ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลนครหาดใหญ่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kongtupthai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 219:
* ทางรถไฟ เป็นเส้นทางหลัก [[สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่]]ที่ยังคงมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่าง[[อำเภอหาดใหญ่]]กับ[[กรุงเทพมหานคร]] และจังหวัดอื่น ทั้งยังสามารถเชื่อมโยงไปถึงประเทศ[[มาเลเซีย]]ได้โดยชุมทางรถไฟหาดใหญ่เป็นชุมทางรถไฟที่ใหญ่ที่สุดของ[[ภาคใต้]] เส้นทางรถไฟสายใต้เริ่มต้นจาก[[กรุงเทพมหานคร]]ลงไปถึงชุมทางหาดใหญ่ระยะทางยาวประมาณ 945 กิโลเมตร จากนั้นจะแยกเป็น 2 เส้นทาง คือ เส้นทางสาย[[หาดใหญ่]]-[[ปาดังเบซาร์]] ความยาว 45 กิโลเมตร เชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟของมาเลเซียจนถึง[[สถานีรถไฟบัตเตอร์เวิร์ท]]ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือ ทางสาย[[หาดใหญ่]]-[[นราธิวาส]] สิ้นสุดที่[[อำเภอสุไหงโก-ลก]] ความยาว 110 กิโลเมตร หาดใหญ่เป็นสถานีชุมทางต่างประเทศแห่งเดียวของประเทศไทยที่เชื่อมไปยังคาบสมุทรมาลายูด้วย เป็นสถานีรถไฟที่มีปริมาณผู้ใช้บริการหนาแน่นมากแห่งหนึ่งของประเทศไทย
* ทางอากาศ มี[[ท่าอากาศยานหาดใหญ่]]ตั้งอยู่ในเขตตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ และตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง ห่างจากเขตเทศบาลประมาณ 12 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ได้รับการยกฐานะเป็น[[ท่าอากาศยานนานาชาติ]] เมื่อวันที่ ธันวาคม 2515 มีพื้นที่ประมาณ 4.80 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,000 ไร่โดยให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00 -24.00 น. ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่เป็นท่าอากาศยานที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 3 ของภาคใต้รองจากท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตและท่าอากาศยานนานาชาติเกาะสมุย
== โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าหาดใหญ่==
เนื่องจากมีข่าวมาว่า ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ กำลังจะสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลในเขตเมือง ด้วยงบประมาณกว่า 200 ล้านบาท ซึ่งระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลนั้น เหมาะสมกับเมืองหาดใหญ่มาก ด้วยเหตุผลหลายประการ อนึง การขนส่งมวลชน ควรจะทำในรูปแบบผสมผสาน ให้ประชาชนได้เลือกใช้บริการ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด เช่น บนถนนมีรถประจำทาง รถโดยสาร รถเมลล์ รถตุ๊กๆ ฯลฯ ซึ่งทางเทศบาลควรจะจัดไว้ให้บริการประชาชน และระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล ก็เป็นการขนส่งรูปแบบหนึ่ง ที่จะมาสนองต่อความต้องการ การเดินทางแบบผสมผสานนี้ รถไฟฟ้าโมโนเรล เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในต่างประเทศ และเป็นระบบที่เหมาะกับเมืองที่มีขนาดกลาง ถึงเมืองที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งในกัวลาลัมเปอร์ และซิดนีย์ ถือได้ว่า รถไฟฟ้าโมโนเรล เป็นระบบขนส่งมวลชนหลักของเมือง ในซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อเมืองเริ่มขยายตัว จึงได้เกิดปัญหา ไม่มีที่จอดรถ และการเข้าถึงเขตเมืองชั้นในเป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงทำให้ธุรกิจใจกลางเมือง ได้รับผลกระทบอย่างหนัก รัฐบาลออสเตรเลียจึงแก้ปัญหา ด้วยการสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรล เชื่อมกับที่จอดรถ หรือ สถานีขนส่งนอกเขตเมือง เชื่อมเข้ากับ เขตใจกลางเมือง เพื่อ ขนคนเข้าไปซื้อของ และเข้าไปท่องเที่ยวในเขตใจกลางเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า รถไฟฟ้าโมโนเรล ก่อสร้างได้ง่าย และค่าก่อสร้างมีราคาถูก ตัวรางสามารถซอนไซไปตามซอกถนนเล็กๆได้ เมื่อก่อสร้างเสร็จ ผลที่ได้รับ เป็นที่น่าพอใจ ในระดับที่ดีเยี่ยม
 
