ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐบาล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jaruvitadd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
บรรทัด 3:
 
'''รัฐบาล''' คือ[[องค์การ]]ที่มีอำนาจในการออกและบังคับใช้กฎหมาย สำหรับ[[ดินแดน]]หนึ่งๆ นิยามที่ชัดเจนของรัฐบาลนั้นมีอยู่หลายนิยาม ในกรณีทั่วไป รัฐบาล คือผู้ที่มีอำนาจใน[[การปกครอง]] กล่าวคือมีอำนาจในการบริหารจัดการเหนือพื้นที่ใดๆ หรือเหนือกลุ่มคน
รัฐบาล คือองค์การที่มีอำนาจในการออกและบังคับใช้กฎหมาย สำหรับดินแดนหนึ่งๆ นิยามที่ชัดเจนของรัฐบาลนั้นมีอยู่หลายนิยาม ในกรณีทั่วไป รัฐบาล คือผู้ที่มีอำนาจในการปกครอง กล่าวคือมีอำนาจในการบริหารจัดการเหนือพื้นที่ใดๆ หรือเหนือกลุ่มคน
รัฐ หมายถึง รูปแบบของสังคมแบบหนึ่ง ซึ่งมีอาณาเขตที่แน่นอน และอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล
รัฐบาล หมายถึง กลุ่มหรือองค์กรที่มีอำนาจสูงสุด ในการควบคุมสมาชิกของสังคม และถือว่าเป็นตัวแทนของคนทั้งสังคม ในกรณีที่มีการติดต่อสัมพันธ์กับสังคมอื่น
รูปแบบการปกครองของรัฐ
สามารถจำแนกได้เป็น 2 ระบบ คือ
1. การปกครองในระบอบประชาธิปไตย (Democracy)
2. การปกครองในระบอบเผด็จการ (Totalitarianism)
การปกครองในระบอบประชาธิปไตย (Democracy)
คือ การปกครองที่ประชาชนเป็นผู้ปกครองตนเอง ประชาชนรู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับตัวเขา และสามารถเรียนรู้ที่จะปกป้องผลประโยชน์เหล่านี้ภายใต้ระบบการเมือง ซึ่งจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างไม่มีขีดจำกัด ทำให้ประชาชนได้เข้าใจและสามารถตัดสินใจเพื่อประโยชน์ของตัวเองได้อย่างดีที่สุด
การปกครองในระบอบเผด็จการ (Totalitarianism)
เป็นระบอบที่ยึดอุดมการณ์ที่จะสร้างความเป็นหนึ่งให้เกิดขึ้นในชาติ เป็นการปกครองที่รัฐบาลมีอำนาจทั้งหมดในการควบคุมทรัพยากรของประเทศ และเป็นผู้กำหนดการผลิตของสังคม มากกว่าจะให้เป็นหน้าที่ของกลไกตลาด ตลอดจนเป็นผู้กำหนดค่านิยมของสังคม อุดมการณ์ที่ให้ประชาชนยึดถือ กฎหมายต่าง ๆ ออกโดยผู้นำรัฐบาล และมักมีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว
ผู้มีอำนาจที่แท้จริง
มีทฤษฎีที่อธิบายการใช้อำนาจในสังคมอยู่ 2 ทฤษฎี
1. ทฤษฎีพหุนิยม (Pluralism) อำนาจในสังคมกระจายอยู่ในกลุ่มคนหลายกลุ่ม สมาชิกแต่ละกลุ่มรวมตัวกันได้เพราะมีผลประโยชน์ร่วมกัน
2. ทฤษฎีพวกชั้นนำ (Elite/ Elitism) อำนาจที่แท้จริงในสังคมไม่ได้อยู่ที่ กลุ่มผลประโยชน์ หรือสมาชิกสังคมที่รวมตัวกันอยู่ในรูปกลุ่มต่าง ๆ แต่ อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่ชนชั้นนำของสังคมที่เข้ามาบริหารปกครองประเทศ
การมีส่วนร่วมทางการเมือง
เป็น ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ระบบการปกครองสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ มากที่สุดและไม่ถูกครอบงำโดยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่เข้ามามีอำนาจในการเมือง การปกครอง
แนวคิดเลสเตอร์ มิลเบรธ และโรเบิรต์ ดาลห์ ต่างเห็นว่าการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ ระดับที่ไม่สนใจการเมือง จนกระทั่งสนใจ เข้าไปมีบทบาททางการเมืองและเข้าไปมีบทบาทอย่างเข้มข้นในขั้นสุดท้าย
แนวคิดสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ และโรเบิรต์ ดาลห์ เห็นตรงกันว่า ผู้ที่ไม่สนใจการเมืองจะเป็นพวกที่มีการศึกษาต่ำกว่าและยากจนกว่าพวกที่สนใจการเมือง ดังนั้นในประเทศกำลังพัฒนาประชาชนส่วนใหญ่มักจะตกอยู่ในภาวะที่ยากจน การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในภูมิภาคนี้จึงน่าที่จะอยู่ในระดับที่ไม่ค่อยสนใจการเมืองเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งน่าจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทางการเมืองด้วย
สถาบันการเมือง (Political Institute)
การเมือง
