ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาปุริสลักขณะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating 1 interwiki links, now provided by Wikidata on d:Q1218809
Disthan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 39:
 
{{คำพูด|ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะ 32 ประการนี้ เมื่อมหาบุรุษมีพร้อมแล้วย่อมเป็นเหตุให้มีคติเป็น 2 เท่านั้นไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์...อนึ่ง ถ้ามหาบุรุษนั้นออกจากเรือนผนวชเป็นบรรพชิต จะตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีเครื่องมุงบังเกิดคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก}}
 
ทั้งนี้ ในคัมภีร์ลลิตวิสตระ ซึ่งเป็นพระพุทธประวัติภาษาสันสกฤตของนิกายสรวาสติวาส ได้บรรยายถึงมหาปุริสลักษณะในภาษาสันสกฤตไว้อย่างละเอียด ดังนี้
#
# อุษฺณีษศีรฺษะ พระเศียรรูปเหมือนโพกผ้า หรือเหมือนสวมมกุฎ (เมาลี) คือพระเศียรสูง
#
# ภินฺนาญฺชนมยูรกลาปาภินีลวลฺลิตปฺรทกฺษิณาวรฺตเกศะ พระเกศา แยกเส้นกันสีเขียวเข้มเหมือนสียาป้ายขอบตาหรือสีดอกอัญชัน หรือสีโคนหางนกยูง ขมวดเวียนขวา
#
# สมวิปุลลลาฏะ พระนลาฏ (หน้าผาก) กว้างเรียบ
#
# อูรฺณาภฺรุโวมเธฺยชาตาหิมรชตปฺรกาศา ขนอ่อนเกิดที่หว่างคิ้ว (อุณาโลม) สีขาวเหมือนน้ำค้างหรือเงินยวง
#
# โคเปกฺษมเนตระ พระเนตรมีขอบเหมือนขอบตาวัว
#
# อภินีลเนตฺระ พระเนตรสีเขียวเข้ม
#
# สมจตฺวารึศทฺทนฺตะ มีพระทนต์ (ฟัน) 40 ซี่ เท่าๆ กัน
#
# อวิรลทนฺตะ ซี่พระทนต์ชิดกัน
#
# ศุกฺลทนฺตะ พระทนต์ขาวสะอาด
#
# พฺรหฺมสฺวร มีเสียงไพเราะเหมือนเสียงแห่งพรหม
#
# รสรสาคฺรวานฺ ปลายพระชิวหารู้รสไว
#
# ปฺรภูตตนุชิหฺวะ พระชิวหาแผ่ออกได้มาก
#
# สีหหนุ พระหนุ (คาง) เหมือนคางราชสีห์
#
# สุสํวฺฤตฺตสฺกนฺธะ มีพระวรกายสำรวมอินทรีย์เป็นอย่างดี
#
# สปฺโตตฺสทะ มีพระมังสา (กล้ามเนื้อ) อูมนูน ๗ แห่ง
#
# จิตานฺตรำสะ พระอังสา (ไหปลาร้า) มีเนื้อเต็ม
#
# สูกฺษม สุวรฺณรฺณจฺฉวิ พระฉวี (ผิว) ละเอียดมีสีเหมือนสีทอง
#
# สฺถิโต’ นวนตปฺรลมฺพพาหุ พระวรกายยืนตรงไม่คดค้อมพระพาหา (แขน) ยาว
#
# สึหปูรฺวารฺธกายะ พระวรกายท่อนบนเหมือนท่อนบนของราชสีห์
#
# นฺยโครธปริมณฺฑโล มีปริมณฑลเหมือนปริมณฑลของต้นไทร
#
# เอไกกโรมา มีพระโลมา (ขน) ขุมละเส้น
#
# อุรฺธฺวาคฺราภิปฺรทกฺษิณาวรฺตโรมา พระโลมาเวียนขวาปลายพระโลมาชี้ขึ้นบน
#
# โกโศปคตพสฺติคุหฺยะ พระคุยหะ (เครื่องเพศ) ซ่อนอยู่ในฝัก
#
# สุวิวรฺติโตรุ ต้นพระชงฆ์ (ขาท่อนบน) กลมงาม
#
# เอเณยมฺฤคราชชงฺฆะ พระชงฆ์ (ขาท่อนล่าง) เหมือนแข้งพระยาเนื้อทราย
#
# ทีรฺฆางฺคุลิ นิ้วพระหัตถ์ นิ้วพระบาทยาว
#
# อายตปารฺษฺณิปาทะ พระปรัษณี (ส้นเท้า) ยาว
#
# อุตฺสงฺคปาทะ พระบาทลาดขึ้นสูง
#
# มฺฤทุตรุณหสฺตปาทะ พระหัตถ์ พระบาทนุ่มสด
#
# ชาลางฺคุลีหสฺตปาทะ นิ้วพระหัตถ์ นิ้วพระบาทและพระหัตถ์ พระบาทมีรูปลายตาข่าย
#
# ทีรฺฆางฺคุลิรธะกฺรมตลโยรฺ จเกฺรชาเต จิเตฺร สหสฺราเร สเนมิเก สนาภิเกพระบาททั้ง 2 ลาดต่ำลงโดยลำดับ นิ้วพระบาทยาวเกิดมีลายกงจักรอันวิจิตร (สีขาวมีประกายเหมือนเปลวไฟ)มีซี่ 1,000 พร้อมด้วยกงและดุม
#
# สุปฺรติษฺฐิตสมปาโท ฝ่าพระบาทแนบสนิทกับพื้นเป็นอย่างดี <ref> แสง มนวิทูร. (2512). หน้า 598 - 599</ref>
 
 
== ดูเพิ่ม ==
เส้น 48 ⟶ 115:
{{เริ่มอ้างอิง}}
* บรรจบ บรรณรุจิ. (2544). ''พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย สมัยอยุธยา โคลงยวนพ่าย ฉบับราชบัณฑิยสถาน.'' กรุงเทพฯ : บริษัท นิวไทยมิตรการพิมพ์ (1996) จำกัด. หน้า 299-301.
* แสง มนวิทูร. (2512). ''ลลิตวิสตระ คัมภีร์พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน.'' พระนคร : กรมศิลปากร.
{{จบอ้างอิง}}