ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อันดับบ่าง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28:
บ่าง เป็นสัตว์ที่มีดวง[[ตา]][[ทรงกลม|กลม]]โต[[สีแดง]] ส่วนจมูกและใบหน้าแหลม รวมทั้งมีสีขนที่เลอะ เพื่อแฝงตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ทำให้แลดูน่าเกลียดน่ากลัว แต่เป็นสัตว์ที่กิน[[พืช]]เป็นอาหาร ได้แก่ ยอดไม้, [[ดอกไม้]] รวมถึง[[แมลง]] และลูกไม้เนื้ออ่อน เป็นอาหาร มีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า {{DentalFormula|upper=2.1.2.3|lower=3.1.2.3}}<ref name=EoM>{{cite book |editor=Macdonald, D.|author= MacKinnon, Kathy|year=1984 |title= The Encyclopedia of Mammals|publisher= Facts on File|location=New York|pages= 446–447|isbn= 0-87196-871-1}}</ref>
 
มีส่วนหางที่สั้น มีเล็บที่นิ้วที่แหลมคมใช้สำหรับในการปีน[[ต้นไม้]]และเกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้ รวมถึงสามารถห้อยหัวลงมาได้เหมือนค้างคาว บ่างจะหากินในเวลา[[กลางคืน]]หรือ[[สนธยา|โพล้เพล้]] ส่วนในเวลา[[กลางวัน]]จะนอนหลับอยู่ตามโพงโพรงไม้หรือคอ[[มะพร้าว]]<ref>หน้า 164, ''สัตว์สวยป่างาม'' โดย ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ([[สิงหาคม]], [[พ.ศ. 2518|2518]])</ref>
 
บ่าง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว เนื่องจากแม่บ่างสามารถรับน้ำหนักได้เพียงแค่นี้ ลูกบ่างจะเกาะติดกับหน้าอกแม่ดูด[[นม]]จาก[[เต้านม]]แม่ซึ่งมี 2 คู่ แม้แต่เมื่อหากินหรือระหว่างร่อน ใช้เวลาโตเต็มที่ประมาณ 2-3 ปี บ่างแรกเกิดมักมีการพัฒนาไม่มากนักคล้าย[[มาร์ซูเปียเลีย|สัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง]] (Marsupialia) แม่บ่างจะเลี้ยงลูกไว้โดยให้เกาะที่ท้อง เวลาเกาะอยู่กับต้นไม้ โดยใช้ผังผืดระหว่างขาช่วงล่างสุดห่อคล้ายร่มหรือถุงเหมือนสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง ในช่วงที่แม่บ่างเลี้ยงลูกจะยังไม่มีลูกใหม่ จนกว่าลูกตัวเดิมจะแยกตัวออกไปหากินเอง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี แม่บ่างจะเลียฉี่และมูลของลูก ขณะที่ลูกบ่างจะกินมูลของแม่ด้วย ซึ่งภายในมีแบคทีเรียที่ช่วยในการย่อยอาหารซึ่งได้แก่ พืช ส่วนต่าง ๆ แต่พฤติกรรมการผสมพันธุ์ยังไม่เป็นที่ทราบอย่างแน่ชัด<ref name="บ่าง">''บ่าง'', "สีสันสัตว์โลก สเปเชี่ยล", สารคดีทางช่อง 9: 17 ธันวาคม 2556</ref>