผู้ล่าเหยื่ิอเหยื่อได้ในบางครั้งที่เหยื่อมีขนาดใหญ่<ref name="meetW"/> สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ออกลูกครั้งละ 3-5 ตัว มีระยะเวลาการให้นมลูก 60-63 วัน เมื่อตัวแม่ออกไปหาอาหารมักทิ้งลูกในอยู่ตามลำพัง มีอายุยืนประมาณ 12 ปี ปัจจุบันจัดเป็น[[สัตว์ป่าคุ้มครอง]] ตาม[[พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535]]<ref>หน้า 55-56, ''สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน'' (กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543) โดย กองทุนสัตว์ป่าโลก ISBN 974-87081-5-2</ref>
 
== อ้างอิง ==