ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเล่นกีฬาของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
 
== เรือใบ ==
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในกีฬาเรือใบเป็นพิเศษ เนื่องจากพระองค์ท่านโปรดปรานการช่างอยู่แต่เดิมแล้ว เรือใบของพระองค์จะทรงต่อด้วยพระองค์เอง และจะทรงทดลองแล่นในสระน้ำภายใน[[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]] เรือใบฝีพระหัตถ์ลำแรกที่ทรงต่อด้วยพระองค์เองเป็นเรือใบพระที่นั่งเอ็นเตอร์ไพรส์ โดยพระราชทานชื่อเรือว่า "ราชปะแตน" และต่อมาทรงต่อเรือใบประเภท โอ เค ขึ้นอีก พระราชทานชื่อว่า "นวฤกษ์" ซึ่งเรือนวฤกษ์นี้เอง ทรงนำมาใช้ในการแข่งขันกีฬาเรือใบในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 นอกจากนี้พระองค์ท่านยังทรงคิดค้น ออกแบบ และสร้างเรือใบขึ้นมาด้วยพระองค์เองอีก พระราชทานชื่อว่า "เรือใบแบบมด" ทรงมีรับสั่งว่า "ที่ชื่อมดนั้นเพราะมันกัดเจ็บ ๆ คัน ๆ ดี" ต่อมาทรงพัฒนาเรือแบบมดขึ้นมาใหม่โดยได้พระราชทานชื่อว่า เรือใบ "แบบซูเปอร์มด" และเรือใบในตระกูลมดนี้ลำสุดท้ายที่ทรงออกแบบคือเรือใบ "แบบไมโครมด" ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่นักแล่นเรือใบทั้งหลาย
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงต่อเรือขึ้นมาอีกลำหนึ่งเป็นเรือใบประเภท โอ เค พระราชทานชื่อเรือว่า "VEGA" หรือ [[เวกา (ดาวฤกษ์)|เวคา]] (ชื่อ[[ดาวฤกษ์]]ดวงหนึ่งที่สุกสว่างมาก) ทรงใช้เรือลำนี้เสด็จฯ ข้าม[[อ่าวไทย]]จาก[[พระราชวังไกลกังวล]][[หัวหิน]] ไปขึ้นฝั่งที่หาดเตยงามใน[[นาวิกโยธินแห่งราชอาณาจักรไทย|หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน]]ด้วยลำพังพระองค์เอง เมื่อวันที่ [[19 เมษายน]] [[พ.ศ. 2509]] ซึ่งในการต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหางเสือเรือเวคา เพื่อเป็นรางวัลนิรันดรในการแข่งขันเรือใบระยะทางไกลของประเทศไทย นอกจากนี้ยังทรงก่อตั้งสโมสรเรือใบส่วนพระองค์ขึ้นคือสโมสรเรือใบจิตรลดา ทั้งยังมีพระมหากรุณาธิคุณรับสโมสรเรือใบต่าง ๆ มาไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์เช่น สโมสรเรือใบราชวรุณ สโมสรเรือใบ[[กรมอู่ทหารเรือ]] สโมสรเรือใบ[[ฐานทัพเรือสัตหีบ]] สโมสรเรือใบนาวิกโยธิน และสโมสรเรือใบ[[กองเรือยุทธการ]] เป็นต้น
 
ด้วยเหตุที่โปรดการต่อเรือใบประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว [[หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี]] ได้ทรงเล่าถึงพระราชดำรัสขององค์ท่านในหนังสือ อสท. เรื่องทรงเรือใบ ฉบับวันที่ [[5 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2534]] ไว้ว่า "ปีใหม่คนอื่น ๆ เขาไปฉลองกัน เสียเงินมาก แต่เราเสีย ๑๔๗147 บาท เท่านั้น เป็นค่าไม้ยมหอม และค่าเบียร์ฉลองปีใหม่ แต่เรายังสนุกกว่าเขาอีก แล้วเป็นประโยชน์ด้วย"
 
จากพระราชดำรัสที่กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าพระองค์ท่านทรงให้ความสนพระทัยในการกีฬาเรือใบนี้ด้วยพระราชหฤทัยอย่างแท้จริง จึงได้ทรงต่อเรือใบด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ซึ่งมีเพียงแต่พระองค์ท่านที่เป็นพระประมุขของชาติไทยพระองค์เดียวในโลกนี้เท่านั้นที่มีพระปรีชาสามารถในด้านเรือใบ
บรรทัด 16:
นอกจากนี้แล้ว ในพิธีเปิดการแข่งขัน[[ฟุตบอลโลก 2006|ฟุตบอลโลกครั้งที่ 18]] ที่[[ประเทศเยอรมนี]] ซึ่งตรงกับ[[งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๔๙|พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี]] นาย[[ฟรานซ์ เบคเคนบาวร์]] (Franz Beckenbauer) ประธานจัดการแข่งขันได้กล่าวสดุดีพระเกียรติยศในด้านการกีฬาของพระองค์ท่านด้วย
 
