ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาปุริสลักขณะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Disthan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Disthan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 119:
== วิเคราะห์นัยยะของมหาปุริสลักขณะ ==
 
ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาพุทธหกลายหลายท่าน แสดงความคิดเห็นว่า รายละเอียดที่ปรากฎในมหาปุริสลักขณะ หรือ มหาปุริสลักษณะ นั้น อาจมิใช่เพียงลักษณะทางกายภาพของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงอยน่างเดียวอย่างเดียว แต่อาจนับเป็นบุคลาทิษฐานอย่างหนึ่งด้วย หนึ่งในนั้นคือ พุทธทาสภิกขุ ซึ่งแสดงความเห็นไว้่ในหนังสือไว้ในหนังสือ “พุทธจริยา” ไว้ว่า โดยความหมายทางตรงแล้ว พุทธลักษณะหมายถึงลักษณะของพระพุทธเจ้า ซึ่งคําว่าลักษณะนี้แปลว่าเครื่องกําหนด มาจากคําว่า ดูเห็น สิ่งใดที่เราดูเราเห็นได้สิ่งนั้นเป็นลักษณะพุทธลักษณะก็คือสิ่งที่เราจะดูจะเห็นที่องค์พระพุทธเจ้า ดังเช่นการที่พระองค์ประกอบไปด้วยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ และอนุพยัญชนะ 80 ประการ ซึ่งพรรณนาพุทธลักษณะตามแนวทางนี้ โดยผิวเผินแล้วเป็นลักษณะทางร่างกายที่ผิดจากบุคคลอื่น ถ้าถือเอาตามตัวหนังสือนั้นแล้วจะผิดมากจนดูเป็นมนุษย์ที่มีรูปร่างประหลาดที่สุดก็ได้
 