เมื่อกลับมามองในเขตหาดใหญ่ ก็พบว่า มีปัญหาในลักษณะเดียวกับซิดนีย์ ที่เขตใจกลางเมือง เข้าถึงได้ยาก ไม่มีที่จอดรถ และเจอการแข่งขัน กับ ห้างชานเมือง เช่น โลตัส บิ๊กซี คาร์ฟู แม็กโคร ฯลฯ อย่างรุนแรง จึงเกิดคำถามว่า เราจะรักษาเขตใจกลางเมือง เช่นตลาดกิมหยง ลีการ์เด้น สันติสุข ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็นสัญลักษณ์ ของหาดใหญ่ทั้งสิ้น ซึ่งบางทีคำตอบนั้น อาจจะเป็นโมเดลเดียวกับ ซิดนีย์ ก็เป็นไปได้ เมืองหาดใหญ่ มีลักษณะพิเศษ ที่ไม่มีเมืองอื่นเหมือน นั้นก็คือ ตัวเมือง มีลักษณะกระจุกตัว บางครั้ง ในชม.เร่งด่วน การเดินทาง ในเขตตัวเมืองชั้นในแค่ 1 กม. อาจจะต้องใช้เวลาถึง ครึ่งชม.เลยทีเดียว ตรรกะนี้ แสดงให้เห็นว่า ระยะทางแค่ 1 กม. ในเขตตัวเมือง ชั้นใน มีความคุ้มค่าในตัวของมันอยู่มากเลยทีเดียว ดั้งนั้น ด้วยงบ 200 ล้านบาท อาจจะก่อสร้างได้แค่ 1-2 กม. หรือ อาจจะมากกว่านั้น แล้วแต่การออกแบบก่อสร้าง แต่ถ้าหากเราเปลี่ยนแนวคิด ว่า การลงทุนด้วยงบประมาณ 200 ล้าน ทำอย่างไรให้ สอดรับกับการลงทุนระยะยาว ก็มีไอเดียว่า สร้างรถไฟฟ้าโมโนเรล โดยการแบ่งการก่อสร้างออกเป็นเฟสๆ จะดีไหม เช่น รถไฟฟ้า สายสีฟ้า จาก ตลาดเกษตรหาดใหญ่ใน ถึง สามแยกคอหงส์ ระยะทาง 6.6 กม. (รูปที่ 3) แบ่งก่อสร้างด้วบงบผูกพัน 3 ปี เราก็จะได้รถไฟฟ้าโมโนเรล 1 สาย ที่ได้ผลในการขนส่งมวลชนแบบผสมผสานขึ้นมาจริงๆในเขตเทศบาล
 
จากการศึกษาเส้นทางของ สนข. (รูปที่ 3 ในรูปเล็กมุมซ้ายบน) จะพบเส้นทาง ที่ สนข. ระบุว่า ควรมีระบบขนส่งมวลชนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะมีระบบขนส่งหลายๆระบบ รวมกันในเส้นทางเดียวก็ได้ เพื่อให้ประชาชนได้เลือกใช้ แต่ในทีนี้ เป็นการศึกษา เส้นทางโมโนเรล ที่เหมาะสม ก็พบ 2 เส้นทางคือ
*2.1 สายสีฟ้า ระยะทาง 6.650 กิโลเมตร บนถนนเพชรเกษม จากตลาดเกษตรหาดใหญ่ใน ถึง 3 แยกคอหงส์ ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลัก ที่มีปริมาณการจราจรสูงสุดของเมืองหาดใหญ่
*2.2 สายสีแดง ระยะทาง 6.190 กิโลเมตร บนถนนเพชรเกษม ราชยินดี ศรีภูวนาถ และ นิพัทธ์สงเคราะห์ 3 เป็นเส้นทางวงแหวนสีแดงชั้นใน ที่จะเชื่อม เขตเศรษฐกิจใหม่บนถนนราชยินดี เขตใจกลางเมือง หน้าหอนาฟิกา
*2.3 จุดซ้อน (Overlap) รถไฟฟ้าสายสีฟ้า รถไฟฟ้าและสายสีแดง เป็นระยะทางจาก จุด Junction A และ Junction B ระยะทาง 1.780 กิโลเมตร จาก 4แยกโรงแรมวีแอล ถึง 4แยกเพชรเกษมตัดราชยินดี เป็นจุดที่ รถไฟฟ้าสายสีฟ้า และสายสีแดง ใช้รางร่วมกันได้
 
== การท่องเที่ยว ==