ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วังปารุสกวัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ Filipplenoir (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 110.171.110.162
Ohmaphat (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 4:
 
==ประวัติ==
วังปารุสกวัน เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2446|พ.ศ. 2446]] โดยในวันที่ 30 ธันวาคม มีการจ่ายเงินค่าก่อสร้างกำแพงยาว 275 เมตร รวมเป็นเงิน 22,075 บาท ต่อมาวันที่ [[19 เมษายน]] [[พ.ศ. 2447]] จ่ายค่าก่อสร้างกำแพงส่วนที่เหลืออีกเป็นเงิน 61,173 บาท แต่ยังไม่รวมค่ากระเบื้องหลังคา แรกเริ่มมีสถาปนิก 3 คนช่วยกันออกแบบ คือ นาย[[มารีโอ ตามัญโญ|นายตามานโญ]] นายสก็อตส์ และนายเบย์โรเลรี แต่ 2 คนป่วยระหว่างการก่อสร้าง นายตามานโญป่วยเป็น[[อหิวาตกโรค]]และต้องเดินทางกลับยุโรป ส่วนนายสก็อตส์ป่วยเป็น[[ไข้ทรพิษ]]และเสียชีวิต เหลือแต่นายเบย์โรเลรี รับผิดชอบ จนแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2448<ref>หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์และไอลีน ฮันเตอร์, แคทยาและเจ้าฟ้าสยาม.--กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์ จำกัด, 2551</ref> มีพิธีขึ้นพระตำหนักใหม่เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2449 และได้เสด็จประทับพระตำหนักนี้ตลอดพระชนมายุ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบคลาสสิก ก่ออิฐถือปูน ตามแบบวิลลาของ[[อิตาลี]] ก่ออิฐถือปูน ทาสีครีม เดิมตัวพระตำหนักมี 2 ชั้น โดยชั้นล่างเป็น[[ท้องพระโรง]] และห้องรับแขก ห้องพักผ่อน ส่วนชั้นบนจัดเป็นบริเวณที่ประทับส่วนพระองค์ ห้องพระชายา ห้องพระบรรทม ห้องแต่งพระองค์ ห้องสรง และห้องทรงพระอักษร ต่อมามีการต่อเติมตัวพระตำหนักเพิ่มเป็น 3 ชั้น โดยชั้นบนจัดเป็นห้องพระบรรทม
 
ชื่อวังปารุสกวันได้มาจากชื่อสวนของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้น[[ดาวดึงส์]] มี 4 แห่งคือ สวนมิสกวัน สวนปารุสกวัน สวนจิตรลดาวัน และสวนนันทวัน
บรรทัด 24:
</ref> ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการของ[[สำนักข่าวกรองแห่งชาติ]] [[พิพิธภัณฑ์กรมตำรวจ]] และ[[กองบัญชาการตำรวจนครบาล]]
 
อนึ่ง มักมีผู้เข้าใจสับสนระหว่างตำหนักปารุสก์กับตำหนักสวนจิตรลดา โดยที่ำที่ตำหนักปารุสก์ คือ พระตำหนักที่อยู่ทางด้านถนนราชดำเนินนอกตัดกับถนนพิษณุโลก อยู่ติดกับ[[วังจันทรเกษม]] ในขณะที่
ตำหนักจิตรลดา คือ ตำหนักที่อยู่ทางด้านถนนราชดำเนินนอกตัดกับถนนศรีอยุธยานั่นเอง