หมายถึง การใช้อำนาจควบคุมให้บุคคลปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม เป็นเรื่องของการกำหนดว่าใครต้องได้รับอะไรเท่าไรในสังคม และต้องให้อะไรแก่สังคมเท่าใด เป็นการใช้อำนาจ จัดสรรอำนาจ เป็นเรื่องของการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ
อำนาจ (Power)
หมายถึง ความสามารถของบุคคลหรือกลุ่ม ที่จะทำให้คนอื่นหรือกลุ่มอื่น กระทำ หรือ ไม่กระทำการใด ๆ ไม่ว่าจะโดยความยินยอมหรือไม่ก็ตาม
1. พลังอำนาจ (Force)
2. อำนาจอันชอบธรรม (Legitimate power)
พลังอำนาจ (Force)
หมายถึงอำนาจที่ได้มาจากการใช้กำลัง พลัง ที่เหนือกว่าควบคุมผู้อื่น ซึ่งอาจเป็นการใช้อำนาจนั้นโดยตรง หรือโดยแอบแฝงก็ได้
1. การใช้กำลังอำนาจโดยตรง (Physical force)
หมายถึง การที่บุคคล หรือกลุ่มคนใช้กำลังที่เหนือกว่า เข้าควบคุมบังคับให้ผู้อื่น หรือกลุ่มอื่น ยอมตามที่ตนต้องการ
พลังอำนาจ (Force) (ต่อ)
2 . การใช้อำนาจแฝง (Latent force)
การใช้อำนาจที่ผู้ถูกใช้อำนาจควบคุม คาดว่า ถ้าตนไม่ปฏิบัติตามผู้ควบคุม หรือผู้มีอำนาจ ตนจะได้รับการลงโทษ
อำนาจอันชอบธรรม (Legitimate power)
เป็นอำนาจที่ได้รับการยอมรับจากประชาชน ว่าผู้มีอำนาจมีสิทธิที่จะควบคุม หรือเรียกร้องให้ผู้อื่นที่เป็นสมาชิกปฏิบัติตาม
1. สิทธิอำนาจตามประเพณี (Traditional Authority)
2. สิทธิอำนาจแบบบารมี (Charismatic Authority)
3. สิทธิอำนาจตามกฎหมาย (Rational - Legal Authority)
องค์กรทางการเมือง
การจัดองค์กรทางการเมือง เป็นการจัดกลุ่มสังคมให้เป็นระเบียบ เพื่อควบคุม และใช้อำนาจทางการเมืองให้เกิดความสงบสุขในการอยู่ร่วมกัน เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในสังคมที่มีความสลับซับซ้อน และมีการต่อสู้แย่งชิงอำนาจทางการเมืองสูง องค์กรทางการเมืองจะทำหน้าที่วางแผนระบบการผลิตและ กระจายทรัพยากรไปสู่สมาชิกของสังคม ควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกให้เป็นไปตามบรรทัดฐานที่สังคมกำหนด
การจัดองค์กรทางการเมือง
1.กลุ่ม (band)
2.ชนเผ่า (tribe)
3.อาณาจักร (chiefdom)
4.รัฐ (state)
1. กลุ่ม (band)
ประกอบไปด้วยกลุ่มเครือญาติรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ๆ มีการดำรงชีพแบบล่าสัตว์และเก็บหาอาหาร มีการอพยพเร่ร่อน เป็นกลุ่มขนาดเล็ก ที่พักอาศัยจะเป็นแบบชั่วคราวจึงมักไม่มีการจัดช่วงชั้นทางสังคม สถานะภาพสมาชิกมีความเท่าเทียมกัน การแบ่งงานขึ้นกับเพศและอายุ และไม่มีมโนทัศน์ในเรื่องทรัพย์สินส่วนตัว ทรัพยากรธรรมชาติเป็นของส่วนรวม สมาชิกทุกคนมีสิทธิใช้ร่วมกัน องค์กรทางการเมืองแบบกลุ่มไม่มีรูปแบบเป็นทางการ
2. ชนเผ่า (tribe)
คือ สมาชิกของเผ่ามักมีสถานภาพและฐานะค่อนข้างเท่าเทียมกัน ไม่มีความแตกต่างทางชนชั้น และไม่มีการจัดองค์กรการเมืองอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม สังคมชนเผ่ามักเป็นสังคมที่มีวิถีการผลิตแบบเกษตรกรรม และเลี้ยงสัตว์ จำนวนประชากรมีมากกว่าแบบกลุ่ม มักใช้อายุเป็นเกณฑ์สำคัญในการจำแนกฐานะและสถานภาพทางสังคมของสมาชิก ผู้อาวุโสได้รับความเคารพเนื่องจากเป็นผู้มีประสบการณ์มากกว่าสมาชิกคนอื่น ๆ
3. อาณาจักร (chiefdom)
เป็นรูปแบบทางการเมืองที่ใหญ่กว่าชนเผ่าและกลุ่มทั้งในด้านพื้นที่ และจำนวนประชากร มีการจัดตำแหน่งผู้นำทางการเมือง หรือ หัวหน้าอย่างแน่นอนชัดเจน ลักษณะการปกครองเป็นการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่มหัวหน้า หรือผู้นำจากชุมชนต่างๆ
4. รัฐ (state)
คือหน่วยทางการเมืองที่เป็นอิสระ ครอบคลุมชุมชนหลายๆ แห่งภายในอาณาเขตแห่งหนึ่ง มีรัฐบาลกลางซึ่งมีอำนาจในการบริหารงาน ตลอดจนมีอำนาจในการออกกฎหมาย สังคมรัฐเป็นสังคมขนาดใหญ่ ทำหน้าที่ควบคุมดูแลความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยในสังคม รัฐทำการผูกขาดสิทธิในการใช้กำลังและความรุนแรง มีการพัฒนาหน่วยงานและบุคลากรขึ้นมาเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยโดยตรง
 
[[หมวดหมู่:การปกครอง]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/รัฐบาล"