ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โตโยต้า โคโรน่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Jimmy Classic (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 77:
== Generation ที่ 9 ([[พ.ศ. 2529]] - [[พ.ศ. 2535|2535]]) ==
[[ไฟล์:Corona T170.JPG|thumb|โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 9]]
เจเนอเรชันนี้ มี 2 รุ่น คือ รุ่น '''โฉมหน้ายักษ์''' และรุ่น '''โฉมหน้ายิ้ม'''(ยกเว้นคนขับรถเก่ายิ้มไม่ออก) รูปที่แสดงนี้เป็นรูปโฉมหน้ายิ้ม สองรุ่นนี้ รูปทรงรถจะคล้ายกันมาก(ภาพรวม)สร้างขึ้นจากโครงเดียวกัน แต่ต่างกันในรายละเอียดหลายบางประการ เช่น กระจังหน้าและไฟท้าย โดยไปท้ายหน้ายิ้มจะยาวแถวเดียว หน้ายักษ์แยกเป็นสองก้อน กระจังหน้ารุ่นหน้ายิ้มออกแนวตั้ง หน้ายักษ์แนวนอน สองรุ่นยังไม่ใช้โลโก้สามห่วง ในประเทศไทย เปิดตัวครั้งแรกด้วยรุ่นหน้ายักษ์ มีตัวเลือกทั้งหมด 4 รุ่น คือ
*1.6XL เป็นรุ่นต่ำสุด ราคาประหยัด ใช้เครื่องยนต์ 4A-F คาร์บูเรเตอร์ 1600 ซีซี เกียร์ธรรมดา 4 สปีด อุปกรณ์อำนวยความสะดวกไม่ต่างจากรถระดับต่ำกว่า (เช่น [[โตโยต้า โคโรลล่า]], [[ฮอนด้า ซีวิค]], [[นิสสัน ซันนี่]], [[มิตซูบิชิ แลนเซอร์]]) ในยุคนั้น คือ เบาะพลาสติก, หน้าต่างหมุนมือ, กระจกข้างปรับมือ/พับมือ, ไม่มีไล่ฝ้ากระจกหลัง ล้อกระทะเหล็กไม่มีฝาครอบ ยางขนาด 175/70R13
*1.6GL ใช้เครื่องยนต์ 4A-F แบบเดียวกับรุ่น XL แต่จะใช้เกียร์ธรรมดา 5 สปีด รวมถึงได้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกมากเกือบเท่ารุ่นท็อป คือ เบาะกำมะหยี่พร้อมที่ท้าวแขนกลางเบาะหลัง พร้อมแผงประตูบุกำมะหยี่, เบาะคนขับ ปรับดันหลัง และปรับพนักหนุนศีรษะในแนวหน้า-หลังได้, หน้าต่างไฟฟ้า, กล่องเก็บของระหว่างเบาะคู่หน้า, พวงมาลัย 3 ก้าน, ลวดละลายฝ้ากระจกหลัง, วิทยุเทป 4 ลำโพง, ล้อกระทะเหล็ก 13 นิ้ว พร้อมฝาครอบแบบเต็ม, กันชนสีเดียวกับตัวรถ, ฯลฯ ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดนี้ ถือว่ามากกว่ารถระดับต่ำกว่าทั้ง 4 รุ่นหลักๆ ในเมืองไทย ณ ขณะนั้น ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว แม้แต่ในรุ่นสูงสุดก็ตาม
บรรทัด 95:
ที่ผ่านมา รถญี่ปุ่น มักจะถูกออกแบบโดยจำกัดความกว้างไว้ไม่ให้เกิน 1.7 เมตร และเครื่องยนต์พิกัดไม่เกิน 2000 ซีซี ด้วยเหตุผลทางภาษีในประเทศญี่ปุ่น แต่ต่อมาเมื่อเศรษฐกิจเติบโต คู่แข่งทั้งหมดต่างพัฒนารถของตนออกมามีแนวโน้มใหญ่ขึ้น และในที่สุดคู่แข่งรายใหญ่อย่างฮอนด้า แอคคอร์ด และมิตซูบิชิ กาแลนต์ ก็ยอมจ่ายภาษีแพงโดยเพิ่มความกว้างและเพิ่มขนาดเครื่องยนต์ออกไปเกินพิกัดดังกล่าว รวมถึงนิสสันก็ส่ง [[นิสสัน เซฟิโร่|เซฟิโร่]] ซึ่งมีขนาดเกินพิกัดลงมาเช่นกัน แต่วิศวกรที่ญี่ปุ่นยังพัฒนาโคโรน่ารุ่นถัดไปอยู่ในพิกัดเดิม ทำให้โคโรน่ารุ่นนี้ มีขนาดที่เล็กกว่าคู่แข่งอย่างทิ้งขาด โตโยต้าประเทศไทยจึงสั่งนำเข้า [[โตโยต้า คัมรี่]] จากออสเตรเลียซึ่งมีขนาดเกินพิกัดลงมาต่อสู้กับคู่แข่งรายอื่นๆ แทนที่โคโรน่า แต่ก็ยังขายโคโรน่าต่อไป
 
ซึ่งหลังจากการเปลี่ยนแปลงนั้น เหลือรถที่อยู่ในพิกัดเดิมเพียง 2 รุ่น คือ โคโรน่า และบลูเบิร์ด ทำให้ทั้งคู่หลุดจากการเป็นรถ D-Segment ไปโดยปริยาย กลายเป็นรถที่อยู่กึ่งกลางระหว่าง [[โตโยต้า โคโรลล่า|โคโรลล่า]] กับ [[โตโยต้า คัมรี่|คัมรี่]] ทั้งจึงไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งเดิมสมัยที่เคยยืนอยู่ในจุดที่คัมรี่ยืนอยู่มาก่อนเป็นโฉมหน้ายิ้มได้ ซึ่งทำให้ผู้สนใจในยานยนต์ที่ไม่ได้ศึกษาข้อมูลรถรุ่นก่อนปี 2536 มักจะเข้าใจแบบเหมารวมว่า โคโรน่า และบลูเบิร์ด ไม่ใช่และไม่เคยเป็นรถระดับเดียวกับแอคคอร์ด กาแลนต์และมาสด้า 626 ในขณะที่ความเป็นจริงแล้ว ครั้งหนึ่งโคโรน่าและบลูเบิร์ดเคยอยู่ในระดับเดียวกันกับคู่แข่งเหล่านั้น แต่มาเปลี่ยนในช่วงรุ่นท้ายๆ เท่านั้น โดยคัมรี่รุ่นแรกในประเทศไทยนั้นไม่ได้มาเพื่อ '''ทับ''' แต่มาเพื่อ '''แทนที่''' จุดที่โคโรน่าเคยยืนอยู่ในโฉมหน้ายิ้มนั่นเอง
 
รหัสตัวถัง T190 เปิดตัวในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 แต่ประเทศไทย มาใน พ.ศ. 2536 โดยรุ่นแรก ตลาดรถจะเรียกว่า "ท้ายโด่งไฟแถบ" มีตัวเลือก 3 รุ่น คือ