ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
'''พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) ''' หรือรู้จักในนาม '''พุทธทาสภิกขุ''' ([[27 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2449]] — [[8 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2536]]) เป็นชาว[[อำเภอไชยา]] [[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]] เกิดเมื่อปี [[พ.ศ. 2449|พ.ศ. 2449]] เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่[[กรุงเทพมหานคร]] จนสอบได้[[เปรียญ|เปรียญธรรม]] 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของ[[พระพุทธศาสนา]]ได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น ''พุทธทาส'' เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด
 
ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม, ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และเป็นสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ [[ปัญญานันทภิกขุ]] แห่ง[[วัดชลประทานรังสฤษฎ์]] และ ท่าน บ.ช. เขมาภิรัตน์<ref>โสมชยา ธนังกุล. มรดกธรรมจากท่านพุทธทาส. '''แสตมป์ & สิ่งสะสม'''. ปีที่ 1 (+42) ฉบับที่ 3. พฤษภาคม 2555. ISSN 2229-2780. หน้า 48</ref>
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 157:
 
เมื่อประกาศผลสอบปีแรก ปรากฏว่าท่านพุทธทาสภิกขุสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค และกลายเป็นพระมหาเงื่อม อินทปญฺโญ ในปีเดียวกันนี้เอง ท่านพุทธทาสภิกขุมีงานเขียนเป็นบทความขนาดสั้นชิ้นแรก ชื่อ ''ประโยชน์แห่งทาน'' ปรากฏอยู่ในหนังสือที่พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมาโล) พระอุปัชฌาย์ของท่านพุทธทาสภิกขุ และมีบทความขนาดยาวเรื่อง ''พระพุทธศาสนาสำหรับปุถุชน'' พิมพ์ในหนังสือที่ระลึกครบรอบโรงเรียนนักธรรม วัดพระบรมธาตุไชยา