ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 185:
|-
|-
| valign = "top" |15. [[นิเวศน์ นันทจิต|รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ นิเวศน์ นันทจิต]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/152/9.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (นายนิเวศน์ นันทจิต)]</ref> - ปัจจุบัน<br />
| valign = "top" |10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน<br />
|-
บรรทัด 334:
* บริเวณค่ายสำรวจคณะวิศวกรรมศาสตร์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 17 ไร่
* พื้นที่บริจาคให้แก่คณะแพทยศาสตร์ 12 ไร่
* [[ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หริภุญชัย| (พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ แม่ธิ-แม่ตีบ-แม่สาร]]) ตำบลศรีบัวบาน อ.เมือง จ.ลำพูน 4,726 ไร่
* ที่ราชพัสดุ ต.แม่สา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 12 ไร่
 
บรรทัด 340:
 
[[ไฟล์:Hor Thum at CMU.JPG|300px|thumb|ศาลาธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]]
; [[ศาลาธรรม]] : ศาลาธรรมเป็นอาคาร 2 ชั้น ทรงไทย ตั้งอยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัย ตัวอาคารประกอบด้วยห้องโถงกว้าง12 เมตร ยาว 20 เมตร สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2507 ต่อมาได้มีการต่อเติมตัวอาคารด้านหลังและทำซุ้มเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย ในระยะแรกศาลาธรรมเป็นสถานที่จัดพิธีไหว้ครูของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อศาลาอ่างแก้วสร้างเสร็จจึงได้ประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและพิธีไหว้ครู ณ ศาลาอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยจึงใช้ศาลาธรรมเป็นสถานที่เปลี่ยนฉลองพระองค์ และประทับพักพระอิริยาบถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและพระบรมวงศานุวงศ์ในคราวเสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งเหล่าคณาจารย์ ข้าราชการ และนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็จะมาเฝ้ารอรับเสด็จ ณ สถานที่แห่งนี้ ต่อมาเมื่อหอประชุมมหาวิทยาลัยสร้างเสร็จจึงได้ย้ายสถานที่พระราชทานปริญญาบัตรและพิธีไหว้ครูไปยังหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยจึงได้ใช้ศาลาธรรมเป็นสถานที่จัดงานสำคัญๆของมหาวิทยาลัยในบางโอกาส เช่น การจัดงานแสดงความยินดี และงานเลี้ยงรับรองผู้มีเกียรติของมหาวิทยาลัย เป็นต้น
 
; ศาลพระภูมิ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้จัดตั้งศาลพระภูมิประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้นเมื่อ วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 บริเวณหน้าตึกมหาวิทยาลัยหรือศาลาธรรมในปัจจุบัน ซึ่งศาลพระภูมิของมหาวิทยาลัยเป็นเสมือนศูนย์รวมจิตใจของนักศึกษามหาวิทยาเชียงใหม่ สมัยหนึ่ง เคยมีผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำริให้โค่นศาลพระภูมินี้ทิ้ง แต่ก็ไม่มีใครกล้าเป็นแกนนำ เพราะ ณ ที่นี้มีตำนานเก่าแก่โบราณเล่าขาน เคยมีนักศึกษาบางคนเห็นเจ้าที่โบกมือให้ เรื่องนี้เป็นเรื่องเล่าต่อๆกันมานับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2514 รายละเอียดเพิ่มเติมของเรื่องลึกลับนี้ สามารถหาอ่านได้จากหนังสือ เรื่องลึกลับของวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ในฐานะศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งได้อ้างอิงและมีบันทึกเรื่องราวความลึกลับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งหมดทุกแง่มุม
บรรทัด 358:
 