พุทธทาสภิกขุ ชี้ว่า อย่างไรก็ตาม หากพิจารณามหาปุริสลักษณะให้ละเอียดก็จะพบว่า ลักษณะเหล่านี้เป็นการสะท้อนถึงมารยาทอันละเอียดประณีตของพระองค์ ''"เป็นลักษณะทางกายทางวาจา ลักษณะทางกายในประเภทนี้เราก็จะเห็นได้ว่ามันรวมอยู่ในคําว่า ศีล มีศีล คือการประพฤติทางกาย ทางวาจาถูกต้องบริสุทธิ์สะอาด น่ารัก เลื่อมใส พระพุทธลักษณะทางกายเป็นอย่างนี้"'' <ref>พุทธทาสภิกขุ. (2517)</ref>
บรรทัด 125:
ขณะที่ เสถียร โพธินันทะ แสดงความเห็นว่า การที่ตำนานมหาปุริสลักษณะว่า พระชิวหาของมหาบุรุษนั้น แลบติดถึงหน้าผากได้ แลบซ้ายขวาถึงใบหู ลิ้นยาว แลบซ้ายขวาถึงใบหู มือยาวถึงเข่า ถ้าคนมือยาวถึงเข่า ล้วนแต่เป็นคำอุปมา ท่านพรรณนาเป็นบุคลาธิษฐาน เช่นพรรณนาอสีติญาณพยัญชนะว่ารอยเท้าของพระพุทธเจ้านั้น มีรูปภูเขาหิมพานต์ มีรูปพัด มีรูปพระพรหม มีรูปพระอินทร์ มีรูปต่าง ๆ เครื่องสูงต่าง ๆ เป็นราชกกุธภัณฑ์ต่าง ๆ การพรรณนาอย่างนั้น ความหมายก็มีว่า สมบัติเหล่านั้น คือ พรหมสมบัติ อินทร์สมบัติ สักกะสมบัติ จักรพรรดิสมบัติ มนุษย์สมบัติ สมบัติต่าง ๆ เหล่านี้ที่เป็นรูปต่าง ๆ ในฝ่าเท้าพระบาทพระพุทธเจ้านั้น สมบัติเหล่านี้ พระศาสดาได้ทรงละแล้ว ทรงอยู่เหนือสมบัติเหล่านี้ อยู่ใต้อุ้งบาทแล้ว สมบัติเหล่านี้ไม่สามารถที่จะทำให้พระองค์ทรงกำเริบ ทรงต้องการความปรารถนาอีกแล้ว เป็นของต่ำในสายพระเนตรของพระองค์ ทรงชนะอินทร์สมบัติ ทรงชนะพรหมสมบัติ ทรงชนะจักรพรรดิสมบัติ ทรงชนะมนุษยสมบัติ เราถือว่า อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ จักรพรรดิ มนุษย์ เราขวนขวายอยากได้ อยากมีกัน สิ่งเหล่านั้นพระองค์ทรงเหยียบไว้ใต้ฝ่าพระบาทหมด ไม่มีความหมาย เหมือนหนึ่งอิฐกรวดดินทราย ความหมายของท่านต้องการอย่างนี้ แต่ในการเทศนาโวหารสั่งสอนคนซึ่งมีหลายชั้นที่เป็นปัญญาบุคคลก็มี ไม่ใช่ปัญญาบุคคลก็มี จจึงต้องมีการใช้บุคคลาธิษฐานเป็นอุบายโกศลในชักจูงให้ผู้คนเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ''"จึงต้องพรรณนาเป็นรูปว่า ใต้ฝ่าอุ้งพระบาท มีภูเขาหิมพานต์ มีพระพรหม มีพระอินทร์ มีเครื่องสูงพระหมากษัตริย์ มีกงจักร มีนางแก้ว ขุนคลังแก้ว ต่าง ๆ นานา เห็นเป็นภาพใต้อุ้งฝ่าพระบาท ทีนี้คนดูเห็นภาพเหล่านั้นก็นึกว่าของเหล่านี้ เป็นประเสริฐถึงเพียงนี้ แต่ยังมาติดอยู่ที่พระบาทของพระศาสดาของเรา ก็แสดงว่าพระศาสดาของเรานี่เหนือกว่าสมบัติเหล่านี้ ต้องการเพียงแค่นี้ ความหมายในเรื่องรูปต่าง ๆ ในอุ้งฝ่าพระบาทเป็นอย่างนี้"'' <ref>เสถียรโพธินันทะ. (2543).</ref>
 
เสถียร โพธินันทะ ยังแสดงความเห็นเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ''"ข้อว่าแลบพระชิวหาถึงพระกรรณได้ อย่างนี้ไม่ใช่ของจริง ของจริงเป็นอย่างนั้นคนกลัว เห็นเข้าหนีแล้ว ลิ้นยาวขนาดติดหน้าผาก ลิ้นยาวขนาดห้อยถึงหน้าอกได้ อย่างนี้ถ้าถึงนลาฏได้ ก็ถึงหน้าอกได้ เวลาแลบออกมาทางต่ำก็ถึงหน้าอก เราเห็นเข้า เห็นจะวี๊ดว๊าดกระตู้วู้กันแน่ ลิ้นในที่นี้ หมายถึงว่า ทรงแสดงธรรมสามารถครอบงำบุคคล ความยาวของลิ้นเท่ากับวิถีแห่งธรรมะที่สามารถครอบงำบุคคลโดยรอบได้ ลิ้นพระองค์ตวัดไปโดยรอบ เปรียบเหมือนธรรมะที่ทรงแสดงจากพระโอษฐ์นี่ สามารถไหลกลมกลืนในดวงใจคนโดยรอบได้ ต้องการความหมายเพียงแค่นี้ เข้าตำนานมหาปุริสลักษณะที่พรรณนาอย่างนี้ ต้องการความหมายเพียงเท่านั้นเอง ไม่ได้ต้องการความหมายอื่นไกลกว่านี้เลย นี่เป็นความหมายอันหนึ่งในเรื่องข้อที่ว่า แลบชิวหายาว"'' <ref>เสถียรโพธินันทะ. (2543).</ref>
 
 
== ดูเพิ่ม ==