ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
| location = [[Karlsruhe|คาร์ลสรูอา]] (Karlsruhe)
| coordinates = {{Coord|49.012422|8.40161|region:DE-BW_type:landmark|display=inline,title}}
| type = สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาสภาผู้แทนรัฐเลือกตั้ง
| authority = [[Basic Law for the Federal Republic of Germany|กฎหมายหลักสำหรับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี]] (Basic Law for the Federal Republic of Germany)
| terms = 12 ปี <br> (แต่ต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่ออายุ 68 ปี)
บรรทัด 47:
* การควบคุมกฎแบบนามธรรม (abstract regulation control) เป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐ ไม่ว่ารัฐบาลกลางหรือรัฐบาลท้องถิ่น สามารถเสนอให้ศาลวินิจฉัยว่า กฎหมายส่วนกลางชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ คดีมีชื่อที่สุด คือ [[คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันเรื่องการทำแท้ง ค.ศ. 1975|คดีทำแท้ง]]เมื่อปี 1975 ซึ่งศาลวินิจฉัยว่า กฎหมายที่ให้เลิกเอาผิดกับการทำแท้งนั้นไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
* การควบคุมกฎแบบเจาะจง (specific regulation control) เป็นกรณีที่ศาลอื่นจะใช้กฎหมายใดแล้วเห็นว่า กฎหมายนั้นอาจไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ศาลดังกล่าวสามารถงดการพิจารณาแล้วเสนอให้ศาลวินิจฉัยได้
* การพิพาทส่วนกลาง (federal dispute) เป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐบาลกลาง รวมถึง[[Bundestag|สภาผู้แทนราษฎร]] (Bundestag) สามารถเสนอให้ศาลวินิจฉัยเกี่ยวกับข้อพิพาทเรื่องอำนาจหน้าที่หรือวิธีปฏิบัติราชการภายในหน่วยงานนั้นได้
* การพิพาทส่วนท้องถิ่น (state–federal dispute) เป็นกรณีที่[[Länder|รัฐ]] (Länder) ในประเทศเยอรมนีสามารถเสนอให้ศาลวินิจฉัยเกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับรัฐบาลกลางว่าด้วยอำนาจหน้าที่หรือวิธีปฏิบัติราชการได้
* การควบคุมคณะกรรมการสืบสวน (investigation committee control)
* การตรวจสอบการเลือกตั้งส่วนกลาง (federal election scrutiny) เป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐหรือผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสามารถเสนอให้ศาลวินิจฉัยเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายเลือกตั้งได้
* การขับเจ้าหน้าที่ของรัฐออกจากตำแหน่ง (impeachment) เป็นกรณีที่สภาผู้แทนราษฎร [[Bundesrat|วุฒิสภาสภาผู้แทนรัฐ]] (Bundesrat) หรือรัฐบาลกลาง สามารถขอให้ศาลขับเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ เช่น [[ประธานาธิบดีเยอรมนี|ประธานาธิบดี]] หรือตุลาการ ออกจากตำแหน่งเพราะละเมิดรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายส่วนกลางได้
* การยุบพรรคการเมือง (prohibition of political party) เป็นอำนาจของศาลนี้ศาลเดียวในประเทศเยอรมนี การยุบพรรคการเมืองเกิดมาแล้ว 2 ครั้ง ทั้ง 2 ครั้งเกิดในคริสต์ทศวรรษที่ 1950 ครั้งแรก ยุบ[[Socialist Reich Party|พรรคชาติสังคมนิยม]] (Socialist Reich Party) ของฝ่าย[[Neo-Nazism|นาซีใหม่]] เมื่อปี 1952 ครั้งที่ 2 ยุบ[[Communist Party of Germany|พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนี]] (Communist Party of Germany) เมื่อปี 1956 การขอให้ยุบพรรคการเมืองเป็นครั้งที่ 3 มีขึ้นในปี 2003 ศาลวิจิฉัยว่า สมาชิกส่วนใหญ่ของ[[National Democratic Party of Germany|พรรคประชาธิปัตย์แห่งชาติเยอรมนี]] (National Democratic Party of Germany) เป็น[[อุปนิกขิต]]ที่องค์การลับส่งเข้ามาเป็นเส้นสายภายในประเทศ ตุลาการลงมติ 4 ต่อ 4 และตามธรรมนูญศาลแล้ว ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ถือว่า ยกคำร้อง พรรคดังกล่าวจึงไม่ถูกยุบ