[[ไฟล์:ประเพณีรับน้องขึ้นดอย 2556.jpg|356px|thumb|ประเพณีรับน้องขึ้นดอย ประจำปีการศึกษา 2556]]
; [[ประเพณีรับน้องขึ้นดอย]] :
ปี [[พ.ศ. 2507]] เป็นปีแรกของการเปิดดำเนินการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 291 คน ศาสตราจารย์ นายแพทย์บุญสม มาร์ติน ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีที่รับผิดชอบดูแลนักศึกษามีความคิดที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีประเพณีที่แตกต่างไปจากมหาวิทยาลัยอื่น และเป็นประเพณีที่น่าประทับใจ น่าจดจำไว้ด้วยความภาคภูมิใจ ประกอบกับจังหวัดเชียงใหม่มีหนทางขึ้นดอยสุเทพ โดยครูบาศรีวิชัยเป็นผู้นำในการทำหนทางดังกล่าว นับว่าเป็นผลงานที่แสดงถึงความศรัทธาและความสามัคคีเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นหลังจากการปฐมนิเทศนักศึกษาในปีแรกแล้ว จึงได้ชักชวนนักศึกษารุ่นแรกทุกคนเดินขึ้นดอยสุเทพพร้อมกันด้วยความสามัคคี เพื่อนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ ด้วยความศรัทธาและแสดงถึงความเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่อย่างสมบูรณ์ ประเพณีดังกล่าวนี้นักศึกษารุ่นหลังยังคงปฏิบัติสืบต่อกันมาตราบจนทุกวันนี้และเป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ที่น่าภาคภูมิของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเพณีรับน้องขึ้นดอยเป็นประเพณีของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่จัดขึ้นประมาณต้นเดือนกรกฎาคมของทุกปี ตามประวัติแล้วประเพณีนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ลูกช้างเชือกใหม่ทุกคน และดอยสุเทพซึ่งวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวเชียงใหม่ โดยในวันรับน้องขึ้นดอยนั้นแต่ละคณะจะจัดตั้งขบวนบริเวณหน้าศาลาธรรมตั้งแต่เช้าตรู่โดยริ้วขบวนจะประกอบไปด้วยเฟรชชีและพี่ๆแต่ละชั้นปีเดินขึ้นไปพร้อมกันโดยทุกคนจะแต่งกายแบบล้านนาทำให้มีสีสันสวยงามตื่นตาตื่นใจ
 
 
; [[ประเพณีรับน้องรถไฟ]] :
ประเพณีน้องรถไฟเป็นกิจกรรมหนึ่งของการรับน้องของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นประเพณีประจำปีอย่างหนึ่งที่จัดขึ้นโดยรุ่นพี่ของแต่ละคณะจะมาต้อนรับนักศึกษาใหม่ที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ และอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครหรือพื้นที่นอกเขตภาคเหนือ โดยจะเริ่มต้นกิจกรรมกันที่สถานีรถไฟหัวลำโพง โดยปกติจะเหมารถไฟ ชั้น 3 ทั้งขบวน (ทั้งหมดหลายขบวน) โดยแบ่งตู้รถไฟกันตามคณะและจำนวนของรุ่นพี่และรุ่นน้องในคณะนั้นๆ โดยรุ่นพี่ของแต่ละคณะก็จะเตรียมกิจกรรมและเกมส์ต่างๆ มีการสอนร้องเพลงประจำแต่ละคณะ เพลงประจำมหาวิทยาลัย เป็นต้น ซึ่งเป็นการให้รุ่นน้องได้ทำกิจกรรมบนรถไฟเกือบตลอดทั้งคืนที่รถไฟวิ่งมุ่งหน้าไปยังจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งโดยปกติเมื่อไปถึงจังหวัดเชียงใหม่แล้วรุ่นพี่จะพาน้องใหม่ไปไหว้พระที่ศาลาธรรมเป็นเหมือนการรับขวัญน้องที่มาใหม่จากแดนไกล หลังจากนั้นรุ่นพี่ก็จะพาน้องใหม่เข้าไปพักตามหอพักนักศึกษา (หอใน) ที่น้องใหม่จองไว้ตั้งแต่วันที่มาปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่
[[ไฟล์:ประเพณีรับน้องรถไฟ 2556.jpg|356px|thumb|ประเพณีรับน้องรถไฟ ก้าวไกลสู่อาเซียน ประจำปีการศึกษา 2556]]
บรรทัด 441:
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยาเขตจอมทอง]]
* [[โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่]]
* [[โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่|โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]]
* [[ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หริภุญชัย]]
* [[ศาลาธรรม]]
* [[ประเพณีรับน้องขึ้นดอย]]
* [[ประเพณีรับน้องรถไฟ]]
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==