ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะภราดาลาซาล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
| image = Seal FSC.jpg
| abbreviation = F.S.C
| motto = ''Signum Fidei'' (สัญลักษณ์แห่งความเชื่อ)<ref>[http://haab.catholic.or.th/priest/priestfr/logofsc.html ตราคณะภราดาลาซาล], หอจดหมายเหตุ มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ</ref>
| motto =
| formation = พ.ศ. 2223
| status =
บรรทัด 20:
 
== ในประเทศไทย ==
พระคุณเจ้า[[ฌ็อง-ฌอง หลุยส์ แวเวย์]] [[มุขนายก]][[ผู้แทนพระสันตะปาปา]]ประจำ[[เขตมิสซังกรุงเทพฯ|มิสซังกรุงเทพฯ]] ในขณะนั้น ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการศึกษาแบบคาทอลิก จึงเชิญนักบวชคณะภราดาลาซาลเข้ามาปฏิบัติงานสอนในประเทศไทย คณะได้ส่งภราดาชาวฝรั่งเศสมา 5 คน จากไซ่ง่อน ถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2494<ref name="ประวัติความเป็นมา">[http://www.lasallethailand.org/history.php ประวัติความเป็นมา]. คณะภราดาลาซาล. เรียกข้อมูลวันที่ 17 เม.ย. พ.ศ. 2556.</ref> ภราดาทั้ง 5 ได้เรียนภาษาไทยกับ[[บาทหลวง]][[คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส]] จนได้รับสิทธิ์สอนในประเทศได้
 
วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2496 คณะภราดาลาซาล ได้ก่อตั้ง[[โรงเรียนลาซาลโชติรวีนครสวรรค์]]ขึ้นเป็นโรงเรียนแรกของคณะในประเทศไทย ตามมาด้วย[[โรงเรียนลาซาลจันทบุรี (มารดาพิทักษ์)]] ในปี พ.ศ. 2505 และแห่งที่สามคือ[[โรงเรียนลาซาล]]กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2506<ref name="ประวัติความเป็นมา"/>
 
คณะภราดาลาซาลได้ตั้ง'''บ้านอบรมยุวลัย เดอลาซาล''' ขึ้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ในปี พ.ศ. 2532 เพื่อฝึกอบรมกุลบุตรชาวไทยเป็นภราดาลาซาล<ref name="ประวัติความเป็นมา"/> นอกจากนี้ยังตั้ง "ศูนย์การศึกษาลาซาล สามพราน" ขึ้นเพื่ออบรม[[โนวิซ]]ที่จบจากบ้านยุวลัยต่อให้สามารถทำงานช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาโดยเฉพาะ