ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไส้กรอก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
KengSiri (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Korvar.jpg|thumb|ไส้กรอกชนิดต่างๆ]]
[[ไฟล์:Falukorv.jpg|thumb|ไส้กรอกสวีเดน ขนาดใหญ่]]
'''ไส้กรอก''' ({{lang-en|Sausage}}) มาจากคำภาษาลาตินว่า ''Salsus'' หมายถึง การเก็บรักษาเนื้อสัตว์โดยใช้เกลือ หรือมาจากคำว่า Wurst ใน[[ภาษาเยอรมัน]] ซึ่งหมายถึง เนื้อสัตว์บดละเอียดผสมกับ[[เกลือ]]และเครื่องเทศ บรรจุลงใน[[ไส้]] ดังนั้นกรรมวิธีในการผลิตไส้กรอกนั้นจึงถือได้ว่าเป็นกรรมวิธีในการถนอมอาหารแบบหนึ่ง ในยุคปัจจุบันการผลิตไส้กรอกเป็นการประยุกต์ใช้กระบวน[[การถนอมอาหาร]]หลายอย่างรวมกัน เช่น การใช้สารเคมี การใช้ความร้อน การ[[อบแห้ง]] การแช่แข็ง และการแช่เย็น จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกในปัจจุบันนั้นมาให้เลือกบริโภคอย่างหลากหลาย ซึ่งจะแตกต่างกันตามลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ชนิดของ[[เครื่องเทศ]]และ[[เครื่องปรุงรส]] ชนิดของเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อ[[ไก่]] เนื้อวัว เนื้อ[[ปลา]] เป็นต้น อัตราส่วนระหว่างเนื้อสัตว์และ[[ไขมัน]]ของเนื้อสัตว์ ความละเอียดของการบดเนื้อสัตว์และเครื่องเทศ วิธีการผสม ขั้นตอนการผลิต วิธีการอัดไส้ ขนาดและความยาวของไส้ที่นำมาใช้ และ ชนิดของไส้ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
'dfkhlekrjhlkerjhlkjlkw
1.ไส้[[ธรรมชาติ]] เช่น ไส้[[เอเลี่ยนแกะ]] ไส้[[คนหมู]] หรือ[[หลอดลม]][[paramedonวัว]]
2.ไส้[[สังเคราะห์]]หรือไส้เทียม เช่น ไส้จาก[[คอลลาเจน]] ไส้สังเคราะห์จากใย[[ฝ้าย]]
หรือไส้[[พลาสติก]]
 
jวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตไส้กรอก ได้แก่ เนื้อสัตว์ [[เกลือ]]แกง ไขมัน เกลือ[[ไนเตรต]] เครื่องเทศ และเครื่องปรุงรส โดยเนื้อสัตว์ที่นำมาใช้ในการผลิตไส้กรอกจะต้องมีความสามารถในการรวมตัวกับน้ำได้สูง โดยมี[[แอคติน]] และ[[ไมโอซิน]] ทำหน้าที่ให้น้ำและไขมันในเนื้อสัตว์สามารถรวมตัวกันได้ เกลือนอกจากจะทำหน้าที่ให้รสชาติแล้วยังทำหน้าที่สกัดโปรตีนจำพวก แอคตินและไมโอซิน ออกจาก[[กล้ามเนื้อ]]ของสัตว์ ทำให้ไส้กรอกที่ได้มีเนื้อสัมผัสที่นุ่มและชุ่มฉ่ำและให้กลิ่น และรสชาติที่คงตัว เกลือไนเตรต (KNO<sub>3</sub>, NaNO<sub>3</sub>) ทำให้ไส้กรอกเกิดสีและกลิ่นที่คงตัว และป้องกันไม่ให้ไส้กรอกเกิดการเน่าเสียจาก [[แบคทีเรีย]]ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการหายใจ โดยในประเทศไทยได้กำหนดปริมาณสูงสุดในการใช้สารประกอบไนเตรต (KNO<sub>3</sub>, NaNO<sub>3</sub>) ที่สามารถใช้ได้ไว้ที่ 500 มิลลิกรัม ต่อผลิตภัณฑ์เนื้อหมัก 1 กิโลกรัม (ซึ่งหากคำนวณน้ำหนักของไนเตรตจริงๆแล้วจะมีไนเตรตน้ำหนักเพียง 125 มิลลิกรัมเท่านั้น) เพราะถ้าหากบริโภคไนเตรตมากเกินไปจะทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย เนื่องจากไนเตรตหรือสารประกอบไนเตรต (KNO<sub>3</sub>, NaNO<sub>3</sub>) เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะไปทำปฏิกิริยาออกซิไดซ์กับ[[ฮีโมโกลบิน]]ในเม็ด[[เลือด]] ทำให้เม็ดเลือดแดงนั้นหมดสภาพ ไม่สามารถทำหน้าที่ลำเลียง[[ออกซิเจน]]ได้ นอกจากนั้นแล้ว ไนเตรตหรือสารประกอบไนเตรต (KNO<sub>3</sub>, NaNO<sub>3</sub>) ยังทำให้เกิดสารประกอบ[[ไนโตรซามีน]]ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรค[[มะเร็ง]]อีกด้วย
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:ไส้กรอก| ]]
[[หมวดหมู่:การถนอมอาหาร]]