ด้วยพระราชกรณียกิจที่ทรงพระปรีชาสามารถทางการกีฬาจนเป็นที่เลื่องลือ และได้มีการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์วงการกีฬาอันเป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลก [[คณะกรรมการโอลิมปิกสากล]]จึงได้มีมติเป็นเอกฉันท์ และได้ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทองดุษฏีกิตติมศักดิ์ของ โอลิมปิก คือ "อิสริยาภรณ์โอลิมปิกสูงสุด (ทอง) " เมื่อวันที่ [[14 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2530]] นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทยในรอบ 700 ปีที่ทรงได้รับเกียรติยศดังกล่าว นับตั้งแต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์สถาปนาไทยมานอกจากนี้สภา[[มหาวิทยาลัยมหิดล]]ก็ได้ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาวิทยาศาสตร์[[ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์]] สาขา[[วิทยาศาสตร์การกีฬา]] เมื่อวันที่ [[8 สิงหาคม]] พ.ศ. 2534
 
== ทรงร่วมแข่งขันกีฬาแหลมทอง ==
บรรทัด 23:
และทรงชนะเลิศการแข่งขันเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม โดยทรงขึ้นรับเหรียญทองบนแท่นเหมือนนักกีฬาทั่วไป ในพิธีปิด ณ [[สนามศุภชลาศัย]] ซึ่งจากเหตุการณ์นี้ ต่อมา[[คณะรัฐมนตรี]]มีมติเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 16 ธันวาคม ของทุกปี เป็น[[วันกีฬาแห่งชาติ]]
 
นอกจากนี้แล้วยังทรงรับการแข่งขันกีฬา[[เอเชียนเกมส์ 1966|เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 5]], [[เอเชียนเกมส์ 1970|6]] และ [[เอเชียนเกมส์ 1978|8]] รวมทั้ง[[กีฬาแหลมทอง 1967|กีฬาแหลมทองครั้งที่ 4]], [[กีฬาแหลมทอง 1975|8]] และ [[กีฬาซีเกมส์ 1985|13]] ซึ่งทั้งหมดนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตลอดจนทรงเป็นองค์ราชูปถัมภ์ของสมาคมกีฬาสมัครเล่นหลายสมาคมอีกด้วย
 
=== แบดมินตัน ===
กีฬาแบดมินตันเป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่ง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดปรานมาก เมื่อครั้งที่พระราชภารกิจยังไม่มากมายเหมือนเช่นปัจจุบันนี้ พระองค์ทรงนิยมเล่นหลายประเภท ทั้งประเภทคู่ และประเภทสามคน ในช่วงเวลานั้น กีฬาแบดมินตันของประเทศ ไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลาย แต่ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งกับผู้ใกล้ชิดว่า กีฬาแบดมินตันเป็นกีฬาหนึ่งในไม่กี่ประเภทที่[[คนไทย]]สามารถที่จะไต่เต้าไปสู่ระดับโลกได้ เพราะไม่เสียเปรียบ ทางด้านรูปร่าง และพละกำลังมากจนเกินไป มีรับสั่งถึงประเด็นนี้หลายครั้งและต่อมา ได้พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ให้กับ[[สมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย]] เมื่อ [[พ.ศ. 2493]][[พุทธศักราช 2493]] พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแบดมินตันอย่างนักกีฬาโดยแท้ คือไม่ทรงแสดงอาการกริ้ว หรือพิโรธอย่างใดเมื่อทรงลูกเสีย หรือแม้กระทั่ง ผู้ที่ถวายตีลูกเสีย หรือทรงถูกกระทบกระทั่งถึงพระวรกาย จากความเข้มข้นในเกมการเล่น ก็ไม่ทรงถือพระองค์แต่อย่างใด อันแสดงให้เห็นว่าทรงเป็นนักกีฬาที่มีน้ำใจ นักกีฬาอย่างแท้จริง นอกจากทรงแบดมินตันเป็นการส่วนพระองค์แล้ว ยังทรงสนพระทัยในการกีฬาแบดมินตันเป็นอันมาก ทรงสามารถวิเคราะห์ถึงการเล่น และรับสั่ง วิจารณ์ถึงวิธีการเล่นของนักแบดมินตันระดับโลกแต่ละคนได้เป็นอย่างดี และทรงนำมาปรับปรุงเพื่อพัฒนาฝีมือ เทคนิคการเล่นของพระองค์เอง กับทั้งทรงชี้แนะ พระราชทานข้อแก้ไขเทคนิคการเล่นแก่นักกีฬาของไทยด้วยพระเมตตา และพระกรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ก่อเกิดการพัฒนาอย่างใหญ่หลวง แก่กีฬาแบดมินตันในประเทศไทย จนเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศในเวทีแบดมินตันโลกได้ในที่สุด
 
ซึ่งในเรื่องพระจริยวัตรในกีฬาแบดมินตันตรงนี้ ในหนังสือของ [[ศาสตราจารย์]][[เจริญ วรรธนะสิน]] อดีตนักแบดมินตันทีมชาติไทย ความว่า