ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิบัติการวัลคือเรอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 9:
แผนการดั้งเดิมได้รับการออกแบบมาเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินภายในประเทศ โดยกองเสนาธิการของนายพลฟรีดริช ออลบริชต์<ref name="Ref-1">Joachim Fest, ''Plotting Hitler's Death: The German Resistance to Hitler, 1933–1945'', 1996, p219</ref> และได้รับการรับรองเห็นชอบจากฮิตเลอร์เอง อันที่จริง แนวคิดในการวางแผนดึงเอากองกำลังสำรองของกองทัพบกเยอรมนีในแนวหลัง (ในดินแดนเยอรมันเองหลังแนวรบ) มาใช้ในการก่อ[[รัฐประหาร]]เคยมีการหยิบยกขึ้นพิจารณากันมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่การปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือในการก่อรัฐประหารของนายพลโท[[:en:Friedrich Fromm|ฟรีดริช ฟรอมม์]] ผู้บังคับบัญชากองกำลังสำรองและนายทหารคนเดียวที่จะสามารถออกคำสั่งเริ่มปฏิบัติการวาลคิรีได้ถัดลงมาจากฮิตเลอร์ ได้เป็นอุปสรรคต่อคณะรัฐประหารอย่างร้ายแรง แต่กระนั้น หลังจากบทเรียนที่ได้รับมาหลังจาก[[:en:Operation Spark (1940)|ความพยายามลอบสังหารฮิตเลอร์]] ในวันที่ [[13 มีนาคม]] [[ค.ศ. 1943]] แล้ว นายพลออลบริชต์รู้สึกว่าแผนการก่อรัฐประหารดั้งเดิมนั้นไม่เพียงพอ และจะต้องมีการดึงเอากองกำลังสำรองมาใช้ในการก่อรัฐประหารด้วยให้ได้ แม้ว่าจะไม่ได้รับความร่วมมือจากนายพลฟรอมม์ก็ตาม
 
แผนการวาลคิรีดั้งเดิมมีเจตนาเพียงที่จะจัดยุทธศาสตร์เพื่อเตรียมความพรั่งพร้อมและความพร้อมรบของกองกำลังสำรองที่มีหน่วยในสังกัดต่างๆ กระจายกันอยู่เท่านั้น แต่นายพลออลบริชต์ได้ดัดแปลงโดยการเพิ่มเติมส่วนที่สองของแผนการดังกล่าวเข้าไป ซึ่งทำให้กลายเป็นการเรียกระดมหน่วยต่างๆ ในกองกำลังสำรองให้มาประกอบกำลังกันโดยเร่งด่วน เพื่อจัดตั้งเป็นกองทัพที่พร้อมสามารถปฏิบัติการรบได้ทันที ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน ค.ศ. 1943 พันเอกเทรสคอว์พบว่า การดัดแปลงแก้ไขของนายพลออลบริตช์ก็ยังคงไม่เพียงพอ จึงได้ขยายแผนการวาลคิรีออกไปอีก และร่างคำสั่งเพิ่มเติม โดยกำหนดให้มีการออกประกาศลับที่ขึ้นต้นด้วยด้วยประโยค (ลวง) ที่ว่า ''"[[ฟือเรอร์|ท่านผู้นำ]]ฮิตเลอร์เสียชีวิตแล้ว! คณะผู้นำพรรคนาซีผู้ทรยศได้พยายามที่จะใช้ประโยชน์จากการณ์นี้โดยการโจมตีเหล่าทหารจากแนวหลัง และยึดอำนาจไว้เอง"''
 
คำสั่งอย่างละเอียดได้ถูกยกร่างขึ้น เพื่อเตรียมสำหรับการเข้ายึดครองกระทรวงต่างๆ ของรัฐบาลใน[[เบอร์ลิน|กรุงเบอร์ลิน]] กองบัญชาการใหญ่ของฮิมม์เลอร์ในปรัสเซียตะวันออก สถานีวิทยุและสถานีโทรศัพท์ และกลไกของระบอบนาซีในมณฑลทหารบกต่างๆ และ[[ค่ายกักกัน]]<ref name="Ref-1"/> (ก่อนหน้านี้ เป็นที่เชื่อกันว่าพันเอก[[:en:Claus Schenk von Stauffenberg|เคลาส์ เชงค์ ฟอน สเตาฟเฟนเบิร์ก]]รับผิดชอบต่อแผนการวาลคิรี แต่ในเอกสารที่ถูกค้นพบหลังจากสงครามยุติโดยสหภาพโซเวียต ซึ่งเผยแพร่ในปี [[ค.ศ. 2007]] ได้ชี้ว่า แผนการดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นโดยพันเอกเทรสคอว์ ช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปี ค.ศ. 1943<ref> [http://www.atypon-link.com/OLD/doi/pdf/10.1524/VfZg.2007.55.2.331 Peter Hoffmann, "Oberst i. G. Henning von Tresckow und die Staatsstreichpläne im Jahr 1943]</ref>) ข้อมูลทั้งหมดถูกเขียนขึ้นและเก็บรักษาไว้โดยภรรยาและเลขานุการของพันเอกเทรสอคว์ ซึ่งทั้งสองคนใส่ถุงมือเพื่อปิดบังรอยนิ้วมือเอาไว้ตลอดเวลา<ref>Joachim Fest, ''Plotting Hitler's Death: The German Resistance to Hitler, 1933–1945'', 1996, p220</ref>