ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวมอญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 5271262 สร้างโดย 61.7.188.100 (พูดคุย)
บรรทัด 31:
ส่วนนาม รามัญ พบเก่าสุดใน[[มหาวังสะ]]ของ[[สิงหล]] ในสมัย[[พระเจ้าจานสิตา]]แห่ง[[อาณาจักรพุกาม|พุกาม]] พบคำนี้ในศิลาจารึกมอญ เขียนออกเสียงว่า รมีง ซึ่งในจารึกนั้น ก็พบคำเรียกพม่าอ่านว่า มิรมา อีกด้วย ส่วนในสมัยหงสาวดี พบจารึกแผ่นทอง เขียนอ่านว่า รมัน คล้ายกับที่ไทยเรียก รามัญ ส่วนในเขตรามัญเทสะ จะเรียกว่า มัน หรือ มูน ซึ่งใกล้กับคำว่า มอญ ในภาษาไทย
 
== ประวัติ ==
มอญเป็นชนชาติเก่าแก่ มีอารยธรรมรุ่งเรืองมากชนชาติหนึ่ง จาก[[พงศาวดาร]][[พม่า]]กล่าวว่า้่ร่้ี่น่้ีรั้ี้ีรรารยนนว่า "มอญเป็นชนชาติแรกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่า มาเป็นเวลาหลายศตวรรษก่อนคริสตกาล" คาดว่าน่าจะอพยพมาจากตอนกลางของ[[ทวีปเอเชีย]] เข้ามาตั้งอาณาจักรของตนทางตอนใต้ บริเวณลุ่ม[[แม่น้ำสาละวิน]] และ[[แม่น้ำสะโตง]] ซึ่งบริเวณนี้ในเอกสารของจีน และอินเดียเรียกว่า "[[ดินแดนสุวรรณภูมิ]]"
 
ในพุทธศตวรรษที่ 2 ศูนย์กลางของอาณาจักรมอญคือ[[อาณาจักรสุธรรมวดี]]หรือสะเทิม (Thaton) จากพงศาวดารมอญ กล่าวไว้ว่าอาณาจักรสะเทิมสร้างโดยพระราชโอรส 2 พระองค์ของ[[พระเจ้าติสสะ]] แห่งแคว้นหนึ่งของอินเดีย ก่อนปี พ.ศ. 241 พระองค์นำพลพรรคลงเรือสำเภามาจอดที่[[อ่าวเมาะตะมะ]] และตั้งรากฐานซึ่งต่อมาเป็นที่ตั้งของเมือง อาณาจักรสะเทิมรุ่งเรืองมาก มีการค้าขายติดต่ออย่างใกล้ชิดกับประเทศอินเดียและลังกา และได้รับเอาอารยธรรมของอินเดียมาใช้ ทั้งทางด้าน[[อักษรศาสตร์]] และ[[ศาสนา]] โดยเฉพาะรับเอา[[พุทธศาสนานิกายหินยาน]]มา มอญมีบทบาทในการถ่ายทอดอารยธรรมอินเดียไปยังชนชาติอื่นอย่าง ชาวพม่า ไทย และลาว เจริญสูง มีความรู้ดีทางด้านการเกษตร และมีความชำนาญในการชลประทาน โดยเป็นผู้ริเริ่มระบบ[[ชลประทาน]]ขึ้นในลุ่มน้ำอิรวดีทางตอนกลางของประเทศพม่า
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ชาวมอญ"