ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิยงเจิ้ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
| สถานที่ฝัง = สุสานไท่หลิง สุสานพระราชวงศ์ชิงฝ่ายตะวันออก
}}
'''สมเด็จพระจักรพรรดิยงเจิ้ง''' ({{zh-all|c=雍正|p=Yōngzhèng}}) ทรงพระราชสมภพเมื่อ13 ธันวาคม [[พ.ศ. 2221]] (คังซีปีที่ 17) เป็นพระโอรสลำดับที่ 4 ใน[[คังซี|จักรพรรดิคังซี]] มีพระนามเดิมว่า อิ้นเจิง ([[ภาษาจีน]] : 胤禛) เล่ากันว่า พระองค์ร่วมวางแผนกับหลงเคอตัว ปลอมแปลงลายพระหัตถ์ของจักรพรรดิคังซีจากคำว่าองค์ชาย 14 (十四) เป็นคำว่าให้กับองค์ชาย 4 (于四) องค์ชาย 4 ขึ้นครองราชย์สืบต่อ อันเนื่องจากเหตุการณ์ความวุ่นวายในการแย่งชิงราชสมบัติกันเองระหว่างพี่น้อง ปลายรัชสมัยจักรพรรดิคังซี แต่เรื่องนี้เป็นเพียงความเชื่อที่บอกต่อกันมา ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันแต่ประการใด แต่นั่นก็ทำให้พระองค์ได้ฉายาว่าเป็น ''"จักรพรรดิบัลลังก์เลือด"'' หรือ ''"จักรพรรดิทรราช"'' (ซึ่งความตรงนี้นักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันมีความเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะพินัยกรรมของจักรพรรดิคังซีแม้จะเปลี่ยนแปลงก็เปลี่ยนได้เฉพาะฉบับที่เป็นตัวอักษรฮั่นเท่านั้น แต่ฉบับอักษรแมนจูที่มีการเขียนคู่กันด้วยไม่สามารถแก้ไขได้ อีกทั้งอักษร 于 นั้นเป็นการเขียนอย่างย่อ ซึ่งปกติจะไม่ใช้ในเอกสารราชการ)
 
เมื่อจักรพรรดิยงเจิ้งขึ้นครองราชย์ สิ่งแรกที่พระองค์กระทำ คือ การเปลี่ยนแปลงวิธีการแต่งตั้งองค์รัชทายาท จากการแต่งตั้งโดยเปิดเผยอันเป็นสิ่งปฏิบัติมาแต่อดีต เป็นทรงแต่งตั้งโดยเป็นความลับ โดยทรงเงยพระพักตร์ขึ้นทอดพระเนตรเพดานท้องพระโรง และจารึกพระนามขององค์รัชทายาทใช้หลังป้ายแผ่นหนึ่ง ที่มีชื่อเรียกว่า เจิ้งต้ากวางหมิง (正大光明) 2 ชุด ชุดแรกเก็บไว้กับตัวพระองค์เอง อีกชุดนึงเก็บไว้ซึ่งเก็บไว้ในหีบลับปิดผนึกแล้ววางไว้ที่ป้ายโลหะหน้าท้องพระโรง และให้เปิดทั้ง 2 ป้ายนี้อ่านพร้อมกันเมื่อพระองค์สวรรคต แต่ในระหว่างที่ทรงครองราชย์ต้องทรงพบกับปัญหากบฏหลายต่อหลายครั้งจากบรรดาขุนนางและเหล่าองค์ชายทั้งหลายที่เป็นพี่น้องด้วยกัน ยงเจิ้งนับว่าเป็นจักรพรรดิที่ขยันขันแข็งมากและได้ปฏิรูปรูปแบบการปกครอง การบริหารเอาไว้หลายด้าน กิจวัตรของพระองค์ที่ปฏิบัติเป็นประจำ คือ ทรงตื่นบรรทมแต่ก่อนรุ่ง เข้าบรรทมในยามดึกเพราะอ่านฎีกาจนดึกดื่น ทรงรวบอำนาจ จัดสรรระบบภาษี การเงินการคลัง และขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวงจนถือว่าเป็นช่วงสืบทอดยุคความรุ่งเรืองต่อมาใน 3 รัชกาลนี้ (คังซี-ยงเจิ้ง-เฉียนหลง) จนสามารถยังผลให้ประเทศจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคของ[[จักรพรรดิเฉียนหลง]] พระโอรสของพระองค์ที่ครองราชสมบัติต่อ