ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมยศ เชื้อไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10:
| order = [[คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์#การบริหาร|คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] คนที่ 15
<!----------วาระ---------->
| term_start = [[พ.ศ. 2534]]
| term_end = [[พ.ศ. 2540]]
<!----------รองประธานาธิบดี/รองนายกรัฐมนตรี/รักษาการ/ปฏิบัติราชการแทน---------->
| vicepresident =
บรรทัด 116:
}}
 
รองศาสตราจารย์'''สมยศ เชื้อไทย''' (เกิด พ.ศ. 2493) เป็น[[นักวิชาการ]]ชาว[[ประเทศไทย|ไทย]] โดยเป็น[[รองศาสตราจารย์]]ประจำ[[สาขาวิชา]][[กฎหมายรัฐธรรมนูญ]] [[ภาควิชา]][[กฎหมายมหาชน]] [[คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] และอดีต[[คณบดี]]คณะดังกล่าว
 
สมยศเกิดที่[[อำเภอกะปง]] [[จังหวัดพังงา]] บิดาเป็นผู้ใหญ่บ้านและเสียชีวิตไปเมื่อสมยศอายุได้สิบสองปี<ref>{{cite web | title = ทุกก้าวย่างอย่างครูกฎหมาย: รวมบทความที่ระลึกในโอกาสอายุครบหกสิบปีรองศาสตราจารย์สมยศ เชื้อไทย | url = http://law.tu.ac.th/files/Kanit.pdf | publisher = คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | author = กิตติศักดิ์ ปรกติ และอื่น ๆ | date = 2553 | accessdate = 2556-12-18 | page = 291}}</ref> สมยศสำเร็จประถมศึกษาปีที่ 4 ณ โรงเรียนกะปง แล้วเล่าเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นต่อที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา สำเร็จแล้วศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายต่อที่[[โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย]] กรงุเทพมหานคร สายวิทย์–คณิต<ref>{{cite web | title = ทุกก้าวย่างอย่างครูกฎหมาย: รวมบทความที่ระลึกในโอกาสอายุครบหกสิบปีรองศาสตราจารย์สมยศ เชื้อไทย | url = http://law.tu.ac.th/files/Kanit.pdf | publisher = คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | author = กิตติศักดิ์ ปรกติ และอื่น ๆ | date = 2553 | accessdate = 2556-12-18 | page = 292}}</ref> ลุล่วงแล้วจึงศึกษาต่อยัง[[คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] จนสำเร็จเป็น[[นิติศาสตรบัณฑิต]] และได้[[เกียรตินิยม]]ดี จากนั้น เข้ารับการอบรมและสอบได้เป็นสมาชิก[[เนติบัณฑิตยสภา]]ของไทย แล้วไปศึกษาต่อยัง[[ประเทศเยอรมนี]]ได้รับ[[ประกาศนียบัตร]]สาขากฎหมายมหาชนจาก[[มหาวิทยาลัยบอนน์]]
สมยศสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญา[[นิติศาสตรบัณฑิต]][[เกียรตินิยม]]ดีจาก[[คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] จากนั้นเข้ารับการอบรมและสอบได้เป็นสมาชิก[[เนติบัณฑิตยสภา]]ของไทย แล้วไปศึกษาต่อยัง[[ประเทศเยอรมนี]]ได้รับ[[ประกาศนียบัตร]]สาขากฎหมายมหาชนจาก[[มหาวิทยาลัยบอนน์]]
 
เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว สมยศเข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอนวิชาต่าง ๆ ในสาขากฎหมายมหาชนที่[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] ทั้งยังเคยได้รับแต่งตั้งเป็น[[รองอธิการบดี]]ฝ่ายการ[[นักศึกษา]], นายก[[สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] สมัยที่ 15-16 ([[พ.ศ. 2547]]-[[พ.ศ. 2547–2551|2551]]), ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2552, [[คณะกรรมการกฤษฎีกา|กรรมการกฤษฎีกา]] (พ.ศ. 2552), กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน[[คณะกรรมการเครื่องหมายการค้า]] (พ.ศ. 2551) ฯลฯ
 
ซึ่งสมัยที่สมยศดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมยศได้มีบทบาทชักนำประชาคมธรรมศาสตร์ออกมาเรียกร้องให้[[ทักษิณ ชินวัตร|พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร]]ลาออกจากตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรีของไทย|นายกรัฐมนตรี]] อันเนื่องมาจาก[[กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป|กรณีขายหุ้นชินคอร์ป]]ที่สะท้อนให้เห็นว่า พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร มี[[การขัดกันของผลประโยชน์|ผลประโยชน์ทับซ้อน]]ในการใช้อำนาจ[[การบริหารราชการแผ่นดิน|บริหารราชการแผ่นดิน]] โดยสมยศได้กล่าว[[ปาฐกถา]]แสดงความเห็นในกรณีดังกล่าวว่า หลังจากที่ฝ่ายต่าง ๆ เตรียมตรวจสอบความไม่โปร่งใสของรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ทำให้พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ใชอำนาจ[[การยุบสภาผู้แทนราษฎร|ยุบสภาผู้แทนราษฎร]] และกำหนดการเลือกตั้งใหม่อย่างกระชั้นชิดเกินไปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ตนได้กลับเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินอีกครั้ง เขากล่าวว่า
 
<blockquote>"การยุบสภาว่าโดยหลักการของระบบ[[รัฐสภา]]เป็นการใช้อำนาจของ[[ฝ่ายบริหาร]] เพื่อแก้ปัญหาในกรณีขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและรัฐสภา หรือปัญหาของสภาผู้แทนราษฎร เพราะการยุบสภานั้นมีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากตำแหน่งทั้งหมดก่อนครบ กำหนดอายุของสภา และต้องมี[[พระราชกฤษฎีกา]]ให้มี[[การเลือกตั้ง]]ใหม่
บรรทัด 130:
จึงเห็นได้ว่าการยุบสภาเป็นเกมการเมืองของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ที่ต้องการหนีการตรวจสอบว่ามีการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือไม่ และทำให้ประชาชนหลงประเด็น เพราะประเด็นมิใช่การกล่าวหาว่าพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรโกงการเลือกตั้ง ซึ่งอาจจะเป็นเช่นนั้นก็ได้แต่ไม่มีหลักฐาน แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบหรือไม่ หรือมีการใช้อำนาจโดยมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ ซึ่งการแก้ปัญหาในประเด็นนี้ต้องใช้กระบวนการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย แต่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เห็นอยู่แล้วว่าถ้าจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ตนจะชนะการเลือกตั้ง เพราะประชาชนจำนวนมากเสพติด[[นโยบายประชานิยม]]ของพันตำรวจโททักษิณ"</blockquote>
 
ต่อมา ภายหลัง[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549]] และมีการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550]] สมยศได้ออกมาแถลงว่า นับจากนี้ การต่อสู้ระหว่างอำนาจเก่าและอำนาจใหม่จะยืดเยื้อยาวนาน และฟันธงว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 จะไม่แก้วิกฤติการเมืองไทย และดูเหมือนว่าคนส่วนใหญ่จะไม่ใส่ใจกับคำเตือนของอาจารย์สอนกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างเขา เพราะคนส่วนใหญ่อยากเห็นการเลือกตั้งเร็ว ๆ ไว ๆ ทำให้เขาประกาศว่าจะเลิกสอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญอีก โดยกล่าวว่า
 
<blockquote>"ปัญหาใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คือ ปัญหา[[ตุลาการภิวัตน์]] ที่เป็นการเอาตุลาการไปยุ่งการเมือง จะเป็นเรื่องใหญ่มากเพราะเสาหลักของรัฐธรรมนูญคือต้องแยกอำนาจตุลาการกับอำนาจบริหารให้ออกจากกัน หากศาลไปโยงกับการเมืองก็จะไปกันใหญ่ ปัญหานี้เราเคยเจอแล้วคือปัญหาของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีปัญหาการวิ่งเต้นล้มคดี ต่อไปข้างหน้าจะมีปัญหาใหญ่กว่านี้อีก หลังจากศาลมายุ่งกับการเมืองก็จะไปสนับสนุนอำนาจใหม่โดยปริยาย</blockquote>
 
<blockquote>"...รัฐธรรมนูญวันนี้เป็น[[แพระรับบาป|แพะ]] โดยเปรียบว่า เหมือนคนทะเลาะกันแล้วรื้อบ้าน แล้วสร้างใหม่ซึ่งก็สร้างมาเหมือนเดิม โดยความจริงแล้วหลังคารั่วเมื่อสร้างใหม่คนก็ยังทะเลาะกันอีก ตรงนี้เรียกว่าปัญหาทางวัฒนธรรมทางการเมือง...</blockquote>
 
<blockquote>"19 กันยายน เป็นการเปลี่ยนรัฐประหารเป็นรัฐธรรมนูญ ส่วนการลงประชามติเป็นการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเป็นรัฐประหารรูปแบบใหม่ ผมมองว่ามาตรา 309 จะทำให้การรัฐประหารกลับมาอีก เปรียบเหมือนมาตราลูกฆ่าพ่อ คือใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ ผมบอกทุกคนแล้วว่าผมจะไม่สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญอีกเลยเพราะรับไม่ได้ กับมาตรา 309"</blockquote>
 
ส่วนผลงานในด้านวิชาการ สมยศได้ผลิตตำราที่เป็นเสาหลักทางวิชาการหลายเล่ม ดู [http://search.library.tu.ac.th/ipac20/ipac.jsp?session=Q237W215173T2.430378&profile=pridi&uri=link=3100008@!54992@!3100001@!3100002&aspect=basic_search&menu=search&ri=2&source=203.131.219.164@!db73_tudb&term=%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%A8+%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.&index= ''ข้อมูลจากสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์'']
บรรทัด 147:
 
{{เริ่มอ้างอิง}}
{{reflist}}
* 108acc. (n.d.). ''องค์ขาว องค์ดำ.'' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <[http://www.108acc.com/index.php?mo=3&art=437039 คลิก]>. (เข้าถึงเมื่อ: 14 มีนาคม 2552).
* [[เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย]]. (2549, 2 เมษายน). ''คำอภิปรายของ รศ.สมยศ เชื้อไทย ในการเสวนาเรื่อง 'ผ่าทางตันวิกฤตรัฐธรรมนูญ'.'' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <[http://www.pub-law.net/Publaw/view.asp?PublawIDs=898 คลิก]>. (เข้าถึงเมื่อ: 14 มีนาคม 2552).