ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมอร์ไลออน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Javanese แปลว่าภาษาชวา ไม่ใช่ภาษาญี่ปุ่น
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:DSC_0353.jpg|thumb|200px|right|รูปปั้นสิงโตทะเลได้บ้านใหม่ซึ่งอยู่ห่างไปจากที่เดิมเป็นระยะทาง 120 เมตร ติดกับ One Fullerton]]
 
'''เมอร์ไลออน''' หรือ '''สิงโตทะเล''' ({{Zh-all|c=鱼尾狮; [[พินอิน]]: |p=Yúwěishī}} ''หยูเหว่ยซือ''; {{lang-ms|Singa-Laut}} ''ซีงาลาอุต'') ถูกออกแบบขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของคณะกรรมการการท่องเที่ยวของ[[สิงคโปร์]] (Singapore Tourism Board - STB) ในปี 1964 – รูปปั้นนี้มีหัวเป็น[[สิงโต]] ร่างเป็นปลา ยืนอยู่บนยอดคลื่น ต่อมาไม่นานทั่วโลกก็ถือกันว่าสิงโตทะเลตัวนี้คือเครื่องหมายประจำชาติสิงคโปร์<ref>[http://www.visitsingapore.com/ การท่องเที่ยวสิงค์โปร์ ]</ref>
 
แต่เดิมรูปปั้นนี้ตั้งอยู่ที่[[สวนสิงโตทะเล]] (Merlion Park) ข้างๆข้าง[[สะพานเอสพลาเนด]] (Esplanade Bridge) แม่สิงโตและลูกสิงโตได้กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว มีการจัดพิธีติดตั้งสิงโตทะเลในวันที่ [[15 กันยายน]] [[ค.ศ. 1972]] โดยมีประธานในพิธีคือนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ณ เวลาดังกล่าว ซึ่งก็คือ นาย[[ลี กวน ยู]]
 
สิงโตตัวนี้สูง 8.6 เมตร มีน้ำหนัก 70 ตัน ทำจากวัสดุจำพวก[[ซีเมนต์]] โดยช่างฝีมือชาวสิงคโปร์ผู้เสียชีวิตไปแล้วที่ชื่อนายลิมนังเซ็ง ส่วนรูปปั้นสิงโตทะเลตัวที่สองจะมีขนาดเล็กกว่า ขนาดสูง 2 เมตรและหนัก 3 ตัน ก็ถูกสร้างขึ้นโดยนายลิมเช่นกัน ตัวสิงโตทำจากวัสดุจำพวกซีเมนต์ ผิวหนังทำจากแผ่นกระเบื้อง และตาทำจากถ้วยชาสีแดงขนาดเล็ก
 
ผู้ออกแบบคือนายฟราเซอร์ บรูนเนอร์ (Mr Fraser Brunner) เป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแวนคลีฟ หัวรูปปั้นเป็นสิงโตหมายถึงสิงโตที่เจ้าชายซางนิลาอุตามะเคยเห็นตอนที่พระองค์พบเกาะสิงกะซีงาปุระในปี ค.ศ. ที่ 11 ตามบันทึกของชาว[[มาเลย์]] ส่วนหางที่เป็นปลาคือสัญลักษณ์ของเมืองโบราณเทมาเซ็ค (หมายความว่า "ทะเล" ในภาษาชวา) ซึ่งสิงคโปร์ถูกค้นพบมาแล้วก่อนที่เจ้าชายนิลาจะตั้งชื่อเกาะนี้ว่า "สิงกะซีงาปุระ" (หมายความว่า "สิงโต" ([[สิงห์]]) และ "เมือง" ([[ปุระ]]) ใน[[ภาษาสันสกฤต]]) นอกจากนี้ยังหมายถึงจุดเริ่มต้นอันต่ำต้อยของสิงคโปร์ที่ในอดีตเคยเป็นหมู่บ้านชาวประมง
 
== อ้างอิง ==