ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสยามเทวาธิราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nokkrajauk (คุย | ส่วนร่วม)
correct English spelling of names
Nokkrajauk (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29:
''"...ตอนมหาอำนาจทางตะวันตกทำการเปิดประตูค้ากับพวกตะวันออก ในระยะเวลาต้นๆศตวรรษที่ 19 ของคริสต์ศักราชนั้น พวกเมืองข้างเคียงไม่รู้ทันเหตุการณ์ภายนอกว่า ทางตะวันตกมีอำนาจปืนเรือพอที่จะเอาชนะได้อย่างง่ายดาย จึงพากันไม่ยอมทำสัญญาด้วย ซ้ำยังขับไล่ ใช้อำนาจจนเกิดเป็นสงครามขึ้น ก็เป็นธรรมดาที่คนมีแต่มีดจะต้องแพ้ผู้มีปืน แล้วถูกเป็นเมืองขึ้นไปโดยสะดวก ฝ่ายทางเมืองไทยเรานั้นมหาอำนาจตกลงกันให้[[สหราชอาณาจักร|อังกฤษ]]มาเป็นผู้เปิดประตูทำสัญญาค้าขาย ซึ่งตามที่จริงก็เคยมีไมตรีกันมาแต่ครั้ง[[กรุงศรีอยุธยา]]แล้ว แต่เมื่อบ้านเมืองมีเหตุการณ์ศึกสงครามเกิดขึ้นชาวต่างประเทศไปมาค้าขายไม่สะดวกได้ ก็จำต้องหยุดการติดต่อกันไปเป็นพัก ๆ การเป็นเช่นนี้แก่ทุกบ้านทุกเมือง ฉะนั้น เมื่อเสร็จศึกกับพม่าในรัชกาลที่ 1 แล้ว ถึงรัชกาลที่ 2 ชาว[[โปรตุเกส]]ก็เข้ามาจากเมือง[[มาเก๊า]] เพื่อขอทำสัญญาค้าขายใน พ.ศ. 2363 โปรดเกล้าฯ ให้รับสัญญาเพราะเรายังต้องการซื้อปืนไฟจากชาวตะวันตกอยู่ ต่อมาอีก 2 ปี มิสเตอร์ จอน ครอเฟิด (John Crawford) ทูตอังกฤษเข้ามาขอทำสัญญาจากผู้สำเร็จราชการ[[อินเดีย]]ใน พ.ศ. 2365''
 
''ถึงรัชกาลที่ 3 อังกฤษเกิดรบกันขึ้นกับ[[พม่า]]เป็นครั้งแรก ครั้นชนะแล้วจึงให้กัปตันเฮนรี่ เบอร์เนย์ (Henry Burney) เข้ามาทำสัญญาเมื่อ พ.ศ. 2368 ทูต[[อเมริกัน]] มิสเตอร์ เอ็ดมอนด์ โรเบิต (Edmond Roberts) เข้ามาทำสัญญาเมื่อ พ.ศ. 2375 มิสเตอร์ริดชัน (Ridson) ทูตอังกฤษเข้ามาทำสัญญาขอซื้อช้างเมื่อ พ.ศ. 2381 และเซอร์เจมส์ บรู้ค (Sir JameJames Brooke) ผู้เคยเป็นรายา (White Raja) ผู้ครองเกาะ[[ซาราวัก]] (Sarawak) เข้ามาขอทำสัญญาอีกเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2393 ซึ่งเป็นปีที่[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคต รวมทูตอังกฤษที่เข้ามาทำสัญญากับเมืองไทยถึง 4 ครั้ง แต่ก็ได้ทำแต่เรื่อง เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นเรื่องผ่านแดนไทยกับพม่า และสัญญาซื้อขายช้าง ม้า และแลกเปลี่ยนสินค้าบางอย่าง ไม่ได้ทำสัญญากับเมืองไทยโดยตรงอย่างเมืองอื่น ๆ ส่วนทางเมืองไทยก็ยังไม่มีใครเชื่อว่าจะมีผู้ใดจะเกะกะทางนี้ได้ บางคนนึกเลยไปว่าเหล็กจะลอยน้ำได้อย่างไร ในเมื่อมีใครมาเล่าว่าทางมหาอำนาจตะวันตกนั้นมีเรือรบที่ทำด้วยเหล็ก ไทยจึงไม่เต็มใจจะเปิดประตูค้ากับผู้ใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นแต่รับข้อที่จำเป็นในเวลานั้นเท่านั้น แต่ในที่สุดเราก็ได้พบรายงานของเซอร์เจมส์ บรู๊ค ผู้ซึ่งเข้ามาครั้งสุดท้ายในรัชกาลที่ 3 ว่า''
 
'''''‘..พระเจ้าแผ่นดินกำลังเสด็จอยู่บนพระแท่นสวรรคต และพระองค์ที่จะเสวยราชย์ใหม่ก็มีหวังจะพูดกันได้เรียบร้อย ฉะนั้น จึงขอรอการใช้กำลังบังคับไว้ก่อน...’'''''