ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาช่อนงูเห่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
| ordo = [[Perciformes]]
}}
'''ปลาช่อนงูเห่า''' เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มี[[ชื่อวิทยาศาสตร์]]ว่า ''Channa aurolineatus'' จัดอยู่ใน[[วงศ์ปลาช่อน]] (Channidae) ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นปลาหายาก พบไม่บ่อยนักในธรรมชาติ มีลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวมีขนาดเล็กกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ สัลำตัวจะเปลี่ยนไปตามวัยและสภาพแวดล้อม ปกติพื้นลำตัวจะเป็นสีคล้ำเช่น น้ำตาลแกมเขียว หรือสีดำ เมื่อยังเป็นลูกปลาจะมีแถบสีส้มคาดตามความยาวจากหัวจรดโคนหาง โดยบริเวณโคนหางจะมีจุดสีดำล้อมรอบด้วยวงสีส้มสด แลดูคล้ายเครื่องหมายดอกจันทน์ จึงมีอีกชื่อเรียกนึงว่า "ปลาช่อนดอกจันทน์" เมื่อปลาเริ่มโตขึ้นจะมีแถบดำราว 5-6 แถบคาดขวางลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางท้าย ใต้ท้องสีจาง ลำตัวด้านท้าย ครีบหลัง หาง และครีบท้องจะมีจุดสีตะกั่วเหลือบแวววาวกระจายอยู่ทั่ว
 
ปลาช่อนชนิดนี้ มีขนาดโตเต็มที่ราว 40-90 [[เซนติเมตร]] แต่ก็มีบางรายงานพบว่ายาวได้ถึง 183 เซนติเมตร น้ำหนักถึง 30 กิโลกรัม มีรูปร่างเรียวยาวกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ ประกอบกับส่วนหัวที่เล็ก ทำให้แลดูคล้ายงูเห่า จึงเป็นที่มาของชื่อ "ปลาช่อนงูเห่า" เมื่อชาวบ้านจับปลาชนิดนี้ได้ บางคนไม่กล้ากินเนื่องจากเชื่อว่าเป็นปลาช่อนผสม[[งูเห่า]] มีพิษร้ายแรงกว่างูเห่าทั่วไป แต่ความเป็นจริงแล้ว ปลาช่อนงูเห่าไม่ได้มีพิษแต่อย่างใด
 
มีการกระจายพันธุ์ใน[[ไทย]], [[กัมพูชา]], [[มาเลเซีย]] โดยพฤติกรรมมักอยู่อาศัยตามแม่น้ำชายฝั่งที่มีพืชน้ำและพรรณไม้ขึ้นชายฝั่งมีเงาร่ม อาหารได้แก่ ปลา, กุ้ง, สัตว์น้ำขนาดเล็กและ[[สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ]]ขนาดเล็ก เช่น กบ, เขียด รวมถึงแมลงชนิดต่าง ๆ ด้วย
บรรทัด 29:
ปลาช่อนงูเห่า นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีขายในตลาดปลาสวยงามเป็นบางครั้ง
 
มีชื่อเรียกใน[[ภาษาถิ่น]]ต่าง ๆ เช่น "หลิมหางกวั๊ก" ที่ [[จังหวัดแม่ฮ่องสอน]] "ก้วนก๊วน" ใน[[ภาษาเหนือ]]และ[[ภาษาอีสาน]] "ล่อน", "กะล่อน" หรือ "อ้ายล่อน" ใน[[ภาษาใต้]] เป็นต้น<ref>หนังสือสารานุกรมปลาไทย โดย สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวชสกุล ([[กรุงเทพ]], [[พ.ศ. 2540]]) ISBN 9789748990026 </ref>
 
อนึ่ง ปลาช่อนงูเห่า ยังไม่มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องแน่นอน โดยมากจะใ้ช้ชื่อว่า ''[[Channa marulius]]'' อันเป็นชื่อเดียวกับปลาช่อนงูเห่าอินเดีย แต่ในทัศนะของนักมีนวิทยาที่ทำการศึกษาเรื่องปลาช่อน เห็นว่า ควรใช้ ''Channa aurolineatus'' (Day, 1870) หรือ ''Channa'' aff. aurolineatus''
<ref>หน้า 112-113, ''CHANNA CRAZY คนคลั่งช่อน'', "Wild Ambition" โดย ชวิน ตันพิทยคุปต์ และชัยพัทธ์ งามบุษบงโสภิน. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 4 ฉบับที่ 42: ธันวาคม 2013</ref>
==ดูเพิ่ม==
*[[ปลาช่อนงูเห่าอินเดีย]]
เส้น 38 ⟶ 40:
 
==แหล่งข้อมูลอื่น==
*[http://www.siamensis.org/taxonomy/term/719/0 ''Channa aurolineatus'' {{th}}]
 
[[หมวดหมู่:วงศ์ปลาช่อน|ช่อนงูเห่า]]