ผลต่างระหว่างรุ่นของ "น้ำตาแสงไต้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dr somboon (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Dr somboon (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
 
'''ที่มาของเพลง'''
''"ข้าพเจ้าจำได้แม่นยำว่า วันนั้นในราวเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๘ ศิวารมณ์กำลังซ้อมละครเรื่อง “ พันท้ายนรสิงห์ ” อยู่ที่ห้องเล็ก ศาลาเฉลิมกรุง ดูเหมือนจะเข้าโปรแกรมวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ซ้อม
กันอย่างหนัก เพราะเป็นสมัยที่เริ่มงานใหม่ๆ ตอนนั้นข้าพเจ้ามีหน้าที่ดีดเปียโนให้นาฏศิลป์เขาซ้อมและต่อเพลงให้นักร้องเท่านั้น
 
ผู้ที่แต่งเพลงให้ศิวารมณ์สมัยนั้นคือ ประกิจ วาทยกร และ โพธิ์ ชูประดิษฐ์ ข้าพเจ้าเป็นนักดนตรีใหม่ๆ ยังไม่ถึงปี สุรสิทธิ์ , จอก , สมพงษ์ และทุกๆ คนมาซ้อมละครกันตั้งแต่เย็นส่วน เนรมิต , มารุต
สมัยโน้นเข้าคู่กันคร่ำเครียดกับบทและวางคาแร็คเตอร์ตัวละคร นาฏศิลป์ซ้อมกัน เต้นกัน นักร้องก็ร้องเพลงกัน
 
เหลือเวลา ๕ วันละครจะเริ่มแสดงแล้ว เพลงเอกของเรื่องคือ “ น้ำตาแสงไต้ “ ทำนองยังไม่เสร็จ คุณประกิจและคุณโพธิ์ แต่งส่งมาคนละเพลงสองเพลง แต่ยังไม่เป็นที่ไม่พอใจแก่เจ้าของเรื่องและผู้
กำกับ ทั้งเจ้าของเรื่องและผู้กำกับต้องการให้เพลงมีสำเนียงเป็นไทยแท้ มีรสและวิญญาณไปในทาง ” หวานเย็นและเศร้า “
 
เย็นนั้นเมื่อเลิกซ้อมแล้ว ข้าพเจ้าพลอยอึดอัดไปกับเขาด้วย ข้าพเจ้าลงมายืนเก้ ๆ กัง ๆ อยู่หน้าเฉลิมกรุง ไม่รู้จะไปไหนดี ได้ยินเสียงเรียก ” หง่า หง่า ” คุณทองอิน บุณยเสนา ถามว่า ” ราบรื่น
เรียบร้อยหรือไฉน” ข้าพเจ้าอ่ยถึงเพลง ” น้ำตาแสงไต้ ” ที่ยังแต่งกันไม่เสร็จ พี่อินฟังแล้วพูดว่า "เพลงไทยนั้นมีเยอะ แต่ไอ้รสหวานเย็นและเศร้าที่หง่าว่ามันมีน้อย อั๊วชอบมาก และรู้สึกว่าหวานเย็นเศร้ามีแต่
เขมรไทรโยคและลาวครวญเท่านั้น" คุยกันสักพักข้าพเจ้ารู้สึกง่วงนอนปุ๊บหลับปั๊บจะหลับไปนานเท่าไรไม่รู้
 
ข้าพเจ้ารู้สึกแปลกใจมาก ที่ใครมาเล่นเปียโนที่ห้องเล็กก่อนข้าพเจ้าปกติ ๘.๐๐ น. กว่าๆ ข้าพเจ้าเห็นคนอยู่ ๔ คน ชาย ๓ หญิง ๑ แต่งกายแปลกมาก ชายแต่งกายเหมือนนักรบโบราณ เขาถอดหมวก
วางไว้บนเปียโน คนเล่นผิวค่อนข้างขาว หน้าคมคาย อีกคนหนึ่งผิวคล้ำนั่งอยู่ทางขวาของเปียโน คนที่ ๓ อายุมากกว่าสองคนแรกผมหงอกประปราย ท่าทางเป็นผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ หน้าตาอิ่มเอิบ ส่วนผู้หญิง
นั้นสวยเหลือเกิน นุ่งผ้าจีบพกแต่งกายโบราณนุ่งผ้าจีบพก ห่มผ้าแถบสีแดงสด ผิวนวลปล่อยผมปรกบ่า กำลังยืนเอามือเท้าเปียโนอยู่ด้านซ้าย
 
ข้าพเจ้าเปิดประตูเข้าไป เขาไม่สนใจข้าพเจ้าเลย จนข้าพเจ้าเดินเข้าไปใกล้จะเข้าพูดก็ไม่รู้จัก เขาแต่งตัวแปลก เลยนั่งมองดูเขาและฟังเพลงที่ดีดนั้น คนเล่นเปียโนเก่งมาก เขาเล่นจากความรู้สึกจริงๆ
ตาเขาลอยคล้ายฝันมองไปตรงหน้า บางทีมองหน้าผู้หญิง เธอยิ้มรับน่ารักเหลือเกิน ข้าพเจ้าฟังเพลินมองเพลิน
 
สักครู่ข้าพเจ้าก็สะดุ้งเพราะเสียงห้าวต่ำอย่างมีอำนาจของผู้สูงอายุพูดขึ้นว่า " ไหน…เทพ … เธอลองเล่น เขมรไทรโยคซิ " คนที่เล่นเปียโนผงกศีรษะรับ พร้อมกับเปลี่ยนเพลงมาเป็นเขมรไทรโยค เขา
เล่นด้วยความรู้สึก เสียงประสานประหลาดแต่ทว่านุ่มนวลฟังแล้วทำให้คิดและมองเห็นภาพไปด้วยความรู้สึกหวานชื่นเพลินฟังจนเพลงจบเมื่อไรไม่รู้ เพลงที่เล่นนั้นเพราะเหลือเกิน
 
พลันเสียงผู้สูงอายุพูดขึ้นว่า " ธิดาจ๋า เธอจะไม่ลองฝีมือดูรึ " สาวสวยคนนั้นเดินไปนั่งที่เปียโนบรรเลงเพลงเป็นเพลงหวานเศร้าสำเนียงลาว ” ลาวครวญ ” อันหวานเศร้า ฝีมือของเธออยู่ในขั้นเลิศ
ข้าพเจ้านั่งน้ำตาคลอคิดไปถึงความหลังคิดเพลินจนเพลงจบไม่รู้ตัว
 
เสียงห้าวต่ำๆ ดังขึ้นอีกว่า ” อมร…ถ้าเราเอา วิญญาณ ของเพลงสองเพลงนี้มารวมกันเข้า คงจะเพราะอย่างหาที่ติไม่ได้เชียวนะ" ข้าพเจ้าเห็นคนผิวคล้ำที่นั่งข้างขวาของเปียโนก้มศีรษะรับพร้อมกับพูด
ว่า ”กระผมเห็นด้วยคงจะไพเราะอย่างยิ่ง ” หญิงสาวลุกขึ้นจากเปียโนพลางหันหน้าไปพูดกัยคนผิวคล้ำว่า ” ขอเชิญคุณครูค่ะ ขอเชิญคุณครูสวมวิญญาณของเพลงทั้งสอง ให้ศิษย์ได้ฟังเพื่อเป็นขวัญโสตและขวัญ
ชีวิตของศิษย์ทั้งสอง “ ท่านที่รัก
 
เสียงที่ลอยมาจากเปียโนนั้นสำเนียงไทยแท้มี ” รสหวานเย็นเศร้า “ ครูอมรได้รวมวิญญาณของ เขมรไทรโยค และ ลาวครวญ ได้สนิทแนบสำเนียงและ วิญญาณถอดออกมาจากเพลงสองเพลงนี้อย่างครบถ้วนครบ
ถ้วนโดยที่เพลงเดิมไม่ได้เสียหายอะไรแม้แต่น้อย ดุจสองวิญญาณเก่าเคล้ากัน จนเกิดวิญญาณใหม่ที่สวยงามขึ้นอีกวิญญาณหนึ่ง…ข้าพเจ้าฟังเพลินจนสะดุ้ง เมื่อมีมือหนักๆ มาเขย่าจนรู้สึกตัวตื่นจากภวังค์
 
บ่ายๆ สามโมงวันนั้น เมื่อนาฏศิลป์และละครแยกย้ายกันกลับ. บนห้องเล็กเหลือข้าพเจ้า , เนรมิต, มารุต, สุรสิทธิ์ เนรมิตและมารุตบ่นถึงเพลง ” น้ำตาแสงไต้ ” ว่าทำนองที่คุณโพธิ์และคุณประกิจส่ง
มายังใช้ไม่ได้ เหลือเวลาอีก ๓ วันละครจะแสดงแล้วเดี๋ยวไม่ทัน ข้าพเจ้านั่งฟังสักครู่หันมาเล่นเปียโน
 
ท่านที่รัก ความรู้สึกบอกไม่ถูกนิ้วมือข้าพเจ้าบรรเลงไปตามอารมณ์ ข้าพเจ้าก็ไม่รู้ว่าเป็นเพลงอะไร เคลิ้มๆ บังไงพิกล เนรมิตถามว่า ” หง่า นั่นเพลงอะไร ” ข้าพเจ้าสะดุ้งพร้อมกับนึกขึ้นได้ และจำทำนองได้
ทันทีว่าเป็นเพลงที่ครูอมรดีด ข้าพเจ้าหันไปถามเนรมิตว่า ” เพราะหรือฮะ ” เนรมิตพยักหน้าบอกให้เล่นใหม่ ข้าพเจ้าบนนเลงอีกหนึ่งเที่ยว ทั้งเนรมิตและมารุตพูดขึ้นว่า ” นี่แหละ น้ำตาแสงไต้ “ ข้าพเจ้าดีใจรีบ
จดโน๊ต และประพันธ์คำร้องกันเดี๋ยวนั้น
 
มารุตขึ้น “ นวลเจ้าพี่เอย ”
เส้น 51 ⟶ 67:
 
สุดท้ายเพลงก็ทันละครแสดง เมื่อทำนองเพลง. ” น้ำตาแสงไต้ ” พลิ้วขึ้นคนร้องไห้กันทั้งโรง แม้ พันท้ายนรสิงห์จะสร้างเป็นภาพยนตร์ยังใช้เพลง ” น้ำตาแสงไต้ ” เป็นเพลงเอกอยู่